ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

อำนาจปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรี

หนังสือสำนักงาน ก.ท.ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๑๗๑ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔เรื่อง ขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของปลัดองค์กรปกครอองส่วนท้องถิ่นในการปฏิบัติหน้าที่นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีไม่มีนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ก.ท. ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๔ เมื่อวันที่  ๒๙ กันยายน ๒๕๕๔ ได้มีมติให้ถือปฏิบัติตามแนวทางของมติ ก.อบต.ในคราวการประชุมครั้งที่  ๕/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ให้ตอบข้อหารือของจังหวัดจันทบุรี กรณีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จะสามารถพิจารณากรณีโอน(ย้าย) พนักงานส่วนตำบลสายผู้ปฏิบัติได้หรือไม่ การใช้อำนาจของผู้ครองอำนาจชั่วคราวที่กฎหมายกำหนดให้ใช้เท่าที่จำเป็น เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป และไม่อาจกำหนดอำนาจที่แน่นอนได้  สำหรับขอบเขตของคำว่า เท่าที่จำเป็น   เห็นว่าเมื่อไม่ปรากฏนิยามของคำว่าเท่าที่จำเป็น ไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะจึงอาจพิจารณาเทียบเคียงความหมายของคำว่า จำเป็น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒  ที่อธิบายคุณลักษณะว่า “ต้องเป็นอย่างนั้น,ต้องทำ,ขาดไม่ได้” ดังนั้นการพิจารณาการใช้อำนาจของผู้ครองอำนาจชั

ซักซ้อมการกำหนดตำแหน่งรองปลัดเทศบาล

ซักซ้อมการกำหนดตำแหน่งรองปลัดเทศบาล สำนักงาน ก.ท. ได้มีหนังสือที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๑๗๒  ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ เรื่องซักซ้อมแนวทางกำหนดตำแหน่งรองปลัดเทศบาล                 ก.ท.ในคราวการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๔ ลงวันที่  ๒๙ กันยายน  ๒๕๕๔  มีมติว่า หลักเกณฑ์การกำหนดขนาดและระดับตำแหน่งผู้บริหารเทศบาล และหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งมิได้กำหนดความเชื่อมโยงกันไว้   ดังนั้นเพื่อพิจารณาให้การกำหนดตำแหน่งรองปลัดเทศบาลเป็นไปในแนวทางเดียวกัน  จึงมีมติซักซ้อมแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งรองปลัดเทศบาลไว้ดังนี้                 ๑.การกำหนดจำนวนและระดับตำแหน่งของรองปลัดเทศบาลให้เป็นไปตามกรอบโครงสร้างและประกาศ ก.ท.เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดขนาดเทศบาลและการกำหนดระดับตำแหน่งของผู้บริหารเทศบาล ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม                 ๒.การกำหนดตำแหน่งรองปลัดเทศบาล ให้ ก.ท.จ.วิเคราะห์ตามลักษณะหน้าที่  ความรับผิดชอบ ปริมาณงาน คุณภาพงาน และลักษณะทางการคลัง  ตามหลักการประเมินค่างาน โดยให้ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน ตามกรอบการมอบหมายงานของปลัดเทศบาล      

หลักเกณฑ์การเทียบตำแหน่งเพื่อขอโอนย้ายเป็นครูเทศบาล

๑.การโอน ย้าย ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการอื่นๆ ตำแหน่งก่อนโอน ย้าย โอน ย้ายมาบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ๑.๑ สายงานการสอน      ครู  รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ. ๑-๓     ครู รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ. ๑-๓      ครู วิทยฐานะชำนาญการ           รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ. ๒     ครู วิทยฐานะชำนาญการ           รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ. ๒      ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ           รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ. ๓     ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ           รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ. ๓ ๑.๒ สายบริหารสถานศึกษา      รองผู้อำนวยการ รับเงินเดือน อันดับ ค.ศ.๑-๓     ครู รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ. ๑-๓      รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ.๒     ครู วิทยฐานะชำนาญการ           รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ. ๒      รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ รับเงินเดือนอันดับ ค.ศ.๓     ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ           รับเงินเดือน

หลักเกณฑ์การหารือเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล

คณะกรรมการกลางในการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น ได้กำหนดแนวทางในการรับเรื่องหารือเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่นไว้พิจารณา ตามหนังสือที่ มท ๐๘๐๙.๘/ว ๑๕๔ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ดังนี้                 ๑.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหารือเรื่องเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และการดำเนินการทางวินัยไปยังสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดโดยตรง                 ๒.ลักษณะเรื่องที่จะหารือไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ต้องเป็นกรณี                                 ๒.๑ สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดไม่สามารถตอบข้อหารือได้ หรือเป็นมติของ ก.จังหวัดให้หารือ                                 ๒.๒ เรื่องที่หารือต้องมีความเห็นเบื้องต้นของสำนักงาน ก.จ.จ., ก.ท.จ. หรือ ก.อบต.จังหวัดก่อนเสมอ                                 ๒.๓เรื่องที่จะหารือต้องมีข้อเท็จจริงและรายละเอียดมากเพียงพอที่จะพิจารณาและวินิจฉัย                                 ๒.๔ เรื่องที่หารือต้องเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่เรื่องที่คาดหมายล่วงหน้า                 ๓.เรื่องที่ไม่ควรหารือ                                 ๓.๑ เรื่องที่มีการฟ้องร้อง