ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวทางการเทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนกับพนักงานท้องถิ่น


แนวทางการเทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนกับพนักงานท้องถิ่น
ตามมติ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
(แจ้งตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท.และ ก.อบต. ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๕๐ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕)
                การดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนกับข้าราชการท้องถิ่นตามมติ ก.ท. ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๒ ประกอบกับ ก.จ.และ ก.อบต.ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๒ ซึ่งกำหนดหลักการสำคัญให้พิจารณาตามแนวทางหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๑๒ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ กล่าวคือ ตำแหน่งประเภททั่วไป เทียบได้กับตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ ระดับ ๒ ตำแหน่งประเภทวิชาการ เทียบได้กับตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓ หรือระดับ ๔ ส่วนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไปหรือวิชาการ จะเทียบได้กับระดับใดนั้นให้พิจารณาจากตำแหน่งเดิมก่อนปรับเข้าสู่ระดับแท่ง
ประเภททั่วไป
=>
สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ ระดับ ๒
ทักษะพิเศษ
ระดับ ๙
อาวุโส
ระดับ ๗ ระดับ ๘
ชำนาญงาน
ระดับ ๕ ระดับ ๖
ปฏิบัติงาน
ระดับ ๑ ระดับ ๒ ระดับ ๓ ระดับ ๔



ตำแหน่งประเภทวิชาการ
=>
ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ๓
ระดับทรงคุณวุฒิ
ระดับ ๑๐
ระดับเชี่ยวชาญ
ระดับ ๙
ระดับชำนาญการพิเศษ
ระดับ ๘
ระดับชำนาญการ
ระดับ ๖ ระดับ ๗
ระดับปฏิบัติการ
ระดับ ๓ ระดับ ๔ ระดับ ๕
               
                ทั้งนี้การพิจารณาตำแหน่งเดิมก่อนปรับเข้าสู่ระบบแท่งนั้น อาจไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เพราะระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงทำให้บุคคลดังกล่าวอาจดำรงตำแหน่งที่อาจเลื่อนระดับที่สูงขึ้นได้
                ดังนั้นจึงกำหนดแนวทางการเทียบตำแหน่งกรณีที่ตำแหน่งประเภทเดียวกันแต่อาจเทียบได้หลายระดับ(ซี)ของท้องถิ่น ดังนี้
                ๑.การเทียบตำแหน่งประเภททั่วไป
                ตำแหน่งประเภททั่วไป เทียบได้กับสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ และระดับ ๒ แต่บุคคลดังกล่าวจะพิจารณาเทียบให้ดำรงตำแหน่งสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ หรือเริ่มต้นจากระดับ ๒ ให้พิจารณาจากคุณวุฒิที่ใช้บรรจุแต่งตั้งและอัตราเงินเดือน เช่น
                - บรรจุในตำแหน่งประเภททั่วไป ที่ใช้คุณวุฒิ ปวช.ก็เทียบได้กับตำแหน่งของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑
                - บรรจุในตำแหน่งประเภททั่วไป ที่ใช้คุณวุฒิ ปวท./ปวส. ก็เทียบได้กับตำแหน่งของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๒
                ทั้งนี้ จะบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งใดก็ให้พิจารณาตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ที่กำหนดต่อไป
                สำหรับการรับโอนในตำแหน่งที่ถูกกำหนดเป็นระดับควบ ๒ ระดับ การพิจารณาว่าจะรับโอนในระดับนั้น พิจารณาได้ ๓ กรณี
                ๑.๑ กรณีเป็นตำแหน่งในระดับควบ : ให้นับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเปรียบเทียบกับตำแหน่งที่จะรับโอนตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่จะรับโอนตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่กำหนด เช่น นายดิน ฯ ตำแหน่ง นิติกร ระดับปฏิบัติการ มีคุณวุฒินิติศาสตร์บัณฑิต บรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นิติกร ๓ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ปรับเป็นตำแหน่งนิติกร ระดับปฏิบัติการ  เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ จะโอนมาดำรงตำแหน่งนิติกร ในระดับใด ให้เทียบระยะเวลาการดำรงตำแหน่งจากตัวอย่าง ท้องถิ่นอาจรับโอนนายดินฯ มาดำรงตำแหน่งนิติกร ระดับ ๔ เนื่องจากดำรงตำแหน่งเทียบเท่าระดับ ๓ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี แต่ไม่อาจรับโอนมาดำรงตำแหน่งนิติกร ระดับ ๕ เนื่องจากดำรงตำแหน่งระดับ ๓ น้อยกว่า ๔ ปี แต่หากนายดินฯ ดำรงตำแหน่งเทียบเท่ากับระดับ ๓ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี (คุณวุฒิปริญญาตรี) หรือ ๓ ปี (คุณวุฒิปริญญาโท)  และได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับเงินเดือนสำหรับตำแหน่งในระดับ ๕ ก็อาจโอนมาดำรงตำแหน่งนิติกร ระดับ ๕ ได้
ระยะเวลา
ข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
๑ ต.ค.๒๕๕๑
๑๑ ธ.ค.๒๕๕๑
ปฏิบัติการ
๑ ต.ค.๒๕๕๓
ปฏิบัติการ
๔ (ระดับ ๓ ครบ ๒ ปี)
๑ ต.ค.๒๕๕๔
ปฏิบัติการ
๔ (ระดับ ๔ ได้ ๑ ปี)
๑ ต.ค.๒๕๕๕
ปฏิบัติการ
๕ (ระดับ ๔ ครบ ๒ ปี)
๑.๒ กรณีเป็นตำแหน่งนอกระดับควบ : การรับโอนในตำแหน่งนอกระดับควบให้พิจารณาว่าบุคคลดังกล่าวดำรงตำแหน่งประเภทและระดับที่เทียบกับระดับตำแหน่งนอกระดับควบตามแนวทางหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นร ๑๐๐๖/ว ๑๒ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ซึ่งแบ่งเป็น ๒ กรณี คือ กรณีมิใช่ตำแหน่งเดียวกัน และกรณีตำแหน่งเดียวกัน (ตามบัญชีปรับปรุงสายงานของสำนักงาน ก.พ.)
- การรับโอนในตำแหน่งนอกระดับควบ กรณีมิใช่ตำแหน่งเดียวกัน ให้ตรวจสอบระยะเวลาดำรงตำแหน่งขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่ง โดยขอเทียบระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามแนวทางหนังสือสำนักงาน ก.จ.  ก.ท.และ ก.อบต. ที่ มท  ๐๘๐๙.๒/ว ๒๕ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๙
- การรับโอนในตำแหน่งนอกระดับควบ กรณีตำแหน่งเดียวกัน ให้ตรวจสอบระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งให้ครบตามเงื่อนเวลาที่กำหนด แต่หากผู้นั้นมีระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งนอกระดับควบขั้นสูง และท้องถิ่นประสงค์จะรับโอนมาดำรงตำแหน่งนอกระดับควบขั้นสูงจะต้องวิเคราะห์ตำแหน่งโดยแสดงปริมาณงานและคุณภาพงานที่เปลี่ยนแปลงจนถึงขนาดกำหนดตำแหน่งนอกระดับควบขั้นสูง โดยผู้นั้นจะต้องผ่านการประเมินบุคคล ผลการปฏิบัติงาน และผลงานจากหน่วยรับโอนเสนอ ก.จังหวัด พิจารณาเห็นชอบต่อไป
๑.๓ กรณีขอโอนตำแหน่งบริหารที่อาจเทียบได้รับ ระดับ ๖ หรือ ระดับ ๗
การพิจารณารับโอนข้าราชการประเภทอื่นมาดำรงตำแหน่งบริหาร ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรับโอนและแนวทางการพิจารรารับโอนตามหนังสือสำนักงาน ก.จ.ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๒๘๔ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ หนังสือสำนักงาน ก.ท.ด่วนที่สุดที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๑๘๙ ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ และหนังสือสำนักงาน ก.อบต.ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๒๖๙ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ และหนังสือสำนักงาน ก.ท.ที่ มท ๐๘๐๙.๒ / ๔๖๐๑ ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๓
การรับโอนข้าราชการประเภทอื่นซึ่งมีลักษณะงานเทียบเคียงได้กับตำแหน่งบริหารโดยมีหนังสือรับรองส่วนราชการต้นสังกัด อาจโอนมาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับ ๖ หรือระดับ ๗ ให้พิจารณาจากหนังสือรับรอง คำร้อง และความประสงค์ของหน่วยรับโอน ว่าจะรับโอนมาดำรงตำแหน่งในระดับใดเป็นสำคัญ ทั้งนี้ กรณีรับโอนมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองระดับ ๗ หรือเทียบเท่า ผู้นั้นจะต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเทียบเท่าระดับ ๖ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี
สำหรับการรับโอนมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วน หัวหน้าฝ่ายระดับ ๗ หรือเทียบเท่าบุคคลนั้นจะต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่เทียบเท่าระดับ ๖ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
ทั้งนี้ การรับโอนตำแหน่งบริหารให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการรับโอนโดยเคร่งครัดอาจมีผลกระทบต่อความก้าวหน้าในสายงานของพนักงานส่วนท้องถิ่นได้
๒.การเทียบอัตราเงินเดือน
ปัจจุบันอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการประเภทอื่น ที่มีบัญชีเงินเดือนแตกต่างจากข้าราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ให้พิจารราเทียบอัตราเงินเดือนกับบัญชีเงินเดือนของพนักงานส่วนท้องถิ่น ให้พิจารณาเทียบอัตราเงินเดือนกับบัญชีเงินเดือนของพนักงานส่วนท้องถิ่นในขั้นที่เทียบได้ไม่สูงกว่าเดิม และให้คำนึงถึงการปรับอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.ที่ มท ๐๘๐๙.๔/ว ๔๐ ลงวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๔
ประกอบกับเพื่อให้การเทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนกับพนักงานส่วนท้องถิ่นมีมาตรฐานเดียวกัน เห็นว่าแนวทางการเทียบตำแหน่งข้างต้นให้ใช้เป็นแนวทางพิจารณาร่วมกันทั้ง ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. จึงเห็นชอบให้จัดทำบัญชีกลุ่มตำแหน่งเดียวกัน โดยพิจารณาจากลักษณะงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งโดยยึดถือตามแนวทางปฏิบัติตามหนังสือสำนักงาน ก.จ.ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๒๘๔ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๒ หนังสือสำนักงาน ก.ท.ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๑๘๙ ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒ และหนังสือสำนักงาน ก.อบต. ๐๘๐๙.๒/ว ๒๖๙ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๒ รายละเอียดตามบัญชีการเทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนและข้าราชการประเภทอื่นกับพนักงานส่วนท้องถิ่น
บัญชีการเทียบตำแหน่งข้าราชการพลเรือนและข้าราชการประเภทอื่นกับพนักงานส่วนท้องถิ่น
(แจ้งตามมติ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕)
๑.ตำแหน่งสายงานเริ่มต้นจากระดับ ๓ และ ๔
ลำดับ
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนและข้าราชการประเภทอื่น
ตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.จ. ก.ท.และ ก.อบต.กำหนด
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
นักทรัพยากรบุคคล
บุคลากร
นักจัดการงานทั่วไป
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
นักวิชาการตรวจสอบภายใน
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน
นักประชาสัมพันธ์
นักวิชาการประชาสัมพันธ์
นักวิชาการพัฒนาชุมชน
นักพัฒนาชุมชน
นักวิชาการสาธารณสุข
นักวิชาการสุขาภิบาล
นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
นักวิชาการสาธารณสุข
๒.บัญชีตำแหน่งสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ และ ๒
ลำดับ
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนและข้าราชการประเภทอื่น
ตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.จ. ก.ท.และ ก.อบต.กำหนด
เจ้าพนักงานธุรการ
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
เจ้าหน้าที่ธุรการ
เจ้าพนักงานธุรการ
เจ้าพนักงานพัสดุ
เจ้าหน้าที่พัสดุ
เจ้าพนักงานพัสดุ
เจ้าพนักงานการคลัง
เจ้าหน้าที่การคลัง
เจ้าพนักงานการคลัง
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
เจ้าพนักงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์
เจ้าพนักงานการเกษตร
เจ้าหน้าที่การเกษตร
เจ้าพนักงานการเกษตร
พยาบาลเทคนิค
เจ้าหน้าที่พยาบาล
พยาบาลเทคนิค
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข
ทันตสาธารณสุข
เจ้าพนักงานเภสัชกรรม
ผู้ช่วยเภสัชกร
๑๐
เจ้าพนักงานสาธารณสุข
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ
เจ้าพนักงานส่งเสริมสุขภาพ
เจ้าหน้าที่สุขาภิบาล
เจ้าพนักงานสุขาภิบาล
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน
๑๑
โภชนาการ
โภชนาการ
เจ้าพนักงานโภชนาการ
๑๒
เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์
เจ้าหน้าที่เอกซ์เรย์
เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์
๑๓
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๑๔
นายช่างโยธา
ช่างโยธา
นายช่างโยธา
๑๕
นายช่างเขียนแบบ
ช่างเขียนแบบ
นายช่างเขียนแบบ
๑๖
นายช่างศิลป์
ช่างศิลป์
นายช่างศิลป์
๑๗
นายช่างสำรวจ
ช่างสำรวจ
นายช่างสำรวจ
๑๘
นายช่างเครื่องกล
ช่างเครื่องยนต์
นายช่างเครื่องยนต์
ช่างเครื่องกล
นายช่างเครื่องกล
๑๙
นายช่างไฟฟ้า
ช่างไฟฟ้า
นายช่างไฟฟ้า
๒๐
เจ้าพนักงานประปา
เจ้าหน้าที่การประปา
เจ้าพนักงานการประปา
๒๑
เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน
เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน
๒๒
เจ้าพนักงานการเกษตร
เจ้าหน้าที่การเกษตร
เจ้าพนักงานการเกษตร
๒๓
เจ้าพนักงานสัตวบาล
เจ้าหน้าที่สัตวบาล
เจ้าพนักงานสัตวบาล
๒๔
เจ้าพนักงานประมง
เจ้าหน้าที่ประมง
เจ้าพนักงานประมง
๒๕
เจ้าพนักงานห้องสมุด
เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
เจ้าพนักงานห้องสมุด

ความคิดเห็น

  1. แล้วผู้ที่โอนมาก่อนแนวทางนี้คลอด จะเยียวยาอย่างไรครับท่าน เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง บรรจุ พฤษภาคม ๕๐ เข้าแท่ง ธันวาคม ๕๑ โอนมาท้องถิ่นเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ (บรรจุ ๔ ปี)ในระดับ ซี ๓ ซึ่งตามแนวทางการเทียบตำแหน่ง ฯ ต้องอยู่ซี ๕

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ4 กันยายน 2555 เวลา 13:07

    แล้ว วุฒิ ศศบ.นับว่าเป็นวุฒิทางกาารศึกษาใช่หรือไม่คะ ถ้าใช่จะได้เรียนแค่ ป.วิชาชีพค่ะ

    ตอบลบ
  3. ตำแหน่งทุกตำแหน่งมีวุฒิการศึกษา มีมาตรฐานต่างกัน คนคิดระบบควรมีคณะอาจารย์จากมหาวิทยาเป็นผู้ร่วมคิด เทียบจะเป็นธรรมกับข้าราชการอย่างพวกเรา มีตัวชี้วัดความรับผิดชอบ ความยากง่ายในการทำงาน มาประกอบกัน จะทำไรต้องมีข้อมูล

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาและการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับทุนการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรีจะต้อง - ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุนการศึกษา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -ให้พิจารณาในสัดส่วนของผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายละเท่าๆกัน และสามารถเฉลี่ยสัดส่วนกันได้ -สามารถเฉลี่ยจำนวนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ก็สามารถทำได้ แต่ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต้องไม่เกินจำนวนที่สามารถตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร ๒.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสิทธิรับทุนการศึกษา สามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดเป็นคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในทุกตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และ อบต.)กำหนด ๓.สาขาที่เข้าศึกษาควรเป็นหลักสูตรพิเศษที่ใช้เวลาการศึกษานอกเวลาราชการ ๔.ระหว่างการศึกษาโดยได้รับทุนก

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ