ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

หลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าครองชีพชั่วคราว

หลักเกณฑ์การให้ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้าง และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว พ.ศ.๒๕๕๕ ส่งตามหนังสือสำนักงาน ก.จ.,ก.ท. และ ก.อบต. ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๐๙.๓/ว.๑๒๕๙ ลงวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕                 ๑.ให้ ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างตามภารกิจ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับเงินเดือน หรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนไม่ถึงเดือนละ ๑๒,๒๘๕ บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนแล้วต้องไม่เกินเดือนละ ๑๒,๒๘๕ บาท                 กรณีจำนวนเงินที่ได้รับตามวรรคหนึ่งรวมกันแล้วไม่ถึงเดือนละ ๘,๖๑๐ บาท ให้ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างตามภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือค่าตอบแทนอีกจนถึงเดือนละ ๘,๖๑๐ บาท                 สำหรับพนักงานจ้างทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ได้รับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวเดือนละ ๑,๕๐๐ บาท โดยให้ถือป

แนวทางการเทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนกับพนักงานท้องถิ่น

แนวทางการเทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนกับพนักงานท้องถิ่น ตามมติ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ (แจ้งตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท.และ ก.อบต. ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๕๐ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕)                 การดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนกับข้าราชการท้องถิ่นตามมติ ก.ท. ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ ประกอบกับ ก.จ.และ ก.อบต.ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๒ ซึ่งกำหนดหลักการสำคัญให้พิจารณาตามแนวทางหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๑๒ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ กล่าวคือ ตำแหน่งประเภททั่วไป เทียบได้กับตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ ระดับ ๒ ตำแหน่งประเภทวิชาการ เทียบได้กับตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓ หรือระดับ ๔ ส่วนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือวิชาการ จะเทียบได้กับระดับใดนั้นให้พิจารณาจากตำแหน่งเดิมก่อนปรับเข้าสู่ระดับแท่ง ประเภททั่วไป => สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ ระดับ ๒ ทักษะพิเศษ ระดับ ๙ อาวุโส ระดับ ๗ ระดับ ๘ ชำนาญง