ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ มติ ก.ท. ครั้งที่ 8/2552

แนวทางการบริหารงานบุคคลของเทศบาที่ยกฐานะมาจากองค์การบริหารส่วนตำบล

แนวทางการบริหารงานบุคคลของเทศบาที่ยกฐานะมาจากองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลหลายแห่งได้หารือเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาลที่ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลในประเด็นดังนี้ ข้อหารือ ๑.การกำหนดขนาดของเทศบาล คำวินิจฉัย เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยแล้ว การกำหนดขนาดของเทศบาลให้ถือปฏิบัติตามประกาศ ก.ท.เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดขนาดและปรับระดับตำแหน่งของพนักงานส่วนตำบลเป็นพนักงานเทศบาล เนื่องจากการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาลฉบับลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ และหนังสือสำนักงาน ก.ท.ที่ มท ๐๘๐๙.๒ / ว.๑๔๔ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ เรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลอันเนื่องมาจากการยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล ข้อหารือ ๒.ประเด็นการจัดพนักงานลงในกรอบอัตรากำลังของเทศบาล กรณีตำแหน่งสายงานบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเดิม จะดำเนินการอย่างไร คำวินิจฉัย เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยแล้ว การจัดพนักงานส่วนตำบลลงในกรอบอัตรากำลังของเทศบาลจะต้องถือปฏิบัติตามประกาศ ก.ท.เรื่อง หลักเกณฑ์ก...

หารือการออกคำสั่งประจำพนักงานเทศบาล

หารือการออกคำสั่งประจำพนักงานเทศบาล รับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.ด้านกฎหมาย ซึ่งมีมติว่า เมื่อนายกเทศมนตรีเมืองโนนสูงน้ำคำ มีกรณีขัดแย้งกับ ปลัดเทศบาลเมืองโนนสูงน้ำคำ จนเป็นเหตุให้เสนอต่อ ก.ท.จ.อุดรธานี เพื่อเห็นชอบในการสั่งประจำ ถือเป็นกรณีที่นายกเทศมนตรีเป็นคู่กรณีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และมติ ก.ท. ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 ที่พิจารณาคำว่า “คู่กรณี” ที่อาจหมายถึงการมีพฤติกรรม หรือมีเหตุการณ์ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอันเป็นสภาพร้ายแรงจนอาจเป็นเหตุให้การพิจารณาเสียความเป็นธรรม กรณีจึงต้องห้ามมิให้นายกเทศมนตรีเมืองโนนสูงน้ำคำ กระทำคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ การออกคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงชอบ ที่คู่กรณีผู้นั้นจะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 หากเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งไม่เห็นด้วย กับข้ออุท...

หารือการย้ายของพนักงานจ้าง

หารือการย้ายของพนักงานจ้าง รับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.โครงสร้าง ซึ่งมีมติว่า พนักงานจ้างเป็นบุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงกันในการจ้าง และได้กำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติ คุณวุฒิ ลักษณะงานที่จ้างไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น เมื่อจ้างบุคคลใดเป็นพนักงานจ้าง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ใด ส่วนราชการใด บุคคลนั้นจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างนั้น แต่หากเทศบาลจะมอบหมายให้พนักงานจ้างไปปฏิบัติหน้าที่ตามลักษณะงานตามสัญญาจ้างในส่วนราชการใดของเทศบาล เพื่อประโยชน์แห่งทางราชการ เทศบาลก็อาจวินิจฉัยในกรณีดังกล่าวให้เป็นไป ตามเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างได้

พ.ร.ฎ.เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552

พ.ร.ฎ.เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 มีมติเห็นชอบให้แจ้ง ก.ท.จ.และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติตาม พ.ร.ฎ.เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 ซึ่งมีใจความสำคัญตามมาตรา 8 ดังนี้ “มาตรา 8 ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ หากได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการนอกสำนักงานเกินสิบห้าวัน ในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการดังกล่าวสำหรับระยะเวลาที่เกินสิบห้าวันนั้น (1) การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือตามหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการโดยปกติ (2) การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน ความในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีข้าราชการหรือลูกจ้าง ประจำที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือดูงานด้วย”

วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษเป็นกรณีพิเศษ

การกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งอำนวยการสถานศึกษา อันดับเงินเดือน คศ.3 ได้รับวิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษเป็นกรณีพิเศษ มีมติเห็นชอบให้ มีการประเมินผลงานของผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา อันดับเงินเดือน คศ.3 เพื่อให้ได้รับวิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษเป็นกรณีพิเศษ เช่นเดียวกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ท. กำหนดให้ข้าราชการ พนักงานครูฯ ได้รับวิทยฐานะระดับชำนาญการพิเศษเป็นกรณีพิเศษ เมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยมีผลได้ไม่ก่อนวันที่ผ่านการประเมินผลงาน

การกำหนดโครงสร้างส่วนราชการและตำแหน่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

การกำหนดโครงสร้างส่วนราชการและตำแหน่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีมติเห็นชอบ ดังนี้ 1. ให้กำหนดโครงสร้างของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานศึกษา 2. กำหนดตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้ใช้มาตรฐานกำหนดตำแหน่งครูผู้ช่วย และตำแหน่งผู้ดูแลเด็ก ให้ใช้มาตรฐานตำแหน่งครูผู้ช่วย 3. กำหนดให้ใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันเพื่อบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย ในการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ดูแลเด็ก

การเบิกจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ

ข้อหารือ หารือแนวทางปฏิบัติการเบิกจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ แก่พนักงานเทศบาลที่ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ คำวินิจฉัย มีมติว่า การสั่งพนักงานเทศบาลไปช่วยราชการเป็นการสั่งและการยินยอมของต้นสังกัดด้วยความสมัครใจของพนักงานเทศบาล ประกอบกับผู้ไปช่วยราชการยังได้รับค่าตอบแทนรายเดือน จาก อปท. ที่ไปช่วยราชการ ดังนั้น หากพนักงานเทศบาลมีคุณสมบัติ ตามหลักเกณฑ์การรับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ (โบนัส) ย่อมมีสิทธิได้รับเงินรางวัลประจำปี เช่นเดียวกับการจ่ายเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น โดยให้พิจารณาจ่ายตามระยะเวลาการปฏิบัติงานใน อปท.นั้น

มาตรการเยียวยาแก้ไขปัญหาการอนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบ แข่งขันได้ของ อบต.วังน้ำเขียว จ.นครปฐม

ข้อหารือ หารือแนวทางปฏิบัติกรณีสืบเนื่องจากการดำเนินการตามมาตรการเยียวยาแก้ไขปัญหาการอนุญาตให้ใช้บัญชีผู้สอบ แข่งขันได้ของ อบต.วังน้ำเขียว จ.นครปฐม คำวินิจฉัย มีมติ ดังนี้ 1. มาตรการแนะนำเพื่อเยียวยาผู้สอบแข่งขันได้ของ ก.อบต. ที่แจ้งให้ ก.อบต.จังหวัดนครปฐม และ อบต.วังน้ำเขียว ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง พร้อมทั้งได้แจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ แก้ไขเปลี่ยนแปลงวันบรรจุและแต่งตั้งให้ถูกต้อง ถือเป็นหน้าที่ที่ ก.ท.จ. และเทศบาลที่ขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของ อบต.วังน้ำเขียว จะต้องพิจารณาดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องด้วย 2. สถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเริ่มต้น ณ วันที่มีการบรรจุและแต่งตั้งโดยชอบ และสิทธิอันเกิดจากสถานะความเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นย่อมต้องเริ่มต้นใหม่ นับตั้งแต่ผู้นั้นได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยชอบเช่นเดียวกัน สำหรับสิทธิที่จะได้รับเงินสวัสดิการ ค่าเช่าบ้านหรือไม่ ให้พิจารณาตามระเบียบว่าด้วยการเบิกเงิน ค่าเช่าบ้าน 3. ผู้สอบแข่งขันได้ และถึงลำดับที่จะได้รับการบรรจุแล้ว ต่อมาเทศบาลได้ขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้มาบรรจุเป็นพนั...

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาลที่ยกฐานะมาจากองค์การบริหารส่วนตำบล

หารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาลที่ยกฐานะมาจากองค์การบริหารส่วนตำบล คำวินิจฉัย มีมติกำหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ 1. ประเด็นการกำหนดขนาดเทศบาลให้ถือปฏิบัติตามประกาศ ก.ท. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดขนาดและปรับระดับตำแหน่งของพนักงานส่วนตำบลเป็นพนักงานเทศบาล เนื่องจากการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาล ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 และหนังสือสำนักงาน ก.ท. ที่ มท 0809.2/ว 144 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2551 2. ประเด็นการจัดพนักงานลงในกรอบอัตรากำลังของเทศบาล ให้ถือปฏิบัติตามประกาศ ก.ท. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดขนาดและปรับระดับตำแหน่งของพนักงานส่วนตำบลเป็นพนักงานเทศบาล เนื่องจากการจัดตั้งองค์การบริหาร ส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาล ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 และหนังสือสำนักงาน ก.ท. ด่วนมาก ที่ มท 0809.1/ว 151 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2547 3. ประเด็นการเลื่อนและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลที่มาจากการยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาล ให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและคุณสมบัติของ ผู้มีสิทธิสอบคัดเลือก คัดเลือก ของพนักงานส่วนตำบล ตามหนังสือสำนักงาน ก.อบต...

การเทียบตำแหน่งและระดับของข้าราชการพลเรือนกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น

การเทียบตำแหน่งและระดับของข้าราชการพลเรือนกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น มีมติ ดังนี้ 1. ให้นำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเทียบการดำรงตำแหน่งตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1006/ ว 12 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551 เรื่องการเทียบการดำรงตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เท่ากับการดำรงตำแหน่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาใช้เป็นแนวทางในการเทียบระดับตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกับข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ ในการโอน การรับโอน และการเลื่อนระดับที่สูงขึ้น โดยอนุโลม 2. สำหรับการพิจารณาตำแหน่งของข้าราชการพลเรือน กับข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นตำแหน่งเดียวกันหรือประเภทเดียวกันนั้น ให้ ก.จ.จ. ก.ท.จ. และก.อบต.จังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาจากคำบรรยายลักษณะงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งว่า มีลักษณะงานเหมือนหรือคล้ายคลึงกันหรือไม่ 3. กรณีใดที่ไม่อาจเทียบการดำรงตำแหน่งในแต่ละประเภทและระดับได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าว ให้อนุกรรมการด้านเทียบการดำรงตำแหน่ง เสนอ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. พิจารณาเป็นกรณีไป

เรื่อง หลักเกณฑ์การปรับเทศบาลขนาดใหญ่

ร่างประกาศ ก.ท. เรื่อง หลักเกณฑ์การปรับเทศบาลขนาดใหญ่ มีมติเห็นชอบร่างประกาศ ก.ท. เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดขนาดเทศบาลและการกำหนดระดับตำแหน่งผู้บริหารของเทศบาล (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 โดยมีกลักการ ดังนี้ 1. เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงขนาดเทศบาล ประกอบไปด้วย 3 เกณฑ์ คือ เกณฑ์รายได้ เกณฑ์ปริมาณงาน และเกณฑ์ประสิทธิภาพ โดยเทศบาลที่จะกำหนดเป็นขนาดใหญ่ต้องได้คะแนนรวมเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 2. เกณฑ์รายได้เทศบาล (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) กำหนดเป็นรายได้ที่รวมเงินอุดหนุนทั่วไปในปีงบประมาณ ที่ผ่านมา (ไม่รวมเงินอุดหนุนทั่วไปที่กำหนดวัตถุประสงค์ ไม่รวมเงินกู้ และการจ่ายขาดเงินสะสม) 3. เกณฑ์ปริมาณงาน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) กำหนดตัวชี้วัดด้านค่าใช้จ่ายบุคลากร ด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านชุมชน ด้านสุขภาพดีถ้วนหน้า ด้านการ มีส่วนร่วมและสิทธิทางการเมือง ด้านการเข้าถึงบริการของเทศบาล ด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ด้านสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้าง รวมจำนวน 20 ตัวชี้วัดๆ ละ 5 คะแนน 4. เกณฑ์ประสิทธิภาพ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ให้ประเมินเป็น 5 มิติ คือ ม...