ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นตำแหน่งบริหาร

คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทยมีมติเห็นชอบให้สามารถนำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนักบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทที่มีตำแหน่งเดียวกันมานับรวมกันได้ เพื่อประโยชน์ในการสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ง่าย และสร้างความก้าวหน้าในอาชีพให้แก่ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 1.เห็นชอบให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนักบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทอื่น ซึ่งมีชื่อตำแหน่งเดียวกัน ดังนี้ มานับรวมกันเพื่อประโยชน์ในการเลื่อนระดับให้สูงขึ้น 1.อบจ - นักบริหารงาน อบจ. เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานเทศบาล/นักบริหารงานเมืองพัทยา อบต. - นักบริหารงาน อบต. 2.อบจ - นักบริหารงานทั่วไป เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานทั่วไป อบต. - นักบริหารงานทั่วไป 3.อบจ - นักบริหารการศึกษา เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารการศึกษา อบต. - นักบริหารการศึกษา 4.อบจ - นักบริหารงานสาธารณสุข เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานสาธารณสุข อบต. - นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 5.อบจ - นักบริหารงานช่าง เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานช่าง อบต. - นักบริหารงานช่าง 6.อบจ - นักบริหารงานคลัง เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริห

การปรับลดระดับตำแหน่งบริหารของเทศบาลขนาดเล็ก

การปรับลดระดับตำแหน่งบริหารของเทศบาลขนาดเล็ก ๑.ประเด็นการปรับลดระดับตำแหน่งผู้บริหารที่ได้มีการปรับขยายระดับตำแหน่งไปแล้ว พิจารณาแล้วมีมติว่า ประกาศ ก.ท.เรื่องหลักเกณฑ์การกำนดตำแหน่งพนักงานเทศบาลสายงานบริหารในเทศบาลขนาดเล็ก ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๘ ข้อ ๓ กำหนดว่า กรณีที่มีการปรับระดับตำแหน่งปลัดเทศบาล หรือผู้อำนวยการกองเป็นระดับ ๗ แล้ว ภายหลังตำแหน่งดังกล่าวว่าง นายกเทศมนตรีอาจสรรหาปลัดเทศบาลระดับ ๖ หรือหัวหน้ากองระดับ ๖ แทนตำแหน่งที่ว่างได้ตามความเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการปรับระดับตำแหน่งให้สูงขึ้นแล้ว แสดงให้เห็นถึงปริมาณงาน คุณภาพงาน และความยุ่งยากซับซ้อนของงานในตำแหน่งนั้นมีมากจนถึงระดับ ๗ กอปรกับประกาศ ก.ท.เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดขนาดเทศบาลและการกำหนดระดับตำแหน่งผู้บริหารของเทศบาล ให้กระทำได้เฉพาะรองปลัดเทศบาลและตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ดังนั้น จึงเห็นว่า กรณีดังกล่าวไม่สามารถปรับลดระดับตำแหน่งปลัดเทศบาลและผู้อำนวยการกองจากระดับ ๗ เป็นระดับ ๖ ได้ เว้นแต่ เทศบาลจะมีเหตุผลความจำเป็นในด้านปริมาณงานและคุณภาพงานก็ให้รายงาน ก.ท.พิจารณาเป็นการเฉพาะราย ๒.ประเด็นการ

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาและการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับทุนการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรีจะต้อง - ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุนการศึกษา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -ให้พิจารณาในสัดส่วนของผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายละเท่าๆกัน และสามารถเฉลี่ยสัดส่วนกันได้ -สามารถเฉลี่ยจำนวนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ก็สามารถทำได้ แต่ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต้องไม่เกินจำนวนที่สามารถตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร ๒.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสิทธิรับทุนการศึกษา สามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดเป็นคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในทุกตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และ อบต.)กำหนด ๓.สาขาที่เข้าศึกษาควรเป็นหลักสูตรพิเศษที่ใช้เวลาการศึกษานอกเวลาราชการ ๔.ระหว่างการศึกษาโดยได้รับทุนก

แนวทางการบริหารงานบุคคลของเทศบาที่ยกฐานะมาจากองค์การบริหารส่วนตำบล

แนวทางการบริหารงานบุคคลของเทศบาที่ยกฐานะมาจากองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลหลายแห่งได้หารือเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาลที่ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลในประเด็นดังนี้ ข้อหารือ ๑.การกำหนดขนาดของเทศบาล คำวินิจฉัย เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยแล้ว การกำหนดขนาดของเทศบาลให้ถือปฏิบัติตามประกาศ ก.ท.เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดขนาดและปรับระดับตำแหน่งของพนักงานส่วนตำบลเป็นพนักงานเทศบาล เนื่องจากการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาลฉบับลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ และหนังสือสำนักงาน ก.ท.ที่ มท ๐๘๐๙.๒ / ว.๑๔๔ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลอันเนื่องมาจากการยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล ข้อหารือ ๒.ประเด็นการจัดพนักงานลงในกรอบอัตรากำลังของเทศบาล กรณีตำแหน่งสายงานบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเดิม จะดำเนินการอย่างไร คำวินิจฉัย เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยแล้ว การจัดพนักงานส่วนตำบลลงในกรอบอัตรากำลังของเทศบาลจะต้องถือปฏิบัติตามประกาศ ก.ท.เรื่อง หลักเกณฑ์ก

การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น

มติคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๔๘ ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น สำหรับตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์(เลื่อนไหล) ดังนี้ ๑.การเลื่อนไหลในสายงานเริ่มต้นจากระดับ ๓ ให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นสำหรับตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (เลื่อนไหล) ได้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ และระดับ ๒ ตามบัญชีแนบท้าย มานับรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับการดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓ ที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง ดังนี้ ๑) กรณีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น (๑) ผู้ขอประเมินต้องมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งในสายงานและได้ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานที่จะแต่งตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี (๒) การให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ หรือระดับ ๒ มานับรวมเป็นระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓ ได้ไม่ก่อนวันที่ผู้นั้นได้รับคุณวุฒิปริญญาที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่

บัญชีกำหนดกลุ่มตำแหน่งพนักงานเทศบาลที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน

ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ และระดับ ๒ กลุ่มที่ ๑ กลุ่มงานปฏิบัติช่วยบริหารจัดการ ๑.เจ้าหน้าที่ธุรการ ๒.เจ้าพนักงานธุรการ ๓.เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ๔.เจ้าหน้าที่ทะเบียน ๕.เจ้าพนักงานทะเบียน ๖.เจ้าหน้าที่เทศกิจ ๗.เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๘.เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กลุ่มที่ ๒ กลุ่มการเงินและการคลัง ๑.เจ้าหน้าที่พัสดุ ๒.เจ้าพนักงานพัสดุ ๓.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ๔.เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ๕.เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ ๖.เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ๗.เจ้าหน้าที่การคลัง ๘.เจ้าพนักงานการคลัง กลุ่มที่ ๓ กลุ่มงานสาธารณสุข ๑.เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ๒.เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ ๓.เจ้าพนักงานส่งเสริมสุขภาพ ๔.เจ้าหน้าที่สุขาภิบาล ๕.เจ้าพนักงานสุขาภิบาล ๖.เจ้าหน้าที่พยาบาล ๗.พยาบาลเทคนิค ๘.เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ ๙.เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ ๑๐.ทันตสาธารณสุข ๑๑.ทันตานามัย ๑๒.เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๑๓.เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ๑๔.เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค ๑๕.ผดุงครรภ์สาธารณสุข ๑๖.โภชนาการ ๑๗.เจ้าพนักงานโภชนาการ ๑๘.เจ้าห

การบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูล

ข้อหารือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหารือกรณีการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หลังวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกับตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ จะมีผลประการใด ข้อวินิจฉัย ๑.ในการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งใดภายหลังวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ให้บรรจุแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น หรือในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน สำหรับกรณีข้อหารือที่บรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งอื่นซึ่ีงมิใช่เป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน พิจารณาได้ว่า การบรรจุและแต่งตั้งไม่ถูกต้องมีผลให้ออกจากราชการโดยพลัน มี ๒ กรณี คือ (๑) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามเบื้องต้น หรือ (๒) ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง เมื่อผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้งมีคุณสมบัติทั่วไปครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามรวมถึงมีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง หากแต่เป็นการบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่มิได้เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน อันเป็นผลให้บุคคลนั้นบรรจุแต่งตั้งไม่ถูกต้องนั้น ยังมิได้กำหนดผลว่าจะต้องออกจากราชการโดยพลันไว้แต่อย่างใด จึงอาจนำความตา