ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอนฯลฯ

คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 11) พ.ศ.2533 โดยให้ยกเลิกข้อความในข้อ 29 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน
"ข้อ 29 กรณีความปรากฎต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) ว่า มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อให้การบริหารงานของเทศบาล และการปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ระหว่างพนักงานเทศบาล ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน และไม่สามารถดำเนินการโอนพนักงานเทศบาลภายในจังหวัด ตามหลักความสมัครใจได้ให้ดำเนินการดังนี้
(1) ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาในการโอนย้าย ประกอบด้วย
- รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ประธานอนุกรรมการ
- ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) จำนวน 2 คน อนุกรรมการ
- ผู้แทนนายกเทศมนตรีในคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) จำนวน 2 คน อนุกรรมการ
- ผู้แทนพนักงานเทศบาล ในคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) จำนวน 2 คน อนุกรรมการ
- ท้องถิ่นจังหวัด อนุกรรมการและเลขานุการ
คณะอนุกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง สอบถามความเห็นของผู้บริหารท้องถิ่นและสรุปความเห็นตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาเสนอคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) ภายใน 45 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำสั่ง
(2) เมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) พิจารณาผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว หากปรากฎว่ามีเหตุผลความจำเป็นอันสมควร ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) มีมติให้พนักงานเทสบาลโอนไปสังกัดเทศบาลอื่นได้ เมื่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) มีมติเป็นประการใด ให้นายกเทศมนตรีที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามมตินั้น ภายใน 45 วัน
(3) มติคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) ตาม (2) ให้ถือเป็นที่สุด
ลงนามโดยนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ประกาศเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553

หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

การยกเลิกหลักเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อเปลี่ยนสายงานในตำแหน่งที่เริ่มต้นจากสายงานคุณวุฒิปริญญาตรี (มท 0809.2/ว66)


ประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้งฯ(มท 0809.2/ว 124)

ประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (มท 0809.2/ว123)

ประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง ฯ (มท 0809.2/ว117 ลว 17 ส.ค. 2550)

- สิ่งที่ส่งมาด้วย 3. ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกสำหรับพนักงานเทศบาล (เพิ่มเติม)

ประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การบรรจุแต่งตั้งทายาทของพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้ปฏิบัติราชการในพื้นที่พิเศษที่เสียชีวิต พ.ศ. 2550 (ด่วนที่สุด ที่ มท 0809.2/ว65)

การบรรจุแต่งตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการกอง/สำนักการศึกษาที่สรรหาตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. ด่วนที่สุด ที่ มท 0809.4/ว173 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2548

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อำนาจปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรี

หนังสือสำนักงาน ก.ท.ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๑๗๑ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔เรื่อง ขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของปลัดองค์กรปกครอองส่วนท้องถิ่นในการปฏิบัติหน้าที่นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีไม่มีนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ก.ท. ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๔ เมื่อวันที่  ๒๙ กันยายน ๒๕๕๔ ได้มีมติให้ถือปฏิบัติตามแนวทางของมติ ก.อบต.ในคราวการประชุมครั้งที่  ๕/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ให้ตอบข้อหารือของจังหวัดจันทบุรี กรณีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จะสามารถพิจารณากรณีโอน(ย้าย) พนักงานส่วนตำบลสายผู้ปฏิบัติได้หรือไม่ การใช้อำนาจของผู้ครองอำนาจชั่วคราวที่กฎหมายกำหนดให้ใช้เท่าที่จำเป็น เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป และไม่อาจกำหนดอำนาจที่แน่นอนได้  สำหรับขอบเขตของคำว่า เท่าที่จำเป็น   เห็นว่าเมื่อไม่ปรากฏนิยามของคำว่าเท่าที่จำเป็น ไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะจึงอาจพิจารณาเทียบเคียงความหมายของคำว่า จำเป็น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒  ที่อธิบายคุณลักษณะว่า “ต้องเป็นอย่างนั้น,ต้องทำ,ขาดไม่ได้” ดังนั้นการพิจารณ...

การเทียบหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูง

ข้อหารือ 1.อบจ.สงขลา หารือว่ากรณีผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) จะถือเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูงที่ ก.จ.รับรอง หรือไม่ 2.นาย ส.รองปลัดเทศบาลนครสงขลา (นักบริหารงานเทศบาลระดับ 9) มีหนังสือขอให้พิจารณาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ ปลัด อบจ.ระดับ 9 โดยให้รองปลัดเทศบาลระดับ 9 ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้มีคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 คำวินิจฉัย 1.รับรองหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) เป็นหลักสูตรที่เป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 ได้ 2. กรณีนาย ส.นั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการคัดเลือก เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่ง ปลัด อบจ.ระดับ 9 ไม่ได้กำหนดให้ข้าราชการประเภทอื่น มาสมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับท่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้การรับโอนพนักงานเทศบาลมาดำรงตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระดับ 9 ผุ้นั้นต้องดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 9 ซึ่งเป็...

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู...