ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

นิยามศัพท์การบริหารงานบุคคลที่ควรรู้

คุณ รู้หรือไม่ ในประกาศ กทจ. เรื่องหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลของเทศบาล มีคำนิยามศัพท์ที่พวกเราละเลย ไม่ค่อยให้ความสนใจทำความเข้าใจในความหมาย เลยอ่านประกาศไม่ค่อยเข้าใจ เช่น “ พนักงานเทศบาล ” หมายความว่า พนักงานเทศบาลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติ ราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของเทศบาล และให้หมายความรวมถึง พนักงานครูเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลอื่นที่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนของ รัฐบาลและเทศบาลนํามาจัดเป็นเงินเดือน “ พนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น ” หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานส่วนตําบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานเมืองพัทยา และข้า้ราชการหรือพนักงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาล โดยมีกฎหมายจัดตั้งขึ้น ซึ่งได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนทอง ถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนํามาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการหรือพนักงาน ส่วนท้องถิ่น “ ข้าราชการประเภทอื่น ”

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ

ตำแหน่งที่ ก.ท.เทียบเท่าสำหรับสายการศึกษา

บัญชีตำแหน่งอื่นที่ ก.ท. เทียบเท่าตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะด้านประสบการณ์ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตำแหน่งอื่นที่ ก.ท. เทียบเท่า 1. ครู คุณสมบัติที่กำหนด - ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งครูผู้ช่วยเป็นเวลา 2 ปี โดยผ่านการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่ ก.ท.กำหนด หรือดำรงตำแหน่งอื่น ที่ ก.ท. เทียบเท่า ตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด - ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล สายงานการศึกษานอกระบบและส่งเสริมการศึกษา ได้แก่ สันทนาการ นักวิชาการ ศึกษา นักวิชาการวัฒนธรรม บรรณารักษ์ ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2. รองผู้อำนวยการสถานศึกษา คุณสมบัติที่กำหนด - ดำรงตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี และ 2 ปีสำหรับ ผู้มีวุฒิ ปริญญาโทขึ้นไป หรือดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ หรือดำรงตำแหน่งนักบริหารการศึกษา หรือ ดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ท.เทียบเท่า ตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด - ตำแหน่งอาจารย์ 1 ไม่น้อยกว่า 6 ปี สำหรับผู้มีวุฒิ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล เป็นการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานจากสายงานผู้ปฏิบัติและตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะเป็นสายงานผู้บริหาร ตำแหน่งที่สามารถเปิดสอบได้ ตำแหน่งนักบริหารงานเทศบาลเทศบาล 6 (ตำแหน่งปลัดเทศบาล หรือ รองปลัดเทศบาล) 1.ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งพนักงานเทศบาลไม่ต่ำกว่าระดับ 6 และ 2.เคยปฏิบัติงานในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของเทศบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 3.มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด ตำแหน่งนักบริหารงานเทศบาล 7 (ตำแหน่งรองปลัดเทศบาล) 1. ได้รับปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางรัฐศาสตร์ การปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ กฎหมาย หรือทางอื่นที่ ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ และ 2.ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล 7 (นักบริหารงานทั่วไป 7) หรือตำแหน่งผู้อำนวยการกองระดับ 7 หรือที่ ก.ท. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานเทศบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ตำแหน่งนั

หลักเกณฑ์การบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานเทศบาล

การบรรจุและแต่งตั้งโดยการย้ายหรือการโอน 1.สามารถบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่ สอบแข่งขันได้ หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงกันกับตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้และเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทสบาลกำหนด 2.สำหรับการบรรจุและแต่งตั้งจาก บัญชีการสอบคัดเลือกได้ ให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่สอบคัดเลือกได้เท่านั้น โดยให้นับอายุราชการต่อเนื่องได้ ประกาศเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การย้ายหรือโอนพนักงานเทศบาล หรือรับโอนข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น มาบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานเทศบาลจากผู้สอบแข่งขันได้หรือผู้สอบคัดเลือกได้(เพิ่มเติม) หนังสือสั่งการ การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการหรือ พนักงานส่วนท้องถิ่นภายหลังวันที่ ๒๔ ก.พ. ๒๕๔๙                     การคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานเริ่มต้นจากระดับ ๑ และระดับ ๒ เป็นสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓ (ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๓๕๓ ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)                     

การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นตำแหน่งบริหาร

คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทยมีมติเห็นชอบให้สามารถนำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนักบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทที่มีตำแหน่งเดียวกันมานับรวมกันได้ เพื่อประโยชน์ในการสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ง่าย และสร้างความก้าวหน้าในอาชีพให้แก่ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 1.เห็นชอบให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนักบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทอื่น ซึ่งมีชื่อตำแหน่งเดียวกัน ดังนี้ มานับรวมกันเพื่อประโยชน์ในการเลื่อนระดับให้สูงขึ้น 1.อบจ - นักบริหารงาน อบจ. เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานเทศบาล/นักบริหารงานเมืองพัทยา อบต. - นักบริหารงาน อบต. 2.อบจ - นักบริหารงานทั่วไป เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานทั่วไป อบต. - นักบริหารงานทั่วไป 3.อบจ - นักบริหารการศึกษา เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารการศึกษา อบต. - นักบริหารการศึกษา 4.อบจ - นักบริหารงานสาธารณสุข เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานสาธารณสุข อบต. - นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 5.อบจ - นักบริหารงานช่าง เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานช่าง อบต. - นักบริหารงานช่าง 6.อบจ - นักบริหารงานคลัง เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริห

การปรับลดระดับตำแหน่งบริหารของเทศบาลขนาดเล็ก

การปรับลดระดับตำแหน่งบริหารของเทศบาลขนาดเล็ก ๑.ประเด็นการปรับลดระดับตำแหน่งผู้บริหารที่ได้มีการปรับขยายระดับตำแหน่งไปแล้ว พิจารณาแล้วมีมติว่า ประกาศ ก.ท.เรื่องหลักเกณฑ์การกำนดตำแหน่งพนักงานเทศบาลสายงานบริหารในเทศบาลขนาดเล็ก ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๘ ข้อ ๓ กำหนดว่า กรณีที่มีการปรับระดับตำแหน่งปลัดเทศบาล หรือผู้อำนวยการกองเป็นระดับ ๗ แล้ว ภายหลังตำแหน่งดังกล่าวว่าง นายกเทศมนตรีอาจสรรหาปลัดเทศบาลระดับ ๖ หรือหัวหน้ากองระดับ ๖ แทนตำแหน่งที่ว่างได้ตามความเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการปรับระดับตำแหน่งให้สูงขึ้นแล้ว แสดงให้เห็นถึงปริมาณงาน คุณภาพงาน และความยุ่งยากซับซ้อนของงานในตำแหน่งนั้นมีมากจนถึงระดับ ๗ กอปรกับประกาศ ก.ท.เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดขนาดเทศบาลและการกำหนดระดับตำแหน่งผู้บริหารของเทศบาล ให้กระทำได้เฉพาะรองปลัดเทศบาลและตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ดังนั้น จึงเห็นว่า กรณีดังกล่าวไม่สามารถปรับลดระดับตำแหน่งปลัดเทศบาลและผู้อำนวยการกองจากระดับ ๗ เป็นระดับ ๖ ได้ เว้นแต่ เทศบาลจะมีเหตุผลความจำเป็นในด้านปริมาณงานและคุณภาพงานก็ให้รายงาน ก.ท.พิจารณาเป็นการเฉพาะราย ๒.ประเด็นการ