ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ มติ ก.ท. ครั้งที่ 11/2552

สรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งในสายงานวิศวกร และสถาปนิก โดยการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ

ข้อหารือ ขอให้กำหนดกรณี มีเหตุพิเศษเรื่องความไม่สงบในพื้นที่ให้สามารถ สรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งในสายงานวิศวกร และสถาปนิก โดยการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ ที่ไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขัน สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ประสานขอความร่วมมือ ก.ท. พิจารณา กรณีเทศบาลนครยะลา ประสบปัญหาขาดแคลน คำวินิจฉัย มีมติรับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.โครงสร้างที่มีมติว่า ประกาศ ก.ท. เรื่อง กำหนดคุณวุฒิการศึกษาที่ให้คัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 มิได้กำหนดให้คุณวุฒิปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นคุณวุฒิที่กำหนดให้คัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษ กอปรกับ กรณีที่เทศบาลนครยะลาจะขอกำหนดหลักเกณฑ์ให้สรรหาผู้มาบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งวิศวกรและสถาปนิก โดยการคัดเลือกกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขัน เฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ขัดต่อหลักการบริหารงานบุคคล ที่ยึดหลักความเสมอภาค ดังนั้น จึงไม่อาจกำหนดให้สรรหาผู้มาบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งวิศวกรและสถาปนิก โดยการคัดเลือกกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันได้ แต่อย่างไ

การขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น

ข้อหารือ ก.ท.จ.บุรีรัมย์ หารือว่า การขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นในภาคที่มีการขอใช้บัญชีครบถ้วนแล้ว จะสามารถขอใช้บัญชีของอีกภาคหนึ่งไปบรรจุข้ามภาค ได้หรือไม่ คำวินิจฉัย มีมติรับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.โครงสร้าง ที่มีมติว่า กรณี ทต.หนองกี่ ได้ประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เป็นรายภาคไว้ การอนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ไปบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น จะต้องอนุญาตให้ใช้บัญชีตามรายภาคที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่ โดยมิอาจอนุญาตให้ใช้บัญชีของอีกภาคหนึ่งไปบรรจุข้ามภาคได้ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง การบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นกรณีที่มีเหตุพิเศษ ที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน (มท 0809.2/ว263) การป้องกันการทุจริตการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล และพนักงานส่วนตำบล ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) (มท 0809.5/ว142) ประกาศหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 (มท 0809.2/ว135)

สายงานวิชาชีพ ระดับ 9 ชช. ขอเปลี่ยนสายงานผู้บริหาร

ข้อหารือ ก.ท.จ.สงขลา หารือกรณีสายงานวิชาชีพ ระดับ 9 ชช. ขอเปลี่ยนสายงานผู้บริหาร ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการช่าง - กรณีพนักงานเทศบาล ตำแหน่ง นักผังเมือง 9 ชช หารือว่า การเปลี่ยนสายงานวิชาชีพ ระดับ 9 (ชช)เป็นตำแหน่ง ผอ.สำนักการช่าง ระดับ 9 ดำเนินการอย่างไร หาก ก.ท. ไม่ได้กำหนด จะสามารถใช้หลักเกณฑ์ของ ก.พ. มาดำเนินการโดยอนุโลม ได้หรือไม่ คำวินิจฉัย มีมติรับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.โครงสร้าง ที่มีมติว่า ประกาศ ก.ท. เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบ คัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 กำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือก กรณีการสอบเพื่อเปลี่ยนสายงานผู้ปฏิบัติและตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะเป็นสานงานผู้บริหาร ตำแหน่งผู้อำนวยการส่วน (นักบริหารงานช่าง 8) ไว้ว่า เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับ 8 ว หรือ 8 วช มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี ซึ่งมิได้กำหนดให้สามารถสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานผู้ปฏิบัติและตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะเป็นสายงานผู้บริหาร ในตำแหน่งผู้อำนวยการกองและผู้อำนวยการสำนักการช่าง ไว้แต่อย่างใด ดังนั้น พนักงานเทศบาล ต

การสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่ง ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับ 8

ข้อหารือ ก.ท.จ.อุตรดิตถ์ หารือการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่ง ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับ 8 โดยกระบวนการสอบคัดเลือก -กรณีผู้ที่ดำรงตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ 8 วช มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่ง ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับ 8 จะขอสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผอ.กองสาธารณสุขฯ โดยไม่ต้องสอบคัดเลือกในตำแหน่ง ผอ.ส่วน ระดับ 8 ได้หรือไม่ คำวินิจฉัย มีมติรับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.โครงสร้าง ที่มีมติว่า ประกาศ ก.ท. เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 กำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือก กรณีการสอบเพื่อเปลี่ยนสายงานผู้ปฏิบัติและตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะเป็นสานงานผู้บริหารตำแหน่งผู้อำนวยการส่วน (นักบริหารงานสาธารณสุข 8) ไว้ว่า เป็นผู้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับ 8 ว หรือ 8 วช มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานสาธารณสุขหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งมิได้กำหนดให้สามารถสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงาน ผู้ปฏิบัติและตำ

เทศบาลรายงานขอกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 10 เป็นการเฉพาะแห่ง

ข้อหารือ เทศบาลรายงานขอกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 10 เป็นการเฉพาะแห่ง 1. ทน.นครสวรรค์ 2. ทน.ขอนแก่น คำวินิจฉัย มีมติ ดังนี้ 1. กำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาล สังกัด ทน.ขอนแก่น เลขที่ตำแหน่ง 00-0101-001 เป็นระดับ 10 ได้เป็นการเฉพาะแห่ง 2. กำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาล สังกัด ทน.นครสวรรค์ เลขที่ตำแหน่ง 00-0101-001 เป็นระดับ 10 ได้เป็นการเฉพาะแห่ง ทั้งนี้ เมื่อ ก.ท. เห็นชอบกำหนดตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 10 เป็นการเฉพาะแห่งแล้ว ให้ปลัดเทศบาลจัดทำรายงานผลงานทางวิชาการที่แสดงถึงความชำนาญงาน ความเชี่ยวชาญที่สูงมากและจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการที่แสดงวิสัยทัศน์ แผนยุทธศาสตร์ความสำเร็จ ที่คาดหวังที่จะมีต่อทางราชการหรือประชาชน ตลอดจนเตรียมทดสอบสมรรถนะทางการบริหาร (Competency) ต่อไป คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ปลัดเทศบาล (นักบริหารงานเทศบาล ๑๐) คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง 1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักบริหารงานเทศบาล 6 ข้อ 1 และ 2. ดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล 9 (นักบริหารงานเทศบาล 9) หรือที่ ก.ท. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปี

การพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การปรับขนาดเทศบาลเป็นขนาดกลาง

ข้อหารือ การพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การปรับขนาดเทศบาลเป็นขนาดกลาง คำวินิจฉัย มีมติเห็นชอบ ให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การปรับขนาดเทศบาลเป็นขนาดกลาง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. เกณฑ์การปรับขนาดเป็นเทศบาลขนาดกลาง ให้มี 3 เกณฑ์ คือ เกณฑ์รายได้ เกณฑ์ปริมาณงาน และเกณฑ์ประสิทธิภาพงาน โดยเทศบาลที่จะกำหนดเป็นเทศบาลขนาดกลาง ต้องได้คะแนนรวมเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2. เกณฑ์รายได้ ให้หมายถึง รายได้รวมเงินอุดหนุนในปี งบประมาณที่ผ่านมา(ไม่รวมเงินกู้) โดยเป็นการแบ่งชั้นคะแนน 3. เกณฑ์ปริมาณงาน และเกณฑ์ประสิทธิภาพงาน ให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ก.ท. กำหนด (ใช้เกณฑ์เดียวกันกับเกณฑ์การปรับเทศบาลขนาดใหญ่ ยกเว้นตัวชี้วัดด้านประชากร) หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การปรับขนาด เทศบาลเป็นขนาดกลาง (มท 0809.2/ว 134) หลักเกณฑ์การปรับเทศบาลขนาดใหญ่ (มท 0809.2/ว 210) การกำหนดกำหนดตำแหน่งบริหาร กรณีเทศบาลได้ปรับเป็นเทศบาลขนาดกลาง

การเลื่อนระดับของข้าราชการถ่ายโอน

ข้อหารือ ก.ท.จ.บุรีรัมย์ หารือการเลื่อนระดับของข้าราชการถ่ายโอน ตามภารกิจถ่ายโอนของกระทรวงสาธารณสุข คำวินิจฉัย มีมติ ดังนี้ 1. หากข้าราชการถ่ายโอนดังกล่าวมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางด้านสาธารณสุขที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ก็สามารถรับโอนมาบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข 6 (หัวหน้าสถานีอนามัย) ได้ 2. กรณีที่จะขอปรับปรุงให้ดำรงตำแหน่งในระดับตำแหน่ง ที่สูงกว่าหัวหน้าส่วนราชการ ก็สามารถที่จะกระทำได้ตามประกาศ ก.ท. เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การเลื่อนและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น (ฉบับที่ 2) โดยเทศบาลจะต้องเสนอขอปรับปรุงระดับตำแหน่งต่อ ก.ท.จ. เพื่อพิจารณาเหตุผลความจำเป็นเป็นการเฉพาะรายได้ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง การเลื่อนระดับให้ดำรงตำแหน่งที่สูง ขึ้นของข้าราชการถ่ายโอน (มท 0809.5/ว278) แนวทางการเลื่อนระดับพนักงานเทศบาล กรณีการโอน (ย้าย) ภายหลังการประเมินเลื่อนระดับแล้วเสร็จ (มท 0809.2/ว128) ประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลัก เกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (

ขอปรับปรุงส่วนราชการ

ข้อหารือ ก.ท.จ.สุราษฎร์ธานี รายงานขอปรับปรุงส่วนราชการ ของ ทน. สุราษฎร์ธานี จำนวน 2 ส่วน ดังนี้ 1. จัดตั้งกองทะเบียนราษฎรและบัตรประชาชน 2. ปรับปรุงส่วนราชการจาก “กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม” เป็น “สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม” คำวินิจฉัย มีมติ ดังนี้ 1. เห็นชอบให้ ทน.สุราษฎร์ธานี ปรับปรุงส่วนราชการจาก “กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม” เป็น“สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม” โดยให้กำหนดอัตรากำลังเท่าที่จำเป็นเฉพาะในงานโรงพยาบาลที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ สำหรับอัตรากำลังในส่วนราชการเดิม ก็ให้ยึดตามกรอบอัตรากำลังเดิมไปพลางก่อน จนกว่าจะมีปริมาณงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้นจนถึงขนาดต้องกำหนดอัตรากำลังเพิ่มก็ให้วิเคราะห์ปริมาณงานเสนอขอความเห็นชอบต่อ ก.ท.จ.สุราษฏร์ธานี 2. การจัดตั้งกองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนยังไม่เหมาะสม เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการกองทะเบียนราษฎรและบัตรประชาชน หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง การกำหนดมิติตัวชี้วัดปรับปรุงส่วน ราชการเป็นสำนัก (มท 0809.2/5113) [สิ่งที่ส่งมาด้วย] การปรับปรุงส่วนราชการเป็นสำนัก (ด่วนมาก ที

แนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนในการนำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์

ข้อหารือ ก.ท.จ.มหาสารคาม หารือแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนในการนำคุณวุฒิปริญญาโทมาเทียบเป็นประสบการณ์ การบริหารเพื่อลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งบริหาร - กรณีนางนิภาพรฯ ผู้อำนวยการกองวิชาการและแผน ระดับ 7 (นักบริหาร งานทั่วไป 7) ได้ใช้คุณวุฒิปริญญาโท มาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหารเพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งบริหารในระดับที่สูงขึ้น แต่ไม่อาจเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหาร งานทั่วไป ตามเงื่อนไขของหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร คำวินิจฉัย มีมติว่า หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า บุคคลดังกล่าวมิได้เข้ารับ การฝึกอบรมเพราะเหตุแห่งความล่าช้า หรือข้อจำกัด หรือขั้นตอนการปฏิบัติ อันมิได้เกิดจากเจ้าตัว ก็ให้เร่งรัดเข้ารับการฝึกอบรมโดยเร็ว แต่หากเกิดจากความไม่เอาใจใส่ ละเลย ไม่เข้ารับการฝึกอบรม ก็เป็นเหตุให้ผู้นั้นขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่ง หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง ตอบข้อหารือของจังหวัดนครราชสีมา เกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการนำคุณวุฒิ ปริญญาโท มาเทียบเป็นประสบการณ์การบริหารเพื่อลดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งบริหาร (มท 0809.2/ว166 )

ก.ท.จ.นครปฐม หารือการเลื่อนระดับของพนักงานเทศบาลที่กลับเข้ารับราชการ

ข้อหารือ ก.ท.จ.นครปฐม หารือการเลื่อนระดับของพนักงานเทศบาลที่กลับเข้ารับราชการ - กรณีนางสาวธนพรฯ ตำแหน่ง จพง.จัดเก็บรายได้ 4 สังกัด ทน.นครปฐม ซึ่งลาออกจากราชการ และกลับเข้ารับราชการใหม่ จะสามารถนำเอาระยะ เวลาการรับราชการเดิมมานับรวมเพื่อประโยชน์ในการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นได้หรือไม่ คำวินิจฉัย มีมติว่า กรณีพนักงานเทศบาลซึ่งพ้นจากการดำรงตำแหน่งเดิมด้วยเหตุลาออก และต่อมาได้กลับเข้ารับราชการแล้ว สามารถนำเอาระยะเวลา การดำรงตำแหน่งเมื่อครั้งก่อนกลับ เข้ารับราชการ มานับรวมกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งปัจจุบันเพื่อประโยชน์ในการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ตามเงื่อนไขคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่กำหนด และตามเงื่อนไขการนับระยะเวลาในการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง แนวทางปฏิบัติกรณีพนักงานส่วนตำบลมี ความประสงค์จะขอสมัครกลับเข้ารับราชการหลังจากพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับ (มท 0809.6/ว101) หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับระยะ เวลาในการคืนบำเหน็จ กรณีล่วงพ้นระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่กลับ