ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กำหนดเงื่อนไขและวิธีการกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับพนักงานเทศบาลเป็นกรณีพิเศษ




 ประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด......................
เรื่อง กำหนดเงื่อนไขและวิธีการกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่น
สำหรับพนักงานเทศบาลเป็นกรณีพิเศษ
...............................................
อาศัยอำนาจตามประกาศในมาตรา ๑๓ () และมาตรา ๒๓ วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ..๒๕๔๒ ประกอบกับข้อ ๓๕ ของประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด...................... เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล ลงวันที่ …………………. มติคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ในการประชุมครั้งที่………….. เมื่อวันที่ …………………. และมติคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด...................... ในการประชุมครั้งที่ …….. เมื่อวันที่ …………… ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด...................... เรื่อง กำหนดเงื่อนไขและวิธีการกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นแก่พนักงานเทศบาลเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ …………..และออกประกาศกำหนดเงื่อนไขและวิธีการกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับพนักงานเทศบาลเป็นกรณีพิเศษ ดังนี้
ให้เทศบาลที่บริหารจัดการการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับพนักงานและลูกจ้างได้ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ..๒๕๔๒ และได้บริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถเสนอขอรับการประเมินเพื่อกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษสำหรับพนักงานและลูกจ้างของเทศบาลได้ตามเงื่อนไขและวิธีการ ดังนี้
. คุณสมบัติของเทศบาลที่มีสิทธิขอรับการประเมิน
เทศบาลที่ผ่านการประเมินการบริหารจัดการที่ดีของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในปีงบประมาณที่แล้วมาโดยได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ และมีวงเงินคงเหลือจากค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นยังไม่ถึงร้อยละ ๔๐ ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ขอรับการประเมิน
. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน
.ขั้นตอนและวิธีการประเมิน
                        () ภายในเดือนตุลาคมของทุกปีให้เทศบาลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ ๑. ทุกแห่ง เสนอขอรับการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการเพื่อกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษสำหรับพนักงานและลูกจ้างต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (...) เพื่อรับทราบการประเมิน กรณีเทศบาลตามข้อ ๑ แห่งใดมีวงเงินคงเหลือไม่เพียงพอแก่การจัดประโยชน์ ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ ให้เสนอเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่อาจขอรับการประเมินให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาล ทราบด้วย
                        () ให้เทศบาลที่ขอรับการประเมินตามข้อ () ดำเนินการตามแบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๘ เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ ๑ พฤศจิกายนของปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินเป็นต้นไป แล้วดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการตามมิติที่ ๒ โดยให้หน่วยงานหรือสถาบันที่เป็นกลางทำการสำรวจ และรายงานผลการ ปฏิบัติงานตามมิติและตัวชี้วัด เสนอคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเพื่อให้คณะอนุกรรมการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการในระดับอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลแต่งตั้งไปทำการประเมินผลการปฏิบัติงาน
                        () ให้คณะอนุกรรมการประเมินตามข้อ ๒ รายงานและเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมิน
                        .คณะอนุกรรมการประเมิน
                        ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาล แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการของเทศบาลในระดับอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ประกอบด้วย
                        () กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ๑ คน ที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลคัดเลือก เป็นประธาน
                        () กรรมการผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในคณะกรรมการพนักงาน เทศบาล ๑ คน ที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลคัดเลือก เป็นอนุกรรมการ
                        () ผู้แทนส่วนราชการ ๑ คน เป็นอนุกรรมการ
                        () ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา ๒ คน ที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาล คัดเลือก เป็นอนุกรรมการ
                        () ท้องถิ่นจังหวัดหรือผู้แทน ๑ คน เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
                        ให้คณะอนุกรรมการนี้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการของเทศบาลตามมิติ ตัวชี้วัด และเกณฑ์คะแนนประเมินแล้วรายงานผลการประเมินให้ คณะกรรมการพนักงานเทศบาล เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมิน
                        .มิติการประเมินและตัวชี้วัด (๑๐๐ คะแนน)
                        () มิติ ตัวชี้วัด และคะแนนประเมิน (๘๐ คะแนน) ประกอบด้วย
มิติการประเมินและตัวชี้วัด
คะแนนเต็ม
มิติที่ ๑ มิติด้านประสิทธิผลตามแผนพัฒนาของเทศบาล
[]ผลสำเร็จตามแผนพัฒนาสามปีของเทศบาล
๑๕
มิติที่ ๒ มิติด้านคุณภาพการให้บริการ
[]คุณภาพการให้บริการ
[]การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
๒๕
มิติที่ ๓ มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ
[]การบริหารงบประมาณ
[]การประหยัดพลังงาน
[]ความประหยัดและคุ้มค่าในการบริหารจัดการโครงการหรืองานประจำ
[]ประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ
๒๐
มิติที่ ๔ มิติด้านการพัฒนาองค์กร
[]การจัดการสารสนเทศ
[]การพัฒนาบุคลากร
[]การพัฒนากฎหมาย
[]การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายการประเมินตามหลักเกณฑ์นี้
จากระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล
[]การให้เทศบาลเสนอโครงการ/กิจกรรมปรับปรุงกระบวนการทำงาน หรือลดขั้นตอนการทำงานหรือการบริการและตอบสนองความต้องการของประชาชน ๑ โครงการ/กิจกรรม
๒๐
                        รายละเอียดการประเมินตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้
                        () คะแนนตามสัดส่วนของผลคะแนนประเมินการบริหารจัดการที่ดีในปีที่ผ่านมา
(๒๐ คะแนน) โดยให้ได้รับคะแนนประเมินตามสัดส่วน ดังนี้
คะแนนประเมินการบริหารจัดการที่ดี
คะแนนที่ได้
-มากกว่า ๘๐ คะแนนขึ้นไป
๒๐
-มากกว่า ๗๕ - ๘๐ คะแนน
๑๘
-มากกว่า ๗๐ - ๗๕ คะแนน
๑๖
-มากกว่า ๖๕ - ๗๐ คะแนน
๑๔
-ตั้งแต่ ๖๐ - ๖๕ คะแนน
๑๒







 โดยเทศบาลที่ผ่านการประเมินต้องได้รับคะแนนรวมตาม () และ () รวมกันแล้ว
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕
            . วงเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ

            .การกำหนดวงเงิน
                        () ให้เทศบาลที่ได้รับความเห็นชอบการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาล แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินประโยชน์ ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีเป็นประธาน ปลัดเทศบาลและหัวหน้าส่วนราชการ เป็นกรรมการ โดยนำเงินส่วนที่เหลือจากกรณีค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นไม่สูงกว่าร้อยละ ๔๐ ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ขอรับการประเมินมาจัดสรรจ่ายเป็นประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษได้ในจำนวนเงินตามผลคะแนนประเมินที่ได้รับโดยคิดคำนวณ ดังนี้
วงเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ = (วงเงิน ๔๐ % ที่คงเหลือ) X (ผลคะแนนประเมิน)
                                                                                  ๑๐๐
ทั้งนี้ ให้จ่ายจากเงินรายได้ที่ไม่รวมถึงเงินอุดหนุนและเงินกู้หรือเงินอื่นใด
                        () อัตราเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษที่พนักงาน ลูกจ้างประจำ หรือพนักงานจ้างได้รับต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดตามสัดส่วนผลคะแนนประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาล ดังนี้
                                    (.) คะแนนประเมินตั้งแต่ ๗๕ คะแนน มีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษไม่เกิน ๓ เท่าของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือค่าตอบแทน
                                    (.) คะแนนประเมินตั้งแต่ ๙๕ คะแนนขึ้นไปและมีวงเงินคงเหลือจากกรณีค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นเพียงพอ อาจเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล เพื่อให้มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษเกินกว่า ๓ เท่า แต่ไม่เกิน ๕ เท่าของอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือค่าตอบแทน
                                    โดยใช้ฐานอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือค่าตอบแทน ณ วันที่ ๑ ตุลาคมของปีที่ขอรับการประเมิน
            .การพิจารณาจ่ายเงิน
                        () ให้คณะกรรมการตามข้อ ๓.๑ พิจารณาจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส โดยให้พิจารณาจ่ายตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ .๑ ลดหลั่นกันตามผลการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำปีทั้งปีของพนักงานหรือลูกจ้างประจำหรือพนักงานจ้าง หรือตามผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานประจำปีทั้งปีของพนักงานจ้างทั่วไปในปีที่ขอรับการประเมิน แล้วจัดทำบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรมการตามข้อ ๓.๑ และรวบรวมเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อตรวจสอบกรณีที่มีการกล่าวหาว่ามีการทุจริตหรือเรียกรับผลประโยชน์ในการกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ
                        () ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ ได้แก่
                                    (.) พนักงานหรือลูกจ้างประจำที่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างในปีงบประมาณที่ขอรับการประเมินทั้งปี รวม ๒ ครั้ง (๑ เมษายน และ ๑ ตุลาคม) ไม่น้อยกว่า ๑ ขั้น สำหรับพนักงานหรือลูกจ้างประจำผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่งให้นำการได้รับเงินตอบแทนพิเศษครึ่งขั้น (ร้อยละ ๒) และหนึ่งขั้น (ร้อยละ ๔) ในปีงบประมาณนั้นมารวมเพื่อประกอบการพิจารณาเช่นเดียวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำปีด้วย
                        กรณีตามวรรคหนึ่งหากพนักงานครูผู้ใดที่ไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนในครั้งที่ ๒ (๑ ตุลาคม ) ด้วยเหตุที่เงินที่ใช้ในการเลื่อนขั้นเงินเดือนร้อยละ ๖ ไม่เพียงพอ อันเนื่องมาจากการปรับอัตราเงินเดือนตามนัยพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๔ และพระราชกฤษฎีกาการปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๔ และมีผลการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลการปฏิบัติราชการในครั้งที่ ๒  (๑ ตุลาคม) ถึงขั้นที่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ถือว่าผู้นั้นได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนไม่ต่ำกว่า ๐.๕ ขั้น โดยรวมกับผลการเลื่อนขั้นเงินเดือนมนครั้งที่ ๑ (๑ เมษายน) แล้วไม่น้อยกว่า ๑ ขั้น[1]
                        (.) พนักงานจ้างที่ได้รับการเลื่อนขั้นค่าตอบแทนในปีงบประมาณนั้น (๑ ครั้ง)ไม่น้อยกว่า ๑ ขั้น
                        (.) พนักงานจ้างทั่วไปที่ผ่านการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติงานในปีงบประมาณนั้นทั้งปี (รวม ๒ ครั้ง) ในระดับดีขึ้นไป
                        ทั้งนี้ ให้รวมถึงพนักงาน ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างของเทศบาลที่รับเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากงบประมาณเงินอุดหนุนของรัฐบาลด้วย
            () ให้นายกเทศมนตรีออกคำสั่งการให้ได้รับเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ แล้วรายงานคณะกรรมการพนักงานเทศบาลเพื่อทราบ
. ให้เงื่อนไขและวิธีการตามประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ..๒๕๔๙
เป็นต้นไป
                                    ประกาศ ณ วันที่ ...........เมษายน พ.. ๒๕๔๙
.....................................
(.................................)
ผู้ว่าราชการจังหวัด......................
                                               ประธานกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด......................


[1] วรรค ๒ เพิ่มเติมตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง กำหนดเงื่อนไขและวิธีการกำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับพนักงานเทศบาลเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ ประกาศเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ ประกาศมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเทียบหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูง

ข้อหารือ 1.อบจ.สงขลา หารือว่ากรณีผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) จะถือเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูงที่ ก.จ.รับรอง หรือไม่ 2.นาย ส.รองปลัดเทศบาลนครสงขลา (นักบริหารงานเทศบาลระดับ 9) มีหนังสือขอให้พิจารณาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ ปลัด อบจ.ระดับ 9 โดยให้รองปลัดเทศบาลระดับ 9 ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้มีคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 คำวินิจฉัย 1.รับรองหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) เป็นหลักสูตรที่เป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 ได้ 2. กรณีนาย ส.นั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการคัดเลือก เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่ง ปลัด อบจ.ระดับ 9 ไม่ได้กำหนดให้ข้าราชการประเภทอื่น มาสมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับท่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้การรับโอนพนักงานเทศบาลมาดำรงตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระดับ 9 ผุ้นั้นต้องดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 9 ซึ่งเป็...

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู...

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ...