ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2010

สรุปเกี่ยวกับการเลื่อนระดับพนักงานเทศบาล

สรุปเกี่ยวกับการเลื่อนระดับพนักงานเทศบาล ว่าด้วยการเลื่อนระดับ การเลื่อนระดับของข้าราชการส่วนท้องถิ่นมี 3 ประเภท คือ ( 1)การเลื่อนระดับควบ ( 2)การเลื่อนไหล ( 3)การเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหาร การเลื่อนระดับควบ เป็นการเลื่อนระดับ 2 ครั้งจากระดับที่บรรจุเช่น จ.ธุรการ 1 จะควบ 1-2-3 เลื่อนไหลคือ จ.ธุรการ 4-5 จพง.ธุรการ 2 จะควบ 2-3-4 เลื่อนไหลคือ จพง.ธุรการ 5-6 บุคลากร 3 จะควบ 3-4-5 เลื่อนไหลคือ บุคลากร 6ว-7ว เลื่อนระดับควบยังแบ่งเป็น ควบต้นกับควบปลาย ควบต้น คือเลื่อนครั้งแรก ต้องมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง เช่น จ.ธุรการ 1 ขึ้น จ.ธุรการ 2 จพง.ธุรการ 2 ขึ้น จพง.ธุรการ 3 บุคลากร 3 ขึ้น บุคลากร 4 ควบปลาย ต้องมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและเงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับที่จะเลื่อนด้วยเช่น จ.ธุรการ 2 ขึ้น จ.ธุรการ 3 จพง.ธุรการ 3 ขึ้น จพง.ธุรการ 4 บุคลากร 4 ขึ้น บุคลากร 5 ส่วน การเลื่อนไหล เป็นการเลื่อนนอกระดับควบตามที่ยกตัวอย่าง ต้องมีคุณสมบัติ 3 อย่าง คือ 1.มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง 2.มี เงินเดือนปีงบประมาณที่ผ่านมา(และเงินเดือนปัจจุบัน)ตามตารางที่ ก.กลาง

ซักซ้อมแนวทางการจ้างพนักงานจ้างประจำศูนย์เด็กเล็ก

การจ้างพนักงานจ้างตามภารกิจ ประจำศูนย์เด็กเล็กของเทศบาล ภายหลังจากการประกาศใช้มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก ไปแล้ว ต้องถือปฏิบัติตามประกาศ กจ. กท. และ ก.อบต.เรื่อง ตำแหน่งและวิทยฐานะพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล(เพิ่มเติม) ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2552 โดยให้เรียกชื่อตำแหน่ง ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด้ก พร้อมทั้งนำคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็กมาใช้ในการคัดเลือก ตามหนังสือ มท 0809.9/ว 32 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2553

แบบพิมพ์สำหรับดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่ง แบบ1-7

แบบพิมพ์ี่ใช้สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งพนักงานเทศบาล เช่น การขอเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง การกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นนอกระดับควบ การยุบเลิกตำแหน่ง ซึ่งเทศบาลจะต้องดำเนินการจัดทำเสนอ กทจ. เพื่อประกอบการพิจารณาของ กทจ. ดาวโหลดได้ที่นี่ http://www.kontessaban.com/downloads/0254.doc

อำนาจในการฟ้องคดี

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๔๖/๒๕๔๘ นายสมบัติ ธมาภรณ์ ผู้ฟ้องคดี คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล จังหวัดสระบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ (มาตรา ๔๒) ผู้ฟ้องคดีรายงานตัวเพื่อรับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่าง ระดับ ๒ ตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดี พร้อมยื่นหนังสือขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอนที่มีสาระสำคัญในการขอใช้บัญชีผู้ผ่านการสอบตามบัญชีของผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อบรรจุแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่าง ระดับ ๒ ในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบล โคกขี้หนอนต่อผู้ถูกฟ้องคดี แต่กรรมการพนักงานส่วนตำบล จังหวัดสระบุรี ได้ปฏิเสธการขอใช้บัญชีดังกล่าว ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันในการบริหารงานบุคคลที่จะต้องว่ากล่าวต่อกัน ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการปฏิเสธด

การขอใช้บัญชีสอบแข่งขัน

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๔๐/๒๕๔๘ เทศบาลตำบลหนองสอ ผู้ฟ้อคดี คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดนครราชสีมา ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ (มาตรา ๑๕ และมาตรา ๒๓) พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ (มาตรา ๔๒ วรรคหนึ่ง) การสั่งบรรจุแต่งตั้งพนักงานเทศบาลตำบลหนองกราดเป็นอำนาจของนายกเทศมนตรีตำบลหนองกราดโดยต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีเป็นบุคคลภายนอกจึงไม่มีสิทธิหรือหน้าที่ใดๆ ตามกฎหมายในการบรรจุแต่งตั้งของเทศบาลดังกล่าว การที่นายกเทศมนตรีตำบลหนองกราดมีหนังสือขอใช้บัญชีสอบแข่งขันได้ของผู้ฟ้องคดี ถือเป็นเรื่องของการประสานงานระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นด้วยกันเท่านั้น มิได้มีการก่อตั้งนิติสัมพันธ์ใด ในเรื่องการบรรจุแต่งตั้งแต่ประการใด อีกทั้งมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ให้ใช้บัญชีตามประกาศ ก.อบต.จ. นครราชสีมา ถือเป็นเรื่องนโยบายหรือการบริหารงานภายใน

การไม่ต่อสัญญาจ้างพนักงานจ้าง

คำสั่งที่ ร.387/2552 คำร้องที่ ร.124/2552 เมื่อ สัญญาจ้างผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงาน ตำแหน่งผู้ช่วยช่างโยธา สิ้นสุดลง ด้วยระยะเวลาการจ้างครบกำหนดตามที่ได้ทำสัญญาต่อกันไว้ จึงเป็นการเลิกจ้างตามสัญญา ผู้ถูกฟ้องคดี (นายกเทศมนตรีตำบลโพธิ์กลาง) จะทำสัญญาจ้างผู้ฟ้องคดีต่อไปอีกหรือไม่ เป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่จะต้องดำเนินการตามความเหมาะสมและเป็นดุลพินิจ ของผู้ถูกฟ้องคดี และคำขอให้ศาลมีคำบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายจากการไม่ต่อสัญญา จ้างให้แก่ ผู้ฟ้องคดีนั้น หากศาลมีคำบังคับตามคำขอก็เท่ากับเป็นการบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีต่อสัญญา จ้างแก่ผู้ฟ้องคดีโดยปริยาย ดังนั้น คำขอของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นกรณีที่ศาลไม่สามารถออกคำบังคับได้ตามมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาล ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน การสั่งการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามบันทึกวิทยุสื่อสารในราชการกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0809.2/ว 006 ลงวันที่ 22 กันยายน 2548 เป็นกรณีที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มอบให้เป็นดุลพินิจของหน่วยงานในการพิจารณาถึงความจำเป็นและ ภา

หย่อนความสามารถ

คดีหมายเลขแดงที่ อ.290/2552 คดีหมายเลขดำที่ อ.251/2550 โดยที่ มาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานกลาง มาตรฐานทั่วไป หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาล ให้พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาล ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ คดีนี้ขณะเกิดเหตุพิพาท คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างของเทศบาล การดำเนินการต่าง ๆ ของลูกจ้างเทศบาลจึง อยู่ในบังคับของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ้างลูกจ้างของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2536 ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดี (นายกเทศมนตรีนครลำปาง) ได้มีคำสั่งลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2544 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนผู้ฟ้องคดีกรณีถูกกล่าวหาว่าหย่อนความสามารถในอัน ที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หากรับราชก

ฟ้องคดีต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

คำสั่งที่ ร.71/2553 คำร้องที่ ร.349/2552 ผู้ถูกฟ้องคดี (นายกเทศมนตรีตำบลบ้านม่วง) มีคำสั่งเทศบาลตำบลบ้านม่วง เรื่อง การเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานเทศบาล ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2551 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2551 เลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดีเพียง 0.5 ขั้น ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสืออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีโดยนางสาว ส. หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับไว้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2551 ซึ่งถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้ร้องทุกข์ผ่านผู้ถูกฟ้องคดีตามข้อ 145 วรรคสอง ของประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด สกลนคร เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดีภายในระยะเวลา ที่ประกาศดังกล่าวกำหนด ซึ่งในกรณีนี้คือภายในสามวันทำการกับอีกเก้าสิบวันนับแต่วันที่ ผู้ถูกฟ้องคดีได้รับหนังสือร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ตามข้อ 147 วรรคสอง และข้อ 149 ของประกาศดังกล่าว คือ ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 กรณีจึงต้องถือว่ามีเหตุแห่งการฟ้องคดีและผู้ฟ้องคดีได้รู้หรือควรรู้ถึง เหต

คำสั่งทางปกครองต้องไม่มีผลย้อนหลัง

คดีหมายเลขแดงที่ อ.66/2553 คดีหมายเลขดำที่ อ.635/2550 ผู้ฟ้อง คดี (นายกเทศมนตรีตำบลหนองกี่) ได้ออกประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง เป็นพนักงานเทศบาลสามัญ ระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 ประจำปี พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.)) และ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดบุรีรัมย์) ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2547 โดยกำหนดรับสมัครสอบตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 6 มีนาคม 2549 และกำหนดสอบแข่งขันวันที่ 26 มีนาคม 2549 ในระหว่างนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการสอบแข่งขันใช้บัญชีเฉพาะองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ห้ามใช้บัญชีข้ามจังหวัด เว้นแต่กรณีที่ได้มีการประกาศ รับสมัครไว้ก่อนวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่หากยังไม่ถึงกำหนดวันสอบแข่งขัน ให้ประกาศเพิ่มเติมให้ผู้สมัครสอบแข่งขันทราบว่าไม่สามารถใช้บั

ป่วยก็ต้องลาป่วย

คดีหมายเลขแดงที่ อ.87/2553 คดีหมายเลขดำที่ อ.364/2550 ผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานเทศบาลสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม 7) เทศบาลนคร เชียงใหม่ ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง กรณีป่วยเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาล แต่เพื่อสร้างหลักฐานว่ามาปฏิบัติราชการจึงได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำสมุดลง ลายมือชื่อมาให้ผู้ฟ้องคดีลงนาม ณ สถานพยาบาล โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่ามีงานเร่งด่วนต้องปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากน้ำท่วมจึงต้องกระทำการเช่นนั้น เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีเองจะได้ไม่ต้องเสียวันลาซึ่งอาจมี ผลกระทบต่อการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ฟ้องคดี และในฐานะที่ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการระดับบริหารที่ต้องปกครองดูแลผู้ใต้ บังคับบัญชายิ่งเป็นการไม่สมควรที่จะประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ที่จะให้ผู้ใต้ บังคับบัญชาเอาเยี่ยงอย่าง นอกจากนี้ การที่ผู้ฟ้องคดีไม่ยื่นใบลาป่วยตามข้อ 17 วรรคหนึ่ง ของระเบียบ ก.ท. ว่าด้วยการลาของพนักงานเทศบาล พ.ศ. 2535 จึงเป็นกรณีที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติของทางรา

ป่วยก็ต้องลาป่วย

คดีหมายเลขแดงที่ อ.87/2553 คดีหมายเลขดำที่ อ.364/2550 ผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานเทศบาลสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม 7) เทศบาลนคร เชียงใหม่ ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง กรณีป่วยเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาล แต่เพื่อสร้างหลักฐานว่ามาปฏิบัติราชการจึงได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำสมุดลง ลายมือชื่อมาให้ผู้ฟ้องคดีลงนาม ณ สถานพยาบาล โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่ามีงานเร่งด่วนต้องปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากน้ำท่วมจึงต้องกระทำการเช่นนั้น เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีเองจะได้ไม่ต้องเสียวันลาซึ่งอาจมี ผลกระทบต่อการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ฟ้องคดี และในฐานะที่ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการระดับบริหารที่ต้องปกครองดูแลผู้ใต้ บังคับบัญชายิ่งเป็นการไม่สมควรที่จะประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ที่จะให้ผู้ใต้ บังคับบัญชาเอาเยี่ยงอย่าง นอกจากนี้ การที่ผู้ฟ้องคดีไม่ยื่นใบลาป่วยตามข้อ 17 วรรคหนึ่ง ของระเบียบ ก.ท. ว่าด้วยการลาของพนักงานเทศบาล พ.ศ. 2535 จึงเป็นกรณีที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติของทางรา

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู

ความล่าช้าเป็นบ่อเกิดของความอยุติธรรม

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ 260/2546 (ประชุมใหญ่) ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาในการพิจารณา คำขอ หรือการกระทำใด ๆ ของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่รัฐ สำหรับเรื่องนั้นๆ ไว้เป็นการเฉพาะ หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควรดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง

คุณสมบัติผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงาน

ข้อหารือ ก.ท.จ.สระบุรี หารือคุณสมบัติของผุ้มีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงาน จากสายงานผู้ปฏิบัติเป็นสายงานผู้บริหาร ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการสังคม (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม 7) ของเทศบาลตำบลหนองแค ในประเด็นการดำรงตำแหน่ง ในระัดับ 7 ว. หรือ 7 วช. หรือ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี นั้น หมายถึง ผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกจะต้องดำรงตำแหน่ง สายงานสวัสดิการสังคมในระัดับ 7 ว. หรือหมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ในระดับ 7 หรือ 7 วช. คำวินิจฉัย คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม 7) เป็นไปตามประกาศ ก.ท. เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล ฉบับลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานผุ้ปฏิบัติและตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะเป็นสายงานผู้บริหาร โดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกจะต้องดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับ 7 ว. หรือ 7 วช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี ในทุกสายงาน และมีคุณสมบัติอื่นครบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาลก็มีสิทธิสอบ

การเทียบหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูง

ข้อหารือ 1.อบจ.สงขลา หารือว่ากรณีผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) จะถือเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูงที่ ก.จ.รับรอง หรือไม่ 2.นาย ส.รองปลัดเทศบาลนครสงขลา (นักบริหารงานเทศบาลระดับ 9) มีหนังสือขอให้พิจารณาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ ปลัด อบจ.ระดับ 9 โดยให้รองปลัดเทศบาลระดับ 9 ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้มีคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 คำวินิจฉัย 1.รับรองหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) เป็นหลักสูตรที่เป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 ได้ 2. กรณีนาย ส.นั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการคัดเลือก เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่ง ปลัด อบจ.ระดับ 9 ไม่ได้กำหนดให้ข้าราชการประเภทอื่น มาสมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับท่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้การรับโอนพนักงานเทศบาลมาดำรงตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระดับ 9 ผุ้นั้นต้องดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 9 ซึ่งเป็

นิยามศัพท์การบริหารงานบุคคลที่ควรรู้

คุณ รู้หรือไม่ ในประกาศ กทจ. เรื่องหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลของเทศบาล มีคำนิยามศัพท์ที่พวกเราละเลย ไม่ค่อยให้ความสนใจทำความเข้าใจในความหมาย เลยอ่านประกาศไม่ค่อยเข้าใจ เช่น “ พนักงานเทศบาล ” หมายความว่า พนักงานเทศบาลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติ ราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของเทศบาล และให้หมายความรวมถึง พนักงานครูเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลอื่นที่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนของ รัฐบาลและเทศบาลนํามาจัดเป็นเงินเดือน “ พนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น ” หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานส่วนตําบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานเมืองพัทยา และข้า้ราชการหรือพนักงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาล โดยมีกฎหมายจัดตั้งขึ้น ซึ่งได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนทอง ถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนํามาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการหรือพนักงาน ส่วนท้องถิ่น “ ข้าราชการประเภทอื่น ”

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ

ตำแหน่งที่ ก.ท.เทียบเท่าสำหรับสายการศึกษา

บัญชีตำแหน่งอื่นที่ ก.ท. เทียบเท่าตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะด้านประสบการณ์ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตำแหน่งอื่นที่ ก.ท. เทียบเท่า 1. ครู คุณสมบัติที่กำหนด - ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งครูผู้ช่วยเป็นเวลา 2 ปี โดยผ่านการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่ ก.ท.กำหนด หรือดำรงตำแหน่งอื่น ที่ ก.ท. เทียบเท่า ตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด - ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล สายงานการศึกษานอกระบบและส่งเสริมการศึกษา ได้แก่ สันทนาการ นักวิชาการ ศึกษา นักวิชาการวัฒนธรรม บรรณารักษ์ ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2. รองผู้อำนวยการสถานศึกษา คุณสมบัติที่กำหนด - ดำรงตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี และ 2 ปีสำหรับ ผู้มีวุฒิ ปริญญาโทขึ้นไป หรือดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ หรือดำรงตำแหน่งนักบริหารการศึกษา หรือ ดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ท.เทียบเท่า ตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด - ตำแหน่งอาจารย์ 1 ไม่น้อยกว่า 6 ปี สำหรับผู้มีวุฒิ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล เป็นการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานจากสายงานผู้ปฏิบัติและตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะเป็นสายงานผู้บริหาร ตำแหน่งที่สามารถเปิดสอบได้ ตำแหน่งนักบริหารงานเทศบาลเทศบาล 6 (ตำแหน่งปลัดเทศบาล หรือ รองปลัดเทศบาล) 1.ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งพนักงานเทศบาลไม่ต่ำกว่าระดับ 6 และ 2.เคยปฏิบัติงานในความรับผิดชอบตามหน้าที่ของเทศบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 3.มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด ตำแหน่งนักบริหารงานเทศบาล 7 (ตำแหน่งรองปลัดเทศบาล) 1. ได้รับปริญญาตรี หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางรัฐศาสตร์ การปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ กฎหมาย หรือทางอื่นที่ ก.ท.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้ และ 2.ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล 7 (นักบริหารงานทั่วไป 7) หรือตำแหน่งผู้อำนวยการกองระดับ 7 หรือที่ ก.ท. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานบริหารงานเทศบาล หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ตำแหน่งนั

หลักเกณฑ์การบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานเทศบาล

การบรรจุและแต่งตั้งโดยการย้ายหรือการโอน 1.สามารถบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่ สอบแข่งขันได้ หรือตำแหน่งอื่นที่กำหนดคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตรงกันกับตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้และเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันตามที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทสบาลกำหนด 2.สำหรับการบรรจุและแต่งตั้งจาก บัญชีการสอบคัดเลือกได้ ให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่สอบคัดเลือกได้เท่านั้น โดยให้นับอายุราชการต่อเนื่องได้ ประกาศเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การย้ายหรือโอนพนักงานเทศบาล หรือรับโอนข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น มาบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานเทศบาลจากผู้สอบแข่งขันได้หรือผู้สอบคัดเลือกได้(เพิ่มเติม) หนังสือสั่งการ การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการหรือ พนักงานส่วนท้องถิ่นภายหลังวันที่ ๒๔ ก.พ. ๒๕๔๙                     การคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานเริ่มต้นจากระดับ ๑ และระดับ ๒ เป็นสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓ (ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๓๕๓ ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)                     

การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นตำแหน่งบริหาร

คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทยมีมติเห็นชอบให้สามารถนำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนักบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทที่มีตำแหน่งเดียวกันมานับรวมกันได้ เพื่อประโยชน์ในการสับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ง่าย และสร้างความก้าวหน้าในอาชีพให้แก่ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 1.เห็นชอบให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนักบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทอื่น ซึ่งมีชื่อตำแหน่งเดียวกัน ดังนี้ มานับรวมกันเพื่อประโยชน์ในการเลื่อนระดับให้สูงขึ้น 1.อบจ - นักบริหารงาน อบจ. เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานเทศบาล/นักบริหารงานเมืองพัทยา อบต. - นักบริหารงาน อบต. 2.อบจ - นักบริหารงานทั่วไป เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานทั่วไป อบต. - นักบริหารงานทั่วไป 3.อบจ - นักบริหารการศึกษา เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารการศึกษา อบต. - นักบริหารการศึกษา 4.อบจ - นักบริหารงานสาธารณสุข เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานสาธารณสุข อบต. - นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 5.อบจ - นักบริหารงานช่าง เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริหารงานช่าง อบต. - นักบริหารงานช่าง 6.อบจ - นักบริหารงานคลัง เทศบาล/เมืองพัทยา - นักบริห

การปรับลดระดับตำแหน่งบริหารของเทศบาลขนาดเล็ก

การปรับลดระดับตำแหน่งบริหารของเทศบาลขนาดเล็ก ๑.ประเด็นการปรับลดระดับตำแหน่งผู้บริหารที่ได้มีการปรับขยายระดับตำแหน่งไปแล้ว พิจารณาแล้วมีมติว่า ประกาศ ก.ท.เรื่องหลักเกณฑ์การกำนดตำแหน่งพนักงานเทศบาลสายงานบริหารในเทศบาลขนาดเล็ก ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๘ ข้อ ๓ กำหนดว่า กรณีที่มีการปรับระดับตำแหน่งปลัดเทศบาล หรือผู้อำนวยการกองเป็นระดับ ๗ แล้ว ภายหลังตำแหน่งดังกล่าวว่าง นายกเทศมนตรีอาจสรรหาปลัดเทศบาลระดับ ๖ หรือหัวหน้ากองระดับ ๖ แทนตำแหน่งที่ว่างได้ตามความเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการปรับระดับตำแหน่งให้สูงขึ้นแล้ว แสดงให้เห็นถึงปริมาณงาน คุณภาพงาน และความยุ่งยากซับซ้อนของงานในตำแหน่งนั้นมีมากจนถึงระดับ ๗ กอปรกับประกาศ ก.ท.เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดขนาดเทศบาลและการกำหนดระดับตำแหน่งผู้บริหารของเทศบาล ให้กระทำได้เฉพาะรองปลัดเทศบาลและตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ดังนั้น จึงเห็นว่า กรณีดังกล่าวไม่สามารถปรับลดระดับตำแหน่งปลัดเทศบาลและผู้อำนวยการกองจากระดับ ๗ เป็นระดับ ๖ ได้ เว้นแต่ เทศบาลจะมีเหตุผลความจำเป็นในด้านปริมาณงานและคุณภาพงานก็ให้รายงาน ก.ท.พิจารณาเป็นการเฉพาะราย ๒.ประเด็นการ

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาและการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับทุนการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรีจะต้อง - ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุนการศึกษา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -ให้พิจารณาในสัดส่วนของผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายละเท่าๆกัน และสามารถเฉลี่ยสัดส่วนกันได้ -สามารถเฉลี่ยจำนวนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ก็สามารถทำได้ แต่ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต้องไม่เกินจำนวนที่สามารถตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร ๒.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสิทธิรับทุนการศึกษา สามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดเป็นคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในทุกตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และ อบต.)กำหนด ๓.สาขาที่เข้าศึกษาควรเป็นหลักสูตรพิเศษที่ใช้เวลาการศึกษานอกเวลาราชการ ๔.ระหว่างการศึกษาโดยได้รับทุนก

แนวทางการบริหารงานบุคคลของเทศบาที่ยกฐานะมาจากองค์การบริหารส่วนตำบล

แนวทางการบริหารงานบุคคลของเทศบาที่ยกฐานะมาจากองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลหลายแห่งได้หารือเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาลที่ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลในประเด็นดังนี้ ข้อหารือ ๑.การกำหนดขนาดของเทศบาล คำวินิจฉัย เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยแล้ว การกำหนดขนาดของเทศบาลให้ถือปฏิบัติตามประกาศ ก.ท.เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดขนาดและปรับระดับตำแหน่งของพนักงานส่วนตำบลเป็นพนักงานเทศบาล เนื่องจากการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาลฉบับลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ และหนังสือสำนักงาน ก.ท.ที่ มท ๐๘๐๙.๒ / ว.๑๔๔ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลอันเนื่องมาจากการยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล ข้อหารือ ๒.ประเด็นการจัดพนักงานลงในกรอบอัตรากำลังของเทศบาล กรณีตำแหน่งสายงานบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเดิม จะดำเนินการอย่างไร คำวินิจฉัย เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยแล้ว การจัดพนักงานส่วนตำบลลงในกรอบอัตรากำลังของเทศบาลจะต้องถือปฏิบัติตามประกาศ ก.ท.เรื่อง หลักเกณฑ์ก

การประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น

มติคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๔๘ ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น สำหรับตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์(เลื่อนไหล) ดังนี้ ๑.การเลื่อนไหลในสายงานเริ่มต้นจากระดับ ๓ ให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นสำหรับตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (เลื่อนไหล) ได้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ และระดับ ๒ ตามบัญชีแนบท้าย มานับรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับการดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓ ที่จะเลื่อนและแต่งตั้ง ดังนี้ ๑) กรณีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น (๑) ผู้ขอประเมินต้องมีระยะเวลาดำรงตำแหน่งในสายงานและได้ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานที่จะแต่งตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี (๒) การให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ หรือระดับ ๒ มานับรวมเป็นระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓ ได้ไม่ก่อนวันที่ผู้นั้นได้รับคุณวุฒิปริญญาที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่