ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูล

ข้อหารือ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหารือกรณีการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หลังวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกับตำแหน่งที่สอบแข่งขันได้ จะมีผลประการใด

ข้อวินิจฉัย

๑.ในการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งใดภายหลังวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ให้บรรจุแต่งตั้งจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น หรือในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน สำหรับกรณีข้อหารือที่บรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งอื่นซึ่ีงมิใช่เป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน พิจารณาได้ว่า
การบรรจุและแต่งตั้งไม่ถูกต้องมีผลให้ออกจากราชการโดยพลัน มี ๒ กรณี คือ
(๑) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามเบื้องต้น หรือ
(๒) ขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
เมื่อผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้งมีคุณสมบัติทั่วไปครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามรวมถึงมีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง หากแต่เป็นการบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่มิได้เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน อันเป็นผลให้บุคคลนั้นบรรจุแต่งตั้งไม่ถูกต้องนั้น ยังมิได้กำหนดผลว่าจะต้องออกจากราชการโดยพลันไว้แต่อย่างใด จึงอาจนำความตามข้อ ๑๓๘ แห่งประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล (หลัักเกณฑ์ ก.ท.จ.) ซึ่งระบุว่าพนักงานเทศบาลผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใดแล้ว หากปรากฎภายหลังว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับตำแหน่งนั้น ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งผู้นั้นให้กลับไปดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งอื่นในระดับเดียวกันกับตำแหน่งเดิมโดยอนุโลม กล่าวคือ ให้นายกเทศมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) ออกคำสั่งย้ายไปดำรงำตแหน่งที่สอบแข่งขันได้หรือในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน โดยพิจารณาปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งในแผนอัตรากำลัง ๓ ปี ให้ถูกต้องเสียก่อน
๒.การกำหนดให้การบรรจุแต่งตั้งในกรณีที่ไม่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งที่ตรงกับตำแหน่งที่บรรจุแต่งตั้ง ให้พิจารณาจากตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกันนั้น เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันการทุจริตการสอบแข่งขัน และต้องการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้บรรจุแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถตรงตามตำแหน่งหรือในตำแหน่งที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกัน ดังนั้น การบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน จึงกำหนดให้มีผลออกจากราชการดดยพลันเช่นเดียวกับกรณีการมีลักษณะต้องห้ามหรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง มั้งนี้ ให้มีผลนับแต่วันที่คณะกรรมการพนักงานเทศบาล (ก.ท.จ.) ได้ประกาศหลักเกณฑ์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

หนังสือ สำนักงาน ก.ท.ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๙๓ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๐

หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดเลขที่ตำแหน่งนักวิชาการวัฒนธรรม และการกำหนดบัญชีกลุ่มตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องและเกื้อกูลกัน และบัญชีงานที่เกี่ยวข้องกันตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (มท 0809.9/ว820)

หารือกรณีบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน (มท 0809.2/ว 93)

การกำหนดงานที่เกี่ยวข้องกันตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและการกำหนดตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องเกื้อกูลกัน(มท 0809.1/ว 54) [สิ่งที่ส่งมาด้วย]

ความคิดเห็น

  1. อยากเปลี่ยนสายงานจากวิศวกร 7ว ไปเป็นหัวหน้าสำนักงาน 7 รองปลัดเทศบาล 6 ทำได้หรือไม่ มีวุฒิป.โท รัฐประศาสนศาตร์ การปกครองท้องถิ่น

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเทียบหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูง

ข้อหารือ 1.อบจ.สงขลา หารือว่ากรณีผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) จะถือเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูงที่ ก.จ.รับรอง หรือไม่ 2.นาย ส.รองปลัดเทศบาลนครสงขลา (นักบริหารงานเทศบาลระดับ 9) มีหนังสือขอให้พิจารณาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ ปลัด อบจ.ระดับ 9 โดยให้รองปลัดเทศบาลระดับ 9 ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้มีคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 คำวินิจฉัย 1.รับรองหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) เป็นหลักสูตรที่เป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 ได้ 2. กรณีนาย ส.นั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการคัดเลือก เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่ง ปลัด อบจ.ระดับ 9 ไม่ได้กำหนดให้ข้าราชการประเภทอื่น มาสมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับท่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้การรับโอนพนักงานเทศบาลมาดำรงตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระดับ 9 ผุ้นั้นต้องดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 9 ซึ่งเป็...

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู...

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ...