ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หารือแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ท.จ.

ข้อหารือ

หารือแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู
- กรณีการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู ที่มีกรรมการใน ก.ท.จ.หนองบัวลำภู บางส่วนไปที่เทศบาลเรียกให้นายกเทศมนตรี รองนายก เทศมนตรี ประธานสภาและสมาชิกสภา และพนักงานเทศบาล เข้าร่วมประชุมรับทราบนโยบายการบริหารงานบุคคล โดยไม่แจ้งหรือประสานให้เทศบาล ทราบ ทั้งที่บทบาทดังกล่าวควรเป็นของผู้บริหารเทศบาล จะกระทำได้หรือไม่

คำวินิจฉัย


มีมติรับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.ด้านกฎหมาย ที่มีมติว่า ก.ท.จ. มีองค์ประกอบตามมาตรา 23 และมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 13 ประกอบมาตรา 23 วรรคหก แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่จึงต้องกระทำในรูปของคณะกรรมการที่ครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายกำหนด
การที่กลุ่มบุคคลได้เรียกนายเทศมนตรี,รองนายกเทศมนตรี ประธานสภา,สมาชิกสภาและพนักงานเทศบาลเข้าร่วมประชุมรับทราบนโยบายการบริหารงานบุคคล การดำเนินการ ของกลุ่มบุคคลคณะนี้ จึงมิใช่การดำเนินการของ ก.ท.จ. ตามองค์ประกอบที่ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดไว้ ประกอบกับไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ. ฉบับเดียวกันนี้ ที่ให้อำนาจหน้าที่ ก.ท.จ. ในการเรียกประชุมเทศบาลแห่งหนึ่งแห่งใดเพื่อรับทราบนโยบายการบริหารงานบุคคล ก.ท.จ. จึงไม่อาจเรียกประชุมได้ ดังนั้น การเรียกประชุมเพื่อรับทราบนโยบายการบริหารงานบุคคลโดยกลุ่มบุคคล จึงมิใช่การดำเนินการในอำนาจหน้าที่ของ ก.ท.จ.
สำหรับประเด็นที่ว่า มาตรา 13(5) ประกอบมาตรา 26 วรรคหก แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ที่กำหนดว่า คณะกรรมการพนักงานเทศบาล มีอำนาจหน้าที่กำกับ ดูแล ตรวจสอบ แนะนำและชี้แจง ส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่พนักงานเทศบาล มีขอบเขตเพียงใด พิจารณาแล้วเห็นว่า ก.ท.จ. มีอำนาจหน้าที่กำกับ ดูแล ตรวจสอบการบริหารงานบุคคลของเทศบาล ให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ของเทศบาล ตามที่ ก.ท.จ. กำหนดไว้ และต้องสอดคล้องกับมาตรฐานทั่วไปตามที่ ก.ท. กำหนดไว้เท่านั้น
กรณีการเรียกประชุมนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภา สมาชิกสภาและพนักงานเทศบาล เพื่อรับทราบนโยบายการบริหารงานบุคคล โดยไม่แจ้งหรือประสานให้เทศบาล ทราบ นั้น เห็นว่า การบริหารงานบุคคลภายในเทศบาล
เป็นอำนาจอิสระของเทศบาล ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด การบริหารงานบุคคลภายในเทศบาล จึงถือเป็นอำนาจหน้าที่ของเทศบาลโดยตรง ก.ท.จ. มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในเทศบาลสำหรับเทศบาลในเขตจังหวัด เพื่อให้เทศบาล นำไปปฏิบัติ หากกรณียังไม่พบว่า เทศบาล ปฏิบัติผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาลตามที่ ก.ท.จ. กำหนดไว้ ก.ท.จ. ไม่อาจใช้อำนาจกำกับ ดูแล ตรวจสอบกับเทศบาลกรณีนี้ได้ หากมีความจำเป็นจะต้องชี้แจงอันเป็นประโยชน์แก่พนักงานเทศบาล ก็อาจดำเนินการได้โดยการขอความร่วมมือเท่านั้น

หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง


ขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของคณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ด่วนที่สุด ที่ มท 0809.8/ว1092)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเทียบหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูง

ข้อหารือ 1.อบจ.สงขลา หารือว่ากรณีผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) จะถือเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูงที่ ก.จ.รับรอง หรือไม่ 2.นาย ส.รองปลัดเทศบาลนครสงขลา (นักบริหารงานเทศบาลระดับ 9) มีหนังสือขอให้พิจารณาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ ปลัด อบจ.ระดับ 9 โดยให้รองปลัดเทศบาลระดับ 9 ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้มีคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 คำวินิจฉัย 1.รับรองหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) เป็นหลักสูตรที่เป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 ได้ 2. กรณีนาย ส.นั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการคัดเลือก เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่ง ปลัด อบจ.ระดับ 9 ไม่ได้กำหนดให้ข้าราชการประเภทอื่น มาสมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับท่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้การรับโอนพนักงานเทศบาลมาดำรงตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระดับ 9 ผุ้นั้นต้องดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 9 ซึ่งเป็...

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู...

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ...