ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เงินบำนาญเพิ่มพิเศษ ๒๕% ของพนักงานส่วนท้องถิ่น

คอลัมน์ กฎหมายข้างตัว: เงินเพิ่มเงินบำนาญ -
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) Issued date 5 February 2011
พิสิษฐ์ พลรักษ์เขตต์praepim@yahoo.com
บ้านเมืองยุ่งเหยิง หันมาคุยเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ของชอบที่ไม่ค่อยมีดีกว่า
สมัย นี้ใคร ๆ ก็อยากเข้าทำงานเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ศักดิ์และสิทธิเหมือนข้าราชการ พลเรือน แต่โบนัสเขาว่าอึ๋มกว่า ทำงานในพื้นที่ชุมนุมชนไม่เงียบเหงา ถ้าเจอผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ใจพัฒนาชอบเที่ยว เอ๊ย ดูงานพลอยได้ไปต่างประเทศกันประจำ
แตกต่างกับสมัยก่อนลิบลับ ใครที่ทำงานราชการส่วนท้องถิ่นเช่น สุขาภิบาล (เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วนะครับ) เทศบาลเล็ก ๆ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ดูคับแคบ เชย เงียบ ๆ ว้าเหว่ ไม่มีอนาคต
ยิ่งสมัยอยู่ในมือของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยยิ่งไปกันใหญ่ สถานภาพยังกะลูกกิ๊กโนเนม
มีคนนินทาว่าสมัยนี้มหาดไทยก็ยังหวงแหนพยายามกระชับพื้นที่มั่ง ขอคืนพื้นที่ส่วนท้องถิ่นกันแบบห้ามเผลอ
เมื่อรัฐมีการกระจายอำนาจอย่างจริงจัง จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตั้งกันใหม่ ๆ แทนที่จะเป็นหนุ่มสาวเนื้อหอมมีคนสนใจ
ภาพลักษณ์เก่า ๆ หาคนมาทำงานด้วยยากยกเว้นกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ต้องหาวิธีการดูด
พลังดูดน่ะมันต้องเงิน เงินลูกเดียว เห็นตัวอย่างนักการเมืองบ้านเราไหมเล่า
จะให้เงินเดือนมากกว่าส่วนราชการอื่นย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องเพิ่มทางสวัสดิการ
จึงกำหนดให้มีเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบห้าของเงินบำนาญสำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ออกหรือพ้นจากราชการ
โดยออก ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๖ (ปัจจุบันระเบียบฯฉบับล่าสุด ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ )
ข้อ ๓๙ (๑) กำหนดเงื่อนเวลาว่าข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ลาออกไปก่อนวัน ที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๙ ระเบียบนี้ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง กลัวคุณปู่คุณย่า ต้องลำบากกลับมาขอใช้สิทธิกัน
ข้อ (๒) ให้สิทธิเงินเพิ่มแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ออกหรือพ้นจากราชการตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๙ เป็นต้นไป
ข้อ (๓) กำหนดวิธีการในการคำนวณเงินเพิ่มดังกล่าวสำหรับข้าราชการที่โอนหรือถูกสั่งให้ไปรับราชการทางราชการส่วนท้องถิ่น
ทะลุ เป้าครับท่าน หมดปัญหาขาดแคลนบุคลากรอีกต่อไป จึงออกข้อที่ ๔ จำกัดสิทธิข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งเข้ารับราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๕ เมื่อออกหรือพ้นจากราชการไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบห้า จากเงินบำนาญ
จึงมีปัญหาต่อเจ้าหน้าที่ปกครอง กรมการปกครอง ท่านหนึ่งซึ่งโอนย้ายไปเป็นปลัดเทศบาลแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ หลังลาออกจากราชการได้ยื่นคำร้องขอรับเงินบำนาญปกติและขอเงินเพิ่ม ร้อยละยี่สิบห้าด้วยเพราะเริ่มรับราชการมาตั้งแต่ ๑๖ กันยายน ๒๕๑๑
โน พร็อบเบลม ได้รับเงินบำนาญทั้งสองประเภทสิริรวมแล้ว ๑๙,๕๕๒.๕๖ บาท แต่รับไปสักพักมีมารผจญ สำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น เบรกตัวโก่งว่าคุณปลัดไม่มีสิทธิรับเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบห้าดังกล่าว
ผิด ตรงข้อที่ ๔ คุณปลัดเข้าทำงานในเทศบาลหลังวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๘ จึงให้มีคำสั่งให้ยกเลิกเอ็มโอยู ให้รับบำนาญตามปกติ จำนวน ๑๘,๗๒๖.๔๐ บาท
เฮ้ย ตูข้าเริ่มเข้ารับราชการมาตั้งแต่เมื่อ ๑๖ กันยายน ๒๕๑๑ สำนักงานยังไม่เกิดเลยนะนั่น
ตกลงจะนับตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๘ หรือ ๑๖ กันยายน ๒๕๑๑ กันฟะ
แบบ นี้ต้องยกระดับการต่อสู้ จึงฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งลดเงิน เพิ่มล่าสุด และขอให้ใช้คำสั่งแรกที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วยเงินเพิ่ม
ศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยให้นับอายุการทำงานต่อเนื่อง พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่จ่ายเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบห้าดังกล่าว
ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ถูกฟ้องคดีต้องอุทธรณ์ทั้งที่เห็นใจให้ผู้ฟ้องคดี เกรงใจสำนักงานน่ะ
ศาล ปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เดิมผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
เมื่อโอนไป ดำรงตำแหน่งปลัดสุขาภิบาลและเปลี่ยนแปลงเป็นปลัดเทศบาลโดยผลของมาตรา ๗ แห่ง พ.ร.บ.เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒
สถานะของผู้ฟ้องคดีจึงเปลี่ยนจากข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นข้าราชการพลเรือนส่วนท้องถิ่นเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐
เห็น ว่าตามข้อ ๓๙ (๓) แห่งระเบียบดังกล่าวได้กำหนดวิธีการในการคำนวณเงินเพิ่มสำหรับข้าราชการที่ โอนมาหรือถูกสั่งให้ไปรับราชการส่วนท้องถิ่น แต่มิได้กำหนดให้ถือว่าเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ในหน่วยงานเดิมแต่อย่างใด
ผู้ฟ้องคดีจึงมีสถานะเป็นข้าราชการ ส่วนท้องถิ่นนับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ เป็นกรณีเข้ารับราชการในหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นหลัง วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๕
ไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มของเงินบำนาญปกติตามข้อ ๓๙ (๔) คำสั่งที่ไม่ให้รับเงินเพิ่มจึงชอบด้วยกฎหมาย
พิพากษากลับ เป็นให้ ยกฟ้อง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๙๒ / ๒๕๕๐)
ความไม่แจ้งว่ารับโชคสองชั้นต้องคืนเงินให้หลวงหรือเปล่า.

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาและการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับทุนการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรีจะต้อง - ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุนการศึกษา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -ให้พิจารณาในสัดส่วนของผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายละเท่าๆกัน และสามารถเฉลี่ยสัดส่วนกันได้ -สามารถเฉลี่ยจำนวนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ก็สามารถทำได้ แต่ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต้องไม่เกินจำนวนที่สามารถตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร ๒.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสิทธิรับทุนการศึกษา สามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดเป็นคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในทุกตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และ อบต.)กำหนด ๓.สาขาที่เข้าศึกษาควรเป็นหลักสูตรพิเศษที่ใช้เวลาการศึกษานอกเวลาราชการ ๔.ระหว่างการศึกษาโดยได้รับทุนก

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ