คดีหมายเลขแดงที่ อ.87/2553 คดีหมายเลขดำที่ อ.364/2550
ผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานเทศบาลสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม 7) เทศบาลนคร เชียงใหม่ ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง กรณีป่วยเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาล แต่เพื่อสร้างหลักฐานว่ามาปฏิบัติราชการจึงได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำสมุดลง ลายมือชื่อมาให้ผู้ฟ้องคดีลงนาม ณ สถานพยาบาล โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่ามีงานเร่งด่วนต้องปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากน้ำท่วมจึงต้องกระทำการเช่นนั้น เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีเองจะได้ไม่ต้องเสียวันลาซึ่งอาจมี ผลกระทบต่อการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ฟ้องคดี และในฐานะที่ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการระดับบริหารที่ต้องปกครองดูแลผู้ใต้ บังคับบัญชายิ่งเป็นการไม่สมควรที่จะประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ที่จะให้ผู้ใต้ บังคับบัญชาเอาเยี่ยงอย่าง นอกจากนี้ การที่ผู้ฟ้องคดีไม่ยื่นใบลาป่วยตามข้อ 17 วรรคหนึ่ง ของระเบียบ ก.ท. ว่าด้วยการลาของพนักงานเทศบาล พ.ศ. 2535 จึงเป็นกรณีที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติของทางราชการ และจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ก.ท. ดังกล่าว กรณีจึงถือ ได้ว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำผิดวินัยฐานไม่ถือและปฏิบัติตาม ระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการอันเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตาม มาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกับมาตรา 5 แห่ง พ.ร.ฎ. ระเบียบพนักงานเทศบาล พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ.ระเบียบพนักงานเทศบาล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2538 การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่) มีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดี ก็เป็นโทษสถานเบาอยู่แล้ว คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้เพิกถอนมติของผู้ถูก ฟ้องคดีที่ 2 (คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดเชียงใหม่) ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีอีกต่อไป
ผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานเทศบาลสามัญ ตำแหน่งผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม 7) เทศบาลนคร เชียงใหม่ ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง กรณีป่วยเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาล แต่เพื่อสร้างหลักฐานว่ามาปฏิบัติราชการจึงได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำสมุดลง ลายมือชื่อมาให้ผู้ฟ้องคดีลงนาม ณ สถานพยาบาล โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา การที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่ามีงานเร่งด่วนต้องปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากน้ำท่วมจึงต้องกระทำการเช่นนั้น เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ฟ้องคดีเองจะได้ไม่ต้องเสียวันลาซึ่งอาจมี ผลกระทบต่อการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้ฟ้องคดี และในฐานะที่ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการระดับบริหารที่ต้องปกครองดูแลผู้ใต้ บังคับบัญชายิ่งเป็นการไม่สมควรที่จะประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ที่จะให้ผู้ใต้ บังคับบัญชาเอาเยี่ยงอย่าง นอกจากนี้ การที่ผู้ฟ้องคดีไม่ยื่นใบลาป่วยตามข้อ 17 วรรคหนึ่ง ของระเบียบ ก.ท. ว่าด้วยการลาของพนักงานเทศบาล พ.ศ. 2535 จึงเป็นกรณีที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติของทางราชการ และจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ก.ท. ดังกล่าว กรณีจึงถือ ได้ว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นการกระทำผิดวินัยฐานไม่ถือและปฏิบัติตาม ระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการอันเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตาม มาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ประกอบกับมาตรา 5 แห่ง พ.ร.ฎ. ระเบียบพนักงานเทศบาล พ.ศ. 2519 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ.ระเบียบพนักงานเทศบาล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2538 การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่) มีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดี ก็เป็นโทษสถานเบาอยู่แล้ว คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้เพิกถอนมติของผู้ถูก ฟ้องคดีที่ 2 (คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดเชียงใหม่) ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีอีกต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น