ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บัญชีกำหนดกลุ่มตำแหน่งพนักงานเทศบาลที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน

ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๑ และระดับ ๒

กลุ่มที่ ๑ กลุ่มงานปฏิบัติช่วยบริหารจัดการ

๑.เจ้าหน้าที่ธุรการ
๒.เจ้าพนักงานธุรการ
๓.เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
๔.เจ้าหน้าที่ทะเบียน
๕.เจ้าพนักงานทะเบียน
๖.เจ้าหน้าที่เทศกิจ
๗.เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
๘.เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

กลุ่มที่ ๒ กลุ่มการเงินและการคลัง

๑.เจ้าหน้าที่พัสดุ
๒.เจ้าพนักงานพัสดุ
๓.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
๔.เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
๕.เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้
๖.เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
๗.เจ้าหน้าที่การคลัง
๘.เจ้าพนักงานการคลัง

กลุ่มที่ ๓ กลุ่มงานสาธารณสุข

๑.เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน
๒.เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ
๓.เจ้าพนักงานส่งเสริมสุขภาพ
๔.เจ้าหน้าที่สุขาภิบาล
๕.เจ้าพนักงานสุขาภิบาล
๖.เจ้าหน้าที่พยาบาล
๗.พยาบาลเทคนิค
๘.เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์
๙.เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์
๑๐.ทันตสาธารณสุข
๑๑.ทันตานามัย
๑๒.เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์
๑๓.เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
๑๔.เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค
๑๕.ผดุงครรภ์สาธารณสุข
๑๖.โภชนาการ
๑๗.เจ้าพนักงานโภชนาการ
๑๘.เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์

กลุ่มที่ ๔ กลุ่มงานช่าง

๑.ช่างโยธา
๒.นายช่างโยธา
๓.ช่างสำรวจ
๔.นายช่างสำรวจ
๕.ช่างเขียนแบบ
๖.นายช่างเขียนแบบ
๗.ช่างผังเมือง
๘.นายช่างผังเมือง
๙.ช่างเครื่องยนต์
๑๐.นายช่างเครื่องยนต์
๑๑.ช่างไฟฟ้า
๑๒.นายช่างไฟฟ้า

กลุ่มที่ ๕ กลุ่มงานเยาวชนและงานห้องสมุด

๑.เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
๒.เจ้าพนักงานห้องสมุด
๓.เจ้าหน้าที่ศูนย์เยาวชน
๔.เจ้าพนักงานศูนย์เยาวชน
๕.เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน
๖.เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน

กลุ่มที่ ๖ กลุ่มงานเภสัชกร

๑.ผู้ช่วยเภสัชกร

กลุ่มที่ ๗ กลุ่มงานสัตวแพทย์

๑.สัตวแพทย์

กลุ่มที่ ๘ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์

๑.เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว
๒.เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว
๓.เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
๔.เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์
๕.ช่างภาพ
๖.นายช่างภาพ
๗.ช่างศิลป์
๘.นายช่างศิลป์

กลุ่มงานที่ ๙ กลุ่มงานสวนสาธารณะ

๑.เจ้าหน้าที่สวนสาธารณะ
๒.เจ้าพนักงานสวนสาธารณะ

กลุ่มงานที่ ๑๐ กลุ่มงานประปา

๑.เจ้าหน้าที่การประปา
๒.เจ้าพนักงานประปา

ตำแหน่งในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓

กลุ่มที่ ๑

๑.บุคลากร
๒.เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
๓.เจ้าหน้าที่บริหารงานทะเบียนและบัตร
๔.เจ้าพนักงานเทศกิจ
๕.นักวิจัยการจราจร
*** ๖.นักทรัพยากรบุคคล (ของข้าราชการพลเรือนที่โอนมา)

กลุ่มที่ ๒

๑.นักวิชาการคลัง
๒.นักวิชาการการเงินและบัญชี
๓.นักวิชาการจัดเก็บรายได้
๔.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน
๕.นักวิชาการพัสดุ

กลุ่มที่ ๓

๑.นักพัฒนาชุมชน
๒.นักสังคมสงเคราะห์

กลุ่มที่ ๔

๑.เจ้าหน้าที่พัฒนาการท่องเที่ยว
๒.นักวิชาการประชาสัมพันธ์

กลุ่มที่ ๕

๑.นิติกร

กลุ่มที่ ๖

*๑.เจ้าหน้าที่สันทนาการ(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น สันทนาการ)
*๒.สารวัตรนักเรียน (ตำแหน่งนี้ยกเลิกแล้ว)
๓.นักวิชาการศึกษา
๔.บรรณรักษ์
**๕.นักวิชาการวัฒนธรรม(เพิ่มใหม่)

กลุ่มที่ ๗

๑.นักวิชาการสวนสาธารณะ

ใช้ในกรณีดังต่อไปนี้

๑.ใช้เป็นแนวทางในการเลื่อนระดับ การย้าย หรือรับโอน เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง กรณีมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งกำหนดให้เป็นผู้ปฏิบัติหรือเคยปฎิบัติราชการเกี่ยวกับงานที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
มีผลตั้งแต่วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๕

๒.เพื่อประโยชน์ในการเลื่อนและแต่งตั้งในตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์(เลื่อนไหล) โดยการนำระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งในสายงานอื่นที่เริ่มต้นจากระดับเดียวกัน ซึ่งมีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันมานับรวมเป็นระยะเวลาขั้นต่ำ เพื่อประโยชน์ในการเลื่อนและแต่งตั้งในตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นได้
มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๕


มติคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการกำหนดตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องเกื้อกูลกันของพนักงานเทศบาล

หนังสือสำนักงาน ก.ท. ที่ มท ๐๘๐๙.๕/ว ๓๑๒ ลงวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เรื่อง การกำหนดตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูล แจ้งมติคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) ในการประชุม ครั้งที่ ๘/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๓ ดังนี้

   ๑.กรณีเทศบาลได้รับความเห็นชอบจาก ก.ท.จ.ให้นำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปของ ก.จ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม หาก ก.จ.กำหนดตำแหน่งดังกล่าวเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับตำแหน่งใด ก็ถือว่าเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับตำแหน่งของเทศบาลตามที่ ก.ท.กำหนดไว้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเลื่อนระดับและบรรจุแต่งตั้ง
   ๒.กรณีเทศบาลได้รับความเห็นชอบจาก ก.ท.จ. ให้นำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในสายงานอื่นของ ก.จ.หรือ ก.อบต. มาใช้บังคับโดยอนุโลม หาก ก.จ.หรือ ก.อบต.กำหนดตำแหน่งดังกล่าวเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับตำแหน่งใด ก็ถือว่าเป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับตำแหน่งของเทศบาลตามที่ ก.ท.กำหนดไว้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเลื่อนระดับและบรรจุแต่งตั้ง

มติ ก.จ.กำหนดลักษณะงานที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ ๓ กลุ่มที่ ๑ ดังนี้
    ๑.เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
    ๒.เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
    ๓.บุคลากร


       ความว่า ก.พ. ได้ยกเลิกตำแหน่ง บุคลากร ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ และได้กำหนดเปลี่ยนเป็นตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคล ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑  โดยที่ลักษณะของนักทรัพยากรบุคคลมีลักษณะงานที่เหมือนกับหรือคล้ายคลึงกับตำแหน่งบุคลากร ดังนั้นจึงเห็นควรกำหนดให้ตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องและเกื้อกูลกับตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทะเบียนและบัตรและตำแหน่งอื่นในกลุ่มเดียวกัน ตามมติ กท.ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๕ และในการประชุมในครั้งที่ ๘/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ ซึ่งแจ้งตามหนังสือสำนักงาน ก.จ. ก.ท. ก.อบต.ที่ มท ๐๘๐๙.๑/ว ๕๔ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๔

หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดเลขที่ตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรม และการกำหนดบัญชีกลุ่มตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกัน และบัญชีงานที่เกี่ยวข้องกันตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (มท 0809.9/ว820)

หารือกรณีบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน (มท 0809.2/ว 93)

การกำหนดงานที่เกี่ยวข้องกันตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการกำหนดตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน(มท 0809.1/ว 54) [สิ่งที่ส่งมาด้วย]

ความคิดเห็น

  1. แสดงว่าตำแหน่งนายช่างไฟฟ้าโอนย้ายไปตำแหน่งนายช่างโยธาที่มีการรับโอนได้ใช่มั้ยคับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเทียบหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูง

ข้อหารือ 1.อบจ.สงขลา หารือว่ากรณีผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) จะถือเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูงที่ ก.จ.รับรอง หรือไม่ 2.นาย ส.รองปลัดเทศบาลนครสงขลา (นักบริหารงานเทศบาลระดับ 9) มีหนังสือขอให้พิจารณาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ ปลัด อบจ.ระดับ 9 โดยให้รองปลัดเทศบาลระดับ 9 ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้มีคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 คำวินิจฉัย 1.รับรองหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) เป็นหลักสูตรที่เป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 ได้ 2. กรณีนาย ส.นั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการคัดเลือก เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่ง ปลัด อบจ.ระดับ 9 ไม่ได้กำหนดให้ข้าราชการประเภทอื่น มาสมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับท่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้การรับโอนพนักงานเทศบาลมาดำรงตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระดับ 9 ผุ้นั้นต้องดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 9 ซึ่งเป็...

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู...

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ...