ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ มติ ก.ท. ครั้งที่ 2/2553

การหารือเกี่ยวกับการเทียบระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง

คณะกรรมการพนักงานเทศบาล ได่้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 รับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.เทียบระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ที่มีมติว่า เพื่อให้การพิจารณานับระยะเวลาเกื้อกูลการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในกรณีที่ปฏิบัติงานจริง เหมือนหรือคล้ายคลึงกับลักษณะของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ครบตามระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งในสายงานตามคุณวุฒิของพนักงานเทศบาลเป็นไปด้วยความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ จึงควรกำหนดข้อแนะนำการเสนอเอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้นั้นได้ปฏิบัติในลักษณะงานที่จะย้าย โอน รับโอน หรือเลื่อนระดับจริง ดังนี้ 1.สำเนาทะเบียนประวัติการรับราชการทุกหน้า 2.หลักฐานการสำเร็จการศึกษาที่ตรงกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะย้าย โอน รับโอน หรือการเลื่อนระดับ 3.กรณีเป็นข้าราชการทหาร หรือตำรวจ จะต้องมีหนังสือเทียบการดำรงตำแหน่งข้าราชการทหาร หรือตำรวจ กับพนักงานเทศบาล ซึ่งออกโดยสำนักงาน ก.ท. 4.หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน ที่ต้นสังกัดเดิมได้ระบุระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับลักษณะงานในตำแหน่งที่จะย้าย โอน รับโอน หรือเ

การไม่สรรหาตำแหน่งสายงานนักบริหารที่ว่าง

คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.) ในคราวการประชุม ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 มีมติให้ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติให้ ก.จ.จ. , ก.ท.จ. และ ก.อบจ.จังหวัด ทุกแห่งถือปฏิบัติ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำกับกูแลในเรื่องการสรรหาตำแหน่งสายงานนักบริหารที่ว่างอย่างเคร่งครัด และซักซ้อมแนวทางการกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าวดังนี้ 1.การไม่สรรหาผู้ดำรงตำแหน่งสายงานนักบริหารที่ว่างหรือการละเลยเพิกเฉยการสรรหาตำแหน่งสายงานนักบริหาร ถือได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อใหเกิดความเสียหายต่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล จึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในฐานะผู้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะให้คำแนะนำแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นให้ดำเนินการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งสายงานบริหารตามประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว 2.กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดละเลยหรือละเว้นการสรรหาตำแหน่งนักบริหารที่ว่าง ก็ให้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเข้มงวด ทั้งนี้หากผู้เ

หารือแนวทางการปฏิบัติการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่พนักงานตรวจโรคสัตว์

ข้อหารือ หารือแนวทางการปฏิบัติการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่พนักงานตรวจโรคสัตว์ - สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น หารือกรณีเทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดอุบลราชธานี ได้แต่งตั้งสัตวแพทย์ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอวารินชำราบ เป็นพนักงานตรวจโรคสัตว์ ปฏิบัติหน้าที่ตรวจโรคสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ของเอกชน จะสามารถเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่พนักงานตรวจโรคสัตว์ดังกล่าวได้หรือไม่ คำวินิจฉัย ประกาศ ก.ท. เรื่อง การกำหนดค่าตอบแทนข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างที่เทศบาล ขอยืมตัวมาช่วยปฏิบัติงานชั่วคราว ฉบับลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2548 นายอาวรณ์ฯจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับค่าตอบแทนตามประกาศนี้ ประกอบกับข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณานี้ปรากฏว่า การแต่งตั้งข้าราชการรายดังกล่าวมิได้เกิดจากการยืมตัวมาช่วยปฏิบัติงานชั่วคราว ตามประกาศหลักเกณฑ์การขอยืมตัวข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นมาช่วยปฏิบัติงานชั่วคราว ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 ดังนั้น เทศบาลตำบลแสนสุข จึงไม่อาจจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานตรวจโรคสัตว์ตามที่หารือได้ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง ประกาศ ก.จ. ก.ท. และ ก

หารือแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ท.จ.

ข้อหารือ หารือแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู - กรณีการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู ที่มีกรรมการใน ก.ท.จ.หนองบัวลำภู บางส่วนไปที่เทศบาลเรียกให้นายกเทศมนตรี รองนายก เทศมนตรี ประธานสภาและสมาชิกสภา และพนักงานเทศบาล เข้าร่วมประชุมรับทราบนโยบายการบริหารงานบุคคล โดยไม่แจ้งหรือประสานให้เทศบาล ทราบ ทั้งที่บทบาทดังกล่าวควรเป็นของผู้บริหารเทศบาล จะกระทำได้หรือไม่ คำวินิจฉัย มีมติรับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.ด้านกฎหมาย ที่มีมติว่า ก.ท.จ. มีองค์ประกอบตามมาตรา 23 และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 13 ประกอบมาตรา 23 วรรคหก แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่จึงต้องกระทำในรูปของคณะกรรมการที่ครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนด การที่กลุ่มบุคคลได้เรียกนายเทศมนตรี,รองนายกเทศมนตรี ประธานสภา,สมาชิกสภาและพนักงานเทศบาลเข้าร่วมประชุมรับทราบนโยบายการบริหารงานบุคคล การดำเนินการ ของกลุ่มบุคคลคณะนี้ จึงมิใช่การดำเนินการของ ก.ท.จ. ตามองค์ประกอบที่ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดไว้ ประกอบกับไม่มีบทบัญญัติใดใน

หารือการโอนสับเปลี่ยนระหว่างปลัด อบต.กับปลัดเทศบาล

ข้อหารือ หารือการโอนสับเปลี่ยนระหว่างปลัด อบต.กับปลัดเทศบาล คำวินิจฉัย มีมติรับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.ด้านกฎหมาย ที่พิจารณาแล้วมีมติว่า 1. ประเด็นการโอนสับเปลี่ยนตำแหน่งบริหาร พิจารณาได้ว่า การโอนสับเปลี่ยนตำแหน่งบริหารสามารถดำเนินการได้เฉพาะเทศบาลด้วยกันเท่านั้น 2. ประเด็นการรับโอนตำแหน่งบริหาร พิจารณาได้ว่า การโอนสับเปลี่ยนตำแหน่งบริหารจะกระทำได้เฉพาะเทศบาลด้วยกันเท่านั้น หากเป็นการรับโอนข้าราชการประเภทอื่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นประเภทอื่น มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบริหารของเทศบาล ตำแหน่งที่จะรับโอนนั้นจะต้องเป็นตำแหน่งที่เป็นอัตราว่าง หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง การโอนพนักงานเทศบาลตำแหน่งบริหาร ระดับ 6 กรณีเป็นตำแหน่งเริ่มต้นของสายงานบริหารเดียวกัน (มท 0809.2/ว264) แนวทางการเลื่อนระดับพนักงานเทศบาล กรณีการโอน (ย้าย) ภายหลังการประเมินเลื่อนระดับแล้วเสร็จ (มท 0809.2/ว128) ประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (มท 0809.2/ว123)

การนับระยะ เวลาการดำรงตำแหน่งผู้บริหารประเภทอื่นมานับรวมกับตำแหน่งรองปลัดเทศบาล

ข้อหารือ ก.ท.จ.สมุทรสาคร หารือการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งผู้บริหารประเภทอื่นมานับรวมกับตำแหน่งรองปลัดเทศบาล เพื่อประโยชน์ในการสมัครคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดเทศบาล 9 - กรณีรองปลัดเทศบาลระดับ 8 ขอนำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งผู้บริหารประเภทอื่น ขณะดำรงตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน 8ว และหัวหน้าสำนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย มานับรวมเพื่อประโยชน์ในการสมัครคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดเทศบาลระดับ 9 ได้หรือไม่ คำวินิจฉัย มีมติรับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.โครงสร้าง ที่พิจารณาแล้วมีมติว่า การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งบริหารของข้าราชการที่โอนมาดำรงตำแหน่งบริหารในเทศบาล เพื่อเลื่อนระดับสูงขึ้นให้เริ่มนับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งบริหารในเทศบาล ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้ผู้ที่โอนมาดำรงตำแหน่งบริหาร ในเทศบาลควรต้องมีประสบการณ์ทางการบริหารเทศบาล แม้ว่าลักษณะงานอาจใกล้เคียงกัน แต่ด้วยภารกิจ อำนาจ หน้าที่ ตลอดจนระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวกับเทศบาล ย่อมแตกต่างจากส่วนราชการอื่น จึงกำหนดให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งบริหารได้ตังแต่วันที่มาดำรงตำแหน่งในเทศบาล ประกอบกับแนวทางดังกล่าว ก.ท. ได้ประกาศใช้บังคับตั้งแต่ วั

คุณสมบัติผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับครูอัตราจ้าง

ข้อหารือ หารือคุณสมบัติผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับครูอัตราจ้างเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล ตำแหน่งครูผู้ช่วย ดังนี้ 1. กรณีผู้ช่วยครู(ครูอัตราจ้าง) ได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยครู ก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่ต่อเนื่อง กันหรือไม่ หากกรณีเว้นระยะเวลาจะถือว่าเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์หรือไม่ อย่างไร 2. กรณีเว้นระยะเวลาแล้วกลับมาบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งผู้ช่วยครู หลังวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 แต่รวมระยะเวลากันแล้วเกิน 3 ปี จะถือว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติในการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล ตำแหน่งครูผู้ช่วย ได้หรือไม่ และกรณีเช่นเดียวกันหากรวมระยะเวลากันแล้วไม่ครบ 3 ปี จะมีสิทธิได้รับการพิจารณายกเว้นคุณสมบัติด้านระยะเวลาของการดำรงตำแหน่งครูอัตราจ้าง ได้หรือไม่ คำวินิจฉัย มีมติว่า 1.กรณีผู้ช่วยครู (ครูอัตราจ้าง) ได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยครู ก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 ต้องมีระยะ เวลาการดำรงตำแหน่งที่ต่อเนื่องกัน หากกรณีเว้นระยะเวลา ก็ถือว่าเป็นผู้

หารือการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ

ข้อหารือ หารือการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการใน ก.ท.จ.หนองบัวลำภู - กรณี ก.ท.จ.หนองบัวลำภู มีการตั้งอนุกรรมการอื่นๆ เช่น คณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องที่จะนำเข้าพิจารณา ใน ก.ท.จ.หนองบัวลำภู เป็นการปฏิบัติ ไม่เป็นไปตามแบบแผนของทางราชการ เนื่องจากเป็นหน้าที่ของฝ่ายเลขานุการในการจัดระเบียบวาระการประชุมเสนอประธาน ก.ท.จ.จะขอยกเลิกมติการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้ คำวินิจฉัย มีมติว่า เมื่อ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู มีฝ่ายเลขานุการฯ ทำหน้าที่กลั่นกรองเรื่องที่จะนำเข้าพิจารณาใน ก.ท.จ.หนองบัวลำภู แล้ว การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องที่จะนำเข้าพิจารณาใน ก.ท.จ. จึงเป็นการดำเนินงานที่อยู่นอกวงงาน ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 13 ประกอบมาตรา 23 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหาร งานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และเป็นภารกิจที่ซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของฝ่ายเลขานุการของ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู อันเป็นการเพิ่มขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น ก.ท.จ.หนองบัวลำภู ชอบที่จะมีมติยกเลิกมติที่แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ดังกล่าวได้

คุณวุฒิการศึกษาในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จพง.ประชาสัมพันธ์

ข้อหารือ การเพิ่มเติมคุณวุฒิการศึกษาในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง จพง.ประชาสัมพันธ์ - กรณีคุณวุฒิการศึกษาปริญญา ศศ.บ. วิชาเอกนิเทศศาสตร์ จากวิทยาลัยครู หรือสถาบันราชภัฏ ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง จพง.ประชาสัมพันธ์ หรือไม่ คำวินิจฉัย มีมติเห็นชอบให้กำหนดคุณวุฒิเพิ่มเติมในคุณสมบัติเฉพาะ สำหรับตำแหน่งเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ โดยกำหนดให้คุณวุฒิ ปวท. หรือ ปวส. หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางนิเทศศาสตร์ ทางสื่อสารมวลชน เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง จพง.ประชาสัมพันธ์ 2 ด้วย หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง การเพิ่มเติมคุณวุฒิการศึกษาในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ (มท 0809.5/ว76,ว80,ว95)

หลักเกณฑ์การสอบแข่งขัน

ข้อหารือ หลักเกณฑ์การสอบแข่งขันสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 โดย สถ. - ฝ่ายเลขานุการได้ยกร่างหลักเกณฑ์ การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นพนักงานเทศบาลในตำแหน่งสายงานเริ่มต้นจากระดับ 3 โดยให้มีหน่วยดำเนินการเพิ่มเติม คือ ศูนย์ภาค เพื่อเป็นบัญชีทางเลือก ทั้งนี้ การบรรจุและแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ ไปบรรจุแต่งตั้งในเทศบาลใดให้ใช้บัญชีตามรายภาคที่เทศบาลนั้นตั้งอยู่ โดยไม่อาจผ่อนผันให้ใช้บัญชีข้ามภาค คำวินิจฉัย มีมติให้ฝ่ายเลขานุการไปตั้งคณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์ประกอบด้วยผู้แทน ก.จ. ก.ท. ก.อบต. และ ก.พ. เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ให้รัดกุม และมีมาตรฐานเดียวกัน มติ ก.ท. ครั้งที่ 2/2553 หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง การบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นกรณีที่มีเหตุพิเศษ ที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน (มท 0809.2/ว263) การป้องกันการทุจริตการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล และพนักงานส่วนตำบล ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) (มท 0809.5/ว142) ประกาศหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 (มท