ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

หลักการฟ้องเรื่องคำสั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือน

                                          คำร้องที่     ๕๘๒/๒๕๕๒                                                        คำสั่งที่       ๑๗๑/๒๕๕๓                                          ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์                                                                     ศาลปกครองสูงสุด                        วันที่    ๒       เดือน มิถุนายน  พุทธศักราช ๒๕๕๓ เรื่อง     คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่ง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีบางราย ไว้พิจารณา) ผู้ฟ้องคดียื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ในคดีหมายเลขดำที่ ๑๕๓/๒๕๕๒ ของศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองขอนแก่น)         คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องและเพิ่มเติมคำฟ้องว่า  ผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ๓ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสีกาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีคำสั่งองค์การบริหาร ส่วนตำบลสีกาย ที่ ๑๖/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๒ สั่งไม่เลื่อนขั้นเงินเดือน ครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๑ (๑ เมษายน –

ปลัดเทศบาลเป็นผู้ออกคำสั่งมอบงานให้รองปลัดเทศบาล

                                               คำร้องที่    ๒๖๑/๒๕๕๒                                                คำสั่งที่      ๒๔๒/๒๕๕๓                                                                                                                                                    ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์                                        ศาลปกครองสูงสุด                        วันที่     ๗      เดือน กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓           เรื่อง    คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย      (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง)      ผู้ถูกฟ้องคดียื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ในคดีหมายเลขดำที่ ๑๗๕๑/๒๕๕๑ ของศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง)      คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลเมืองลัดหลวง ที่ ๒๕๗/๒๕๕๑ เรื่อง การแบ่งงานให้นักบริหารงานเทศบาลปฏิบัติหน้าที่ในฐานะปลัดเทศบาล โดยแบ่งงานในหน้าที่ของปลัดเทศบาลให้แก่รองปลัดเทศบาลอีกสองคนปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะปลัดเทศบาล กำกับดูแลและรับผิดชอบงานปกติของแต่ละสำนักหรือกอง

ค่าจ้างผู้ดูแลเด็ก

แนวทางการกำหนดค่าตอบแทน(ค่าจ้าง) สำหรับพนักงานจ้างในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑.พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลเด็กเล็ก (ผู้ดูแลเด็กเล็ก) กำหนดให้ได้รับค่าตอบแทน(ค่าจ้าง) ในอัตราเดือนละ ๕,๐๘๐ บาท ๒.พนักงานจ้างตามภารกิจ ตำแหน่ง ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และหรือ ตำแหน่งผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเล็ก สำหรับผู้มีทักษะ ซึ่งกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งโดยใช้ทักษะเฉพาะของบุคคล จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ต่ำกว่า ๕ ปี ให้ได้รับค่าตอบแทน(ค่าจ้าง)เริ่มต้นที่ ขั้นต่ำสุดของอันดับ จ.๑ ปัจจุบันอัตรา ๕,๗๖๐ บาท ๓.พนักงานจ้างตามภารกิจ ตำแหน่ง ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปละหรือตำแหน่งผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก สำหรับผู้มีคุณวุฒิ ซึ่งกำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและหรือผู้ดูแลเด็กเล็กกำหนดให้ได้รับค่าตอบแทน(ค่าจ้าง) ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ได้รับคุณวุฒิปริญญาตรี ที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและหรือผู้ดูแลเด็กเล็ก แล้วแต่กรณี ให้ได้รับค่าตอบแทน(ค่าจ้าง) เริ่มต้นที่ขั้นต่ำสุดของอันดับ จ.๓

เงินบำนาญเพิ่มพิเศษ ๒๕% ของพนักงานส่วนท้องถิ่น

คอลัมน์ กฎหมายข้างตัว: เงินเพิ่มเงินบำนาญ - เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) Issued date 5 February 2011 พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์praepim@yahoo.com บ้านเมืองยุ่งเหยิง หันมาคุยเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ของชอบที่ไม่ค่อยมีดีกว่า สมัย นี้ใคร ๆ ก็อยากเข้าทำงานเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ศักดิ์และสิทธิเหมือนข้าราชการ พลเรือน แต่โบนัสเขาว่าอึ๋มกว่า ทำงานในพื้นที่ชุมนุมชนไม่เงียบเหงา ถ้าเจอผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ใจพัฒนาชอบเที่ยว เอ๊ย ดูงานพลอยได้ไปต่างประเทศกันประจำ แตกต่างกับสมัยก่อนลิบลับ ใครที่ทำงานราชการส่วนท้องถิ่นเช่น สุขาภิบาล (เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วนะครับ) เทศบาลเล็ก ๆ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ดูคับแคบ เชย เงียบ ๆ ว้าเหว่ ไม่มีอนาคต ยิ่งสมัยอยู่ในมือของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยยิ่งไปกันใหญ่ สถานภาพยังกะลูกกิ๊กโนเนม มีคนนินทาว่าสมัยนี้มหาดไทยก็ยังหวงแหนพยายามกระชับพื้นที่มั่ง ขอคืนพื้นที่ส่วนท้องถิ่นกันแบบห้ามเผลอ เมื่อรัฐมีการกระจายอำนาจอย่างจริงจัง จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจั

สรุปเกี่ยวกับการเลื่อนระดับพนักงานเทศบาล

สรุปเกี่ยวกับการเลื่อนระดับพนักงานเทศบาล ว่าด้วยการเลื่อนระดับ การเลื่อนระดับของข้าราชการส่วนท้องถิ่นมี 3 ประเภท คือ ( 1)การเลื่อนระดับควบ ( 2)การเลื่อนไหล ( 3)การเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหาร การเลื่อนระดับควบ เป็นการเลื่อนระดับ 2 ครั้งจากระดับที่บรรจุเช่น จ.ธุรการ 1 จะควบ 1-2-3 เลื่อนไหลคือ จ.ธุรการ 4-5 จพง.ธุรการ 2 จะควบ 2-3-4 เลื่อนไหลคือ จพง.ธุรการ 5-6 บุคลากร 3 จะควบ 3-4-5 เลื่อนไหลคือ บุคลากร 6ว-7ว เลื่อนระดับควบยังแบ่งเป็น ควบต้นกับควบปลาย ควบต้น คือเลื่อนครั้งแรก ต้องมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง เช่น จ.ธุรการ 1 ขึ้น จ.ธุรการ 2 จพง.ธุรการ 2 ขึ้น จพง.ธุรการ 3 บุคลากร 3 ขึ้น บุคลากร 4 ควบปลาย ต้องมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับที่จะเลื่อนด้วยเช่น จ.ธุรการ 2 ขึ้น จ.ธุรการ 3 จพง.ธุรการ 3 ขึ้น จพง.ธุรการ 4 บุคลากร 4 ขึ้น บุคลากร 5 ส่วน การเลื่อนไหล เป็นการเลื่อนนอกระดับควบตามที่ยกตัวอย่าง ต้องมีคุณสมบัติ 3 อย่าง คือ 1.มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 2.มี เงินเดือนปีงบประมาณที่ผ่านมา(และเงินเดือนปัจจุบัน)ตามตารางที่ ก.กลาง

ซักซ้อมแนวทางการจ้างพนักงานจ้างประจำศูนย์เด็กเล็ก

การจ้างพนักงานจ้างตามภารกิจ ประจำศูนย์เด็กเล็กของเทศบาล ภายหลังจากการประกาศใช้มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก ไปแล้ว ต้องถือปฏิบัติตามประกาศ กจ. กท. และ ก.อบต.เรื่อง ตำแหน่งและวิทยฐานะพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล(เพิ่มเติม) ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2552 โดยให้เรียกชื่อตำแหน่ง ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด้ก พร้อมทั้งนำคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็กมาใช้ในการคัดเลือก ตามหนังสือ มท 0809.9/ว 32 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2553

แบบพิมพ์สำหรับดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่ง แบบ1-7

แบบพิมพ์ี่ใช้สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งพนักงานเทศบาล เช่น การขอเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง การกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นนอกระดับควบ การยุบเลิกตำแหน่ง ซึ่งเทศบาลจะต้องดำเนินการจัดทำเสนอ กทจ. เพื่อประกอบการพิจารณาของ กทจ. ดาวโหลดได้ที่นี่ http://www.kontessaban.com/downloads/0254.doc