ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล

คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้

- ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้
ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

- คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ
1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ
2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับพนักงานเทศบาล ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 และ
3. เป็นผู้มีคุณวุฒิและคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะบรรจุแต่งตั้ง และ
4. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และ
5. ต้องผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานตามเกณฑ์และแบบประเมินที่ ก.ท.กำหนด จากคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่นายกเทศมนตรีแต่งตั้ง ดังนี้
5.1. ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประกอบด้วย
5.1.1. ผู้บริหารสถานศึกษาที่นายกเทศมนตรีเห็นว่าเหมาะสม จำนวนหนึ่งคนเป็นประธานกรรมการ
5.1.2. ผู้แทนคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ
5.1.3. ผู้ดำรงตำแหน่งครู ที่นายกเทศมนตรีเห็นว่าเหมาะสมที่จะทำหน้าที่เป็นครูพี่เลี้ยงดูแลระหว่างการเตรียมความพร้อมฯจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ
5.1.4. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาของสำนัก/กองการศึกษาจำนวนหนึ่งคน เป็นเลขานุการ
5.2. ตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ประกอบด้วย
5.2.1. ปลัดเทศบาล เป็นประธานกรรมการ
5.2.2. ผอ.สำนัก/กองการศึกษา เป็น กรรมการ
5.2.3. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาซึ่งมีประสบการณ์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยหรือการสอนในสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ
5.2.4. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาของสำนัก/กองการศึกษาจำนวนหนึ่งคน เป็นเลขานุการ
6. การสมัคร ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนสังกัดเทศบาลแห่งใด ต้องสมัครเข้ารับการคัดเลือกในเทศบาลแห่งนั้น
7. ให้เทศบาลแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องสอบแข่งขันประกอบด้วย
7.1. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.ท.จ.คัดเลือก จำนวนหนึ่งคน เป็น ประธานกรรมการ
7.2. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยหรือการสอนในสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวนสองคน เป็น กรรมการ
7.3. ผู้อำนวยการสำนัก/กองการศึกษา จำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการ
7.4. ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวนสองคน เป็นกรรมการ
7.5. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาของสำนัก/กองการศึกษาจำนวนหนึ่งคน เป็นเลขานุการ
8. ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องมีผลคะแนนดังต่อไปนี้
8.1. คะแนนการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
8.2. คะแนนการทดสอบความรู้ ความสามารถในตำแหน่ง ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
ประกาศลงวันที่ 1 ธันวาคม 2552

เกี่ยวกับการแต่งเครื่องแบบ กรณีอินทรธนู หรือขีดบนบ่าของครูศูนย์เด็ก ว่าจะใช้ตามแบบของข้าราชการพลเรือน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดเครื่องหมายตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือจะใช้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๔๒) ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๐๙ สรุปคำว่าให้ใช้ตามกฎกระทรวง ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการส่วนท้องถิ่นไปก่อน จนกว่าจะได้มีการแก้ไขกฎกระทรวงให้สอดคล้องกับการแต่งเครื่องแบบของข้าราชการพลเรือน

หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง ตำแหน่งและวิทยฐานะพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล

สิ่งที่ส่งมาด้วย 4. ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประเมินผลงานพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล เพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

- สิ่งที่ส่งมาด้วย 5. ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปกำหนดค่าตอบแทนการตรวจประเมินผลงานพนักงานครู และบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล เพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ


ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง กำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล (ส่วนที่ 1)
[(ส่วนที่ 2)]

ตอบข้อหารือเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูของครูผู้ดูแลเด็ก (มท ๐๘๙๓.๔/ว ๖๔๘, ๕๘๙) 

ความคิดเห็น

  1. มีแบบประเมินอย่างเข้ม ครูผู้ดูแลเด็ก ทุก 3 เดือนไหมครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเทียบหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูง

ข้อหารือ 1.อบจ.สงขลา หารือว่ากรณีผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) จะถือเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูงที่ ก.จ.รับรอง หรือไม่ 2.นาย ส.รองปลัดเทศบาลนครสงขลา (นักบริหารงานเทศบาลระดับ 9) มีหนังสือขอให้พิจารณาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ ปลัด อบจ.ระดับ 9 โดยให้รองปลัดเทศบาลระดับ 9 ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้มีคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 คำวินิจฉัย 1.รับรองหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) เป็นหลักสูตรที่เป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 ได้ 2. กรณีนาย ส.นั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการคัดเลือก เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่ง ปลัด อบจ.ระดับ 9 ไม่ได้กำหนดให้ข้าราชการประเภทอื่น มาสมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับท่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้การรับโอนพนักงานเทศบาลมาดำรงตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระดับ 9 ผุ้นั้นต้องดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 9 ซึ่งเป็...

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู...