ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู

ความล่าช้าเป็นบ่อเกิดของความอยุติธรรม

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ 260/2546 (ประชุมใหญ่) ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดระยะเวลาในการพิจารณา คำขอ หรือการกระทำใด ๆ ของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่รัฐ สำหรับเรื่องนั้นๆ ไว้เป็นการเฉพาะ หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควรดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง

คุณสมบัติผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงาน

ข้อหารือ ก.ท.จ.สระบุรี หารือคุณสมบัติของผุ้มีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงาน จากสายงานผู้ปฏิบัติเป็นสายงานผู้บริหาร ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการสังคม (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม 7) ของเทศบาลตำบลหนองแค ในประเด็นการดำรงตำแหน่ง ในระัดับ 7 ว. หรือ 7 วช. หรือ ก.ท.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี นั้น หมายถึง ผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกจะต้องดำรงตำแหน่ง สายงานสวัสดิการสังคมในระัดับ 7 ว. หรือหมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ในระดับ 7 หรือ 7 วช. คำวินิจฉัย คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าฝ่าย (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม 7) เป็นไปตามประกาศ ก.ท. เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล ฉบับลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานผุ้ปฏิบัติและตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะเป็นสายงานผู้บริหาร โดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิสอบคัดเลือกจะต้องดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในระดับ 7 ว. หรือ 7 วช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี ในทุกสายงาน และมีคุณสมบัติอื่นครบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาลก็มีสิทธิสอบ

การเทียบหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูง

ข้อหารือ 1.อบจ.สงขลา หารือว่ากรณีผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) จะถือเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูงที่ ก.จ.รับรอง หรือไม่ 2.นาย ส.รองปลัดเทศบาลนครสงขลา (นักบริหารงานเทศบาลระดับ 9) มีหนังสือขอให้พิจารณาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ ปลัด อบจ.ระดับ 9 โดยให้รองปลัดเทศบาลระดับ 9 ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้มีคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 คำวินิจฉัย 1.รับรองหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) เป็นหลักสูตรที่เป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 ได้ 2. กรณีนาย ส.นั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการคัดเลือก เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่ง ปลัด อบจ.ระดับ 9 ไม่ได้กำหนดให้ข้าราชการประเภทอื่น มาสมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับท่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้การรับโอนพนักงานเทศบาลมาดำรงตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระดับ 9 ผุ้นั้นต้องดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 9 ซึ่งเป็

นิยามศัพท์การบริหารงานบุคคลที่ควรรู้

คุณ รู้หรือไม่ ในประกาศ กทจ. เรื่องหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลของเทศบาล มีคำนิยามศัพท์ที่พวกเราละเลย ไม่ค่อยให้ความสนใจทำความเข้าใจในความหมาย เลยอ่านประกาศไม่ค่อยเข้าใจ เช่น “ พนักงานเทศบาล ” หมายความว่า พนักงานเทศบาลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติ ราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของเทศบาล และให้หมายความรวมถึง พนักงานครูเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลอื่นที่ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณ หมวดเงินอุดหนุนของ รัฐบาลและเทศบาลนํามาจัดเป็นเงินเดือน “ พนักงานส่วนท้องถิ่นอื่น ” หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานส่วนตําบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานเมืองพัทยา และข้า้ราชการหรือพนักงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ไม่ใช่พนักงานเทศบาล โดยมีกฎหมายจัดตั้งขึ้น ซึ่งได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนทอง ถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนํามาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการหรือพนักงาน ส่วนท้องถิ่น “ ข้าราชการประเภทอื่น ”

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ

ตำแหน่งที่ ก.ท.เทียบเท่าสำหรับสายการศึกษา

บัญชีตำแหน่งอื่นที่ ก.ท. เทียบเท่าตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะด้านประสบการณ์ สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งตำแหน่งอื่นที่ ก.ท. เทียบเท่า 1. ครู คุณสมบัติที่กำหนด - ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งครูผู้ช่วยเป็นเวลา 2 ปี โดยผ่านการประเมินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่ ก.ท.กำหนด หรือดำรงตำแหน่งอื่น ที่ ก.ท. เทียบเท่า ตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด - ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล สายงานการศึกษานอกระบบและส่งเสริมการศึกษา ได้แก่ สันทนาการ นักวิชาการ ศึกษา นักวิชาการวัฒนธรรม บรรณารักษ์ ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 6 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2. รองผู้อำนวยการสถานศึกษา คุณสมบัติที่กำหนด - ดำรงตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี และ 2 ปีสำหรับ ผู้มีวุฒิ ปริญญาโทขึ้นไป หรือดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ หรือดำรงตำแหน่งนักบริหารการศึกษา หรือ ดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ท.เทียบเท่า ตำแหน่งที่ ก.ท.กำหนด - ตำแหน่งอาจารย์ 1 ไม่น้อยกว่า 6 ปี สำหรับผู้มีวุฒิ