ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คำสั่งทางปกครองต้องไม่มีผลย้อนหลัง

คดีหมายเลขแดงที่ อ.66/2553 คดีหมายเลขดำที่ อ.635/2550


ผู้ฟ้อง คดี (นายกเทศมนตรีตำบลหนองกี่) ได้ออกประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการและแต่งตั้ง เป็นพนักงานเทศบาลสามัญ ระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 ประจำปี พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.)) และ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดบุรีรัมย์) ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2547 โดยกำหนดรับสมัครสอบตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 6 มีนาคม 2549 และกำหนดสอบแข่งขันวันที่ 26 มีนาคม 2549 ในระหว่างนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการสอบแข่งขันใช้บัญชีเฉพาะองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ห้ามใช้บัญชีข้ามจังหวัด เว้นแต่กรณีที่ได้มีการประกาศ รับสมัครไว้ก่อนวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่หากยังไม่ถึงกำหนดวันสอบแข่งขัน ให้ประกาศเพิ่มเติมให้ผู้สมัครสอบแข่งขันทราบว่าไม่สามารถใช้บัญชีข้าม จังหวัดได้ โดยแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เร่งรัดให้เทศบาลตำบล หนองกี่ปฏิบัติตามมติ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยเคร่งครัดแต่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้แจ้งให้ผู้สมัครสอบแข่งขันทราบมติดังกล่าว หลังจากนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ออกประกาศยกเลิกหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันตามประกาศฉบับลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันใหม่ตามมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 โดยให้มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงมีประกาศลงวันที่ 11 เมษายน 2549 ยกเลิกประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วมีการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดังกล่าว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าประกาศดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงฟ้อง ศาลปกครองขอให้เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ลงวันที่ 11 เมษายน 2549 และคำสั่งแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงผู้ฟ้องคดี
โดยที่ ก.ท.จ. เป็นองค์กรซึ่งมีอำนาจโดยตรงในการกำหนดหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขในการคัดเลือกการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลตาม พ.ร.บ. ระเบียบ บริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ให้สอดคล้องกับความต้องการและความเหมาะสมของเทศบาลในเขตจังหวัด และภายใต้กรอบมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล (ก.ท.) กำหนด ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีอำนาจเพียงกำหนดมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลที่อยู่ในเขตจังหวัดของตน มาตรฐานทั่วไปที่ ก.ท. กำหนดขึ้น จึงมิได้มีผลใช้บังคับกับเทศบาลแต่ละแห่งโดยตรง เมื่อคดีนี้เทศบาลตำบลหนองกี่เป็นราชการ ส่วนท้องถิ่นมีฐานะเป็นนิติบุคคล การที่ผู้ฟ้องคดีได้ออกประกาศรับสมัครบุคคลสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง เป็นพนักงานเทศบาลฯ ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 จึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ ขึ้นระหว่างบุคคลอันเป็นคำสั่งทางปกครองประเภทคำสั่งทั่วไป และเป็นการปฏิบัติตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้นที่มีลักษณะเป็นกฎที่มีผลผูกพัน ให้เทศบาลตำบลหนองกี่ต้องปฏิบัติตาม ทั้งสอดคล้องกับมาตรฐานทั่วไปของประกาศของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกพนักงานเทศบาล ดังนั้น ประกาศรับสมัครดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย และมีตราบเท่าที่ ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่นตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน การที่ผู้ฟ้องคดีไม่จัดทำประกาศเพิ่มเติมแจ้งการไม่ใช้บัญชีข้ามจังหวัด และได้ดำเนินการสมัครสอบแข่งขันก่อนที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติ ให้ผู้ฟ้องคดีเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบแข่งขัน มติดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับใช้กับผู้ฟ้องคดี และการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีได้ ประกอบกับมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นเรื่องภายในของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ยังไม่มีสถานะและผลบังคับทางกฎหมายที่จะบังคับใช้กับ ก.ท.จ. รวมทั้งเทศบาลโดยตรงและไม่อาจนำมาใช้บังคับกับการสอบแข่งขันตามประกาศเทศบาลตำบลหนองกี่ เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานเทศบาล ระดับ 1 ระดับ 2 และระดับ 3 ประจำปี พ.ศ. 2549 ได้ แต่เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นำมติดังกล่าว ไปออกประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นพนักงานเทศบาล พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2549 ยกเลิกประกาศฉบับเดิม และให้มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 แจ้งให้ ก.ท.จ. ทุกแห่ง ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันพนักงานเทศบาลขึ้นใหม่ ในการนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ยังได้ออกประกาศลงวันที่ 11 เมษายน 2549 ยกเลิกประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัด บุรีรัมย์ฯ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2547 ซึ่งมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 แม้ว่าผู้ฟ้องคดีจะมิได้มีคำขอมาโดยชัดแจ้งให้ศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนด้วย ก็ตาม แต่พอจะอนุมานได้ว่า ผู้ฟ้องคดีมีคำขอมาโดยปริยายว่าขอให้ศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนประกาศฉบับใหม่ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ออกตามมติ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองออกประกาศมาเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เดิมภายหลังที่ ผู้ฟ้องคดีได้ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันแล้ว ประกาศดังกล่าว จึงมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลของผู้ฟ้องคดีซึ่งมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ต่อผู้สมัครสอบแข่งขันเป็นพนักงานเทศบาลตำบลหนองกี่ตามประกาศของผู้ฟ้องคดีลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศดังกล่าว
โดยที่ประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2549 เป็นมาตรฐานทั่วไปที่กำหนดขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จึงเป็นการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายที่มีลักษณะเป็นนิติกรรมทางปกครองที่ มีผลบังคับเป็นการทั่วไป จึงเป็นกฎ ซึ่งประกาศฉบับเดิมได้กำหนดให้มีการขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ของเทศบาลหนึ่ง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการอื่นได้ เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จะยกเลิกมาตรฐานทั่วไป ที่กำหนดไว้เดิมและจะกำหนดมาตรฐานทั่วไปขึ้นใหม่ที่มีสาระสำคัญแตกต่างไปจาก มาตรฐานเดิมในนัยที่สำคัญ ก็จะต้องกำหนดให้มีผลใช้บังคับในอนาคตตามหลักนิติกรรมทางปกครองไม่มีผลย้อน หลัง เพื่อให้ ก.ท.จ. ต่างๆ ได้มีเวลาดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ และให้เทศบาลต่างๆ รวมทั้งผู้ฟ้องคดีและผู้สมัครสอบแข่งขันได้มีโอกาสพิจารณาปรับตัว ให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่กำหนดขึ้นใหม่ ดังนั้น ประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองที่ให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังไปถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และไม่มีบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับการดำเนินการสอบแข่งขันที่ได้ดำเนินการมาโดย ถูกต้องตามมาตรฐานทั่วไปและหลักเกณฑ์ ที่ใช้บังคับอยู่เดิม จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาและการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับทุนการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรีจะต้อง - ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุนการศึกษา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -ให้พิจารณาในสัดส่วนของผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายละเท่าๆกัน และสามารถเฉลี่ยสัดส่วนกันได้ -สามารถเฉลี่ยจำนวนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ก็สามารถทำได้ แต่ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต้องไม่เกินจำนวนที่สามารถตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร ๒.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสิทธิรับทุนการศึกษา สามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดเป็นคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในทุกตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และ อบต.)กำหนด ๓.สาขาที่เข้าศึกษาควรเป็นหลักสูตรพิเศษที่ใช้เวลาการศึกษานอกเวลาราชการ ๔.ระหว่างการศึกษาโดยได้รับทุนก

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ