ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

การหารือเกี่ยวกับการเทียบระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง

คณะกรรมการพนักงานเทศบาล ได่้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 รับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.เทียบระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ที่มีมติว่า เพื่อให้การพิจารณานับระยะเวลาเกื้อกูลการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในกรณีที่ปฏิบัติงานจริง เหมือนหรือคล้ายคลึงกับลักษณะของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ครบตามระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งในสายงานตามคุณวุฒิของพนักงานเทศบาลเป็นไปด้วยความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ จึงควรกำหนดข้อแนะนำการเสนอเอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้นั้นได้ปฏิบัติในลักษณะงานที่จะย้าย โอน รับโอน หรือเลื่อนระดับจริง ดังนี้ 1.สำเนาทะเบียนประวัติการรับราชการทุกหน้า 2.หลักฐานการสำเร็จการศึกษาที่ตรงกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะย้าย โอน รับโอน หรือการเลื่อนระดับ 3.กรณีเป็นข้าราชการทหาร หรือตำรวจ จะต้องมีหนังสือเทียบการดำรงตำแหน่งข้าราชการทหาร หรือตำรวจ กับพนักงานเทศบาล ซึ่งออกโดยสำนักงาน ก.ท. 4.หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน ที่ต้นสังกัดเดิมได้ระบุระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับลักษณะงานในตำแหน่งที่จะย้าย โอน รับโอน หรือเ

การไม่สรรหาตำแหน่งสายงานนักบริหารที่ว่าง

คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.) ในคราวการประชุม ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 มีมติให้ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติให้ ก.จ.จ. , ก.ท.จ. และ ก.อบจ.จังหวัด ทุกแห่งถือปฏิบัติ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำกับกูแลในเรื่องการสรรหาตำแหน่งสายงานนักบริหารที่ว่างอย่างเคร่งครัด และซักซ้อมแนวทางการกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าวดังนี้ 1.การไม่สรรหาผู้ดำรงตำแหน่งสายงานนักบริหารที่ว่างหรือการละเลยเพิกเฉยการสรรหาตำแหน่งสายงานนักบริหาร ถือได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อใหเกิดความเสียหายต่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล จึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในฐานะผู้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะให้คำแนะนำแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นให้ดำเนินการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งสายงานบริหารตามประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว 2.กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดละเลยหรือละเว้นการสรรหาตำแหน่งนักบริหารที่ว่าง ก็ให้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเข้มงวด ทั้งนี้หากผู้เ

การกำหนดเลขที่ตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรม

คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2553 ได้พิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานทั่วไปการบริหารงานบุคคลครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเห็นว่าเพื่อให้เทศบาลสามารถสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรมได้ถูกต้องตามมาตรฐานทั่วไป และเพื่อประโยชน์ในการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับทีู่สูงขึ้นของบุคลากรทางการศึกษา จึงมีมติเห็นชอบดังนี้ รหัส 08 กลุ่มงานการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและกีฬา รหัส 0813 สายงาน วิชาการวัฒนธรรม ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรม ประเภทตำแหน่ง ทั่วไป กำหนดบัญชีกลุ่มตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกันและบัญชีงานที่เกี่ยวข้องกันตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.ที่ มท 0809.4/ว 54 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2545 ในกรณีบุคลากรทางการศึกษา สายงานที่เริ่มจากระดับ 3 กลุ่มที่ 6 ดังนี้ - สันทนาการ - นักวิชาการศึกษา - นักวิชาการวัฒนธรรม - บรรณารักษ์ ตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท.และ ก.อบต. ที่ มท 0809.9/ว 820 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2553 หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง การกำหนดเลขที่ตำแหน

มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอนฯลฯ

คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 11) พ.ศ.2533 โดยให้ยกเลิกข้อความในข้อ 29 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน "ข้อ 29 กรณีความปรากฎต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) ว่า มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อให้การบริหารงานของเทศบาล และการปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ระหว่างพนักงานเทศบาล ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน และไม่สามารถดำเนินการโอนพนักงานเทศบาลภายในจังหวัด ตามหลักความสมัครใจได้ให้ดำเนินการดังนี้ (1) ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาในการโอนย้าย ประกอบด้วย - รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ประธานอนุกรรมการ - ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) จำนวน 2 คน อนุกรรมการ - ผู้แทนนายกเทศมนตรีในคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) จำนวน 2 คน อนุกรรมการ -

ตารางการเทียบระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของพนักงานเทศบาล

1.กรณีเป็นตำแหน่งสายงานที่ ก.ท.กำหนด ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 และ 2 -เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 1.นักวิชาการสาธารณสุข 2.นักวิชาการสุขาภิบาล 3.นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เทียบได้ นับได้ไม่ก่อนวันที่ผู้นั้นได้รับคุณวุฒิปริญญาที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป โดยให้นับได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของระยะเวลาดังกล่าว ตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. , ก.ท.และ ก.อบต.ที่ มท 0809.2 / ว 33 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548 ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 2.กรณีเป็นตำแหน่งที่ ก.พ.หรือส่วนราชการอื่นกำหนด สายงานที่ ก.พ.หรือส่วนราชการอื่นกำหนด - เจ้าหน้าที่ปกครองฝพนักงานปกครอง ผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร สายงานที่ ก.ท.กำหนด - เจ้าหน้าที่ทะเบียน/เจ้าพนักงานทะเบียน เทียบได้ 100% ของระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามหนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต.ที่ มท 0809.2/ว 25 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2549 --------------------------------------------

หารือแนวทางการปฏิบัติการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่พนักงานตรวจโรคสัตว์

ข้อหารือ หารือแนวทางการปฏิบัติการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่พนักงานตรวจโรคสัตว์ - สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น หารือกรณีเทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดอุบลราชธานี ได้แต่งตั้งสัตวแพทย์ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอวารินชำราบ เป็นพนักงานตรวจโรคสัตว์ ปฏิบัติหน้าที่ตรวจโรคสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ของเอกชน จะสามารถเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่พนักงานตรวจโรคสัตว์ดังกล่าวได้หรือไม่ คำวินิจฉัย ประกาศ ก.ท. เรื่อง การกำหนดค่าตอบแทนข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างที่เทศบาล ขอยืมตัวมาช่วยปฏิบัติงานชั่วคราว ฉบับลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2548 นายอาวรณ์ฯจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับค่าตอบแทนตามประกาศนี้ ประกอบกับข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณานี้ปรากฏว่า การแต่งตั้งข้าราชการรายดังกล่าวมิได้เกิดจากการยืมตัวมาช่วยปฏิบัติงานชั่วคราว ตามประกาศหลักเกณฑ์การขอยืมตัวข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นมาช่วยปฏิบัติงานชั่วคราว ฉบับลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 ดังนั้น เทศบาลตำบลแสนสุข จึงไม่อาจจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานตรวจโรคสัตว์ตามที่หารือได้ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง ประกาศ ก.จ. ก.ท. และ ก

หารือแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ท.จ.

ข้อหารือ หารือแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู - กรณีการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู ที่มีกรรมการใน ก.ท.จ.หนองบัวลำภู บางส่วนไปที่เทศบาลเรียกให้นายกเทศมนตรี รองนายก เทศมนตรี ประธานสภาและสมาชิกสภา และพนักงานเทศบาล เข้าร่วมประชุมรับทราบนโยบายการบริหารงานบุคคล โดยไม่แจ้งหรือประสานให้เทศบาล ทราบ ทั้งที่บทบาทดังกล่าวควรเป็นของผู้บริหารเทศบาล จะกระทำได้หรือไม่ คำวินิจฉัย มีมติรับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.ด้านกฎหมาย ที่มีมติว่า ก.ท.จ. มีองค์ประกอบตามมาตรา 23 และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 13 ประกอบมาตรา 23 วรรคหก แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่จึงต้องกระทำในรูปของคณะกรรมการที่ครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนด การที่กลุ่มบุคคลได้เรียกนายเทศมนตรี,รองนายกเทศมนตรี ประธานสภา,สมาชิกสภาและพนักงานเทศบาลเข้าร่วมประชุมรับทราบนโยบายการบริหารงานบุคคล การดำเนินการ ของกลุ่มบุคคลคณะนี้ จึงมิใช่การดำเนินการของ ก.ท.จ. ตามองค์ประกอบที่ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดไว้ ประกอบกับไม่มีบทบัญญัติใดใน