ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

บัญชีกำหนดกลุ่มตำแหน่งพนักงานเทศบาลที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน

ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ และระดับ ๒ กลุ่มที่ ๑ กลุ่มงานปฏิบัติช่วยบริหารจัดการ ๑.เจ้าหน้าที่ธุรการ ๒.เจ้าพนักงานธุรการ ๓.เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ๔.เจ้าหน้าที่ทะเบียน ๕.เจ้าพนักงานทะเบียน ๖.เจ้าหน้าที่เทศกิจ ๗.เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๘.เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กลุ่มที่ ๒ กลุ่มการเงินและการคลัง ๑.เจ้าหน้าที่พัสดุ ๒.เจ้าพนักงานพัสดุ ๓.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ๔.เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ๕.เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ ๖.เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ๗.เจ้าหน้าที่การคลัง ๘.เจ้าพนักงานการคลัง กลุ่มที่ ๓ กลุ่มงานสาธารณสุข ๑.เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ๒.เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ ๓.เจ้าพนักงานส่งเสริมสุขภาพ ๔.เจ้าหน้าที่สุขาภิบาล ๕.เจ้าพนักงานสุขาภิบาล ๖.เจ้าหน้าที่พยาบาล ๗.พยาบาลเทคนิค ๘.เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ ๙.เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ ๑๐.ทันตสาธารณสุข ๑๑.ทันตานามัย ๑๒.เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๑๓.เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ๑๔.เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค ๑๕.ผดุงครรภ์สาธารณสุข ๑๖.โภชนาการ ๑๗.เจ้าพนักงานโภชนาการ ๑๘.เจ้าห

การบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูล

ข้อหารือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหารือกรณีการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หลังวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกับตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ จะมีผลประการใด ข้อวินิจฉัย ๑.ในการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งใดภายหลังวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ให้บรรจุแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น หรือในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน สำหรับกรณีข้อหารือที่บรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งอื่นซึ่ีงมิใช่เป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน พิจารณาได้ว่า การบรรจุและแต่งตั้งไม่ถูกต้องมีผลให้ออกจากราชการโดยพลัน มี ๒ กรณี คือ (๑) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามเบื้องต้น หรือ (๒) ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง เมื่อผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้งมีคุณสมบัติทั่วไปครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามรวมถึงมีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง หากแต่เป็นการบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่มิได้เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน อันเป็นผลให้บุคคลนั้นบรรจุแต่งตั้งไม่ถูกต้องนั้น ยังมิได้กำหนดผลว่าจะต้องออกจากราชการโดยพลันไว้แต่อย่างใด จึงอาจนำความตา

การหารือเกี่ยวกับการเทียบระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง

คณะกรรมการพนักงานเทศบาล ได่้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 รับทราบผลการพิจารณาของ อ.ก.ท.เทียบระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ที่มีมติว่า เพื่อให้การพิจารณานับระยะเวลาเกื้อกูลการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในกรณีที่ปฏิบัติงานจริง เหมือนหรือคล้ายคลึงกับลักษณะของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง ครบตามระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานที่จะแต่งตั้งในสายงานตามคุณวุฒิของพนักงานเทศบาลเป็นไปด้วยความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ จึงควรกำหนดข้อแนะนำการเสนอเอกสารหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้นั้นได้ปฏิบัติในลักษณะงานที่จะย้าย โอน รับโอน หรือเลื่อนระดับจริง ดังนี้ 1.สำเนาทะเบียนประวัติการรับราชการทุกหน้า 2.หลักฐานการสำเร็จการศึกษาที่ตรงกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่จะย้าย โอน รับโอน หรือการเลื่อนระดับ 3.กรณีเป็นข้าราชการทหาร หรือตำรวจ จะต้องมีหนังสือเทียบการดำรงตำแหน่งข้าราชการทหาร หรือตำรวจ กับพนักงานเทศบาล ซึ่งออกโดยสำนักงาน ก.ท. 4.หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน ที่ต้นสังกัดเดิมได้ระบุระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับลักษณะงานในตำแหน่งที่จะย้าย โอน รับโอน หรือเ

การไม่สรรหาตำแหน่งสายงานนักบริหารที่ว่าง

คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.) ในคราวการประชุม ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 มีมติให้ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติให้ ก.จ.จ. , ก.ท.จ. และ ก.อบจ.จังหวัด ทุกแห่งถือปฏิบัติ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำกับกูแลในเรื่องการสรรหาตำแหน่งสายงานนักบริหารที่ว่างอย่างเคร่งครัด และซักซ้อมแนวทางการกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าวดังนี้ 1.การไม่สรรหาผู้ดำรงตำแหน่งสายงานนักบริหารที่ว่างหรือการละเลยเพิกเฉยการสรรหาตำแหน่งสายงานนักบริหาร ถือได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อใหเกิดความเสียหายต่อการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล จึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในฐานะผู้กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะให้คำแนะนำแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นให้ดำเนินการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งสายงานบริหารตามประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว 2.กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดละเลยหรือละเว้นการสรรหาตำแหน่งนักบริหารที่ว่าง ก็ให้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเข้มงวด ทั้งนี้หากผู้เ

การกำหนดเลขที่ตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรม

คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2553 ได้พิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานทั่วไปการบริหารงานบุคคลครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเห็นว่าเพื่อให้เทศบาลสามารถสรรหาและบรรจุแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรมได้ถูกต้องตามมาตรฐานทั่วไป และเพื่อประโยชน์ในการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับทีู่สูงขึ้นของบุคลากรทางการศึกษา จึงมีมติเห็นชอบดังนี้ รหัส 08 กลุ่มงานการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและกีฬา รหัส 0813 สายงาน วิชาการวัฒนธรรม ชื่อตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรม ประเภทตำแหน่ง ทั่วไป กำหนดบัญชีกลุ่มตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกันและบัญชีงานที่เกี่ยวข้องกันตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.ที่ มท 0809.4/ว 54 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2545 ในกรณีบุคลากรทางการศึกษา สายงานที่เริ่มจากระดับ 3 กลุ่มที่ 6 ดังนี้ - สันทนาการ - นักวิชาการศึกษา - นักวิชาการวัฒนธรรม - บรรณารักษ์ ตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท.และ ก.อบต. ที่ มท 0809.9/ว 820 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2553 หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง การกำหนดเลขที่ตำแหน

มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอนฯลฯ

คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 11) พ.ศ.2533 โดยให้ยกเลิกข้อความในข้อ 29 และให้ใช้ข้อความดังต่อไปนี้แทน "ข้อ 29 กรณีความปรากฎต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) ว่า มีเหตุผลและความจำเป็น เพื่อให้การบริหารงานของเทศบาล และการปฏิบัติราชการของพนักงานเทศบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ระหว่างพนักงานเทศบาล ผู้บริหาร ผู้นำชุมชน และไม่สามารถดำเนินการโอนพนักงานเทศบาลภายในจังหวัด ตามหลักความสมัครใจได้ให้ดำเนินการดังนี้ (1) ให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาในการโอนย้าย ประกอบด้วย - รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ประธานอนุกรรมการ - ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) จำนวน 2 คน อนุกรรมการ - ผู้แทนนายกเทศมนตรีในคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) จำนวน 2 คน อนุกรรมการ -

ตารางการเทียบระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของพนักงานเทศบาล

1.กรณีเป็นตำแหน่งสายงานที่ ก.ท.กำหนด ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 และ 2 -เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 1.นักวิชาการสาธารณสุข 2.นักวิชาการสุขาภิบาล 3.นักวิชาการสิ่งแวดล้อม เทียบได้ นับได้ไม่ก่อนวันที่ผู้นั้นได้รับคุณวุฒิปริญญาที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป โดยให้นับได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของระยะเวลาดังกล่าว ตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. , ก.ท.และ ก.อบต.ที่ มท 0809.2 / ว 33 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548 ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 2.กรณีเป็นตำแหน่งที่ ก.พ.หรือส่วนราชการอื่นกำหนด สายงานที่ ก.พ.หรือส่วนราชการอื่นกำหนด - เจ้าหน้าที่ปกครองฝพนักงานปกครอง ผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร สายงานที่ ก.ท.กำหนด - เจ้าหน้าที่ทะเบียน/เจ้าพนักงานทะเบียน เทียบได้ 100% ของระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามหนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต.ที่ มท 0809.2/ว 25 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2549 --------------------------------------------