ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อำนาจในการฟ้องคดี

คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๔๔๖/๒๕๔๘

นายสมบัติ ธมาภรณ์ ผู้ฟ้องคดี

คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล จังหวัดสระบุรี ผู้ถูกฟ้องคดี

เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ (มาตรา ๔๒)

ผู้ฟ้องคดีรายงานตัวเพื่อรับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่าง ระดับ ๒ ตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดี พร้อมยื่นหนังสือขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอนที่มีสาระสำคัญในการขอใช้บัญชีผู้ผ่านการสอบตามบัญชีของผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อบรรจุแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่าง ระดับ ๒ ในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบล
โคกขี้หนอนต่อผู้ถูกฟ้องคดี แต่กรรมการพนักงานส่วนตำบล จังหวัดสระบุรี ได้ปฏิเสธการขอใช้บัญชีดังกล่าว ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันในการบริหารงานบุคคลที่จะต้องว่ากล่าวต่อกัน ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการปฏิเสธดังกล่าวตามมาตรา ๔๒ แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ


ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีรับราชการในตำแหน่งช่างโยธา ระดับ ๑ เทศบาลตำบลหนองไผ่แก้ว ตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ต่อมา ผู้ฟ้องคดีได้สอบขึ้นบัญชีเป็นพนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่างระดับ ๒
ตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดี ต่อมาผู้ฟ้องคดีได้รายงานตัวเพื่อรับการบรรจุและแต่งตั้ง
ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่าง ระดับ ๒ ตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดี พร้อมยื่นหนังสือขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอน อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
ที่มีสาระสำคัญในการขอใช้บัญชีผู้ผ่านการสอบตามบัญชีของผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อบรรจุแต่งตั้ง
ผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่าง ระดับ ๒ ต่อผู้ถูกฟ้องคดี แต่กรรมการพนักงานส่วนตำบล จังหวัดสระบุรี ได้ปฏิเสธการขอใช้บัญชีดังกล่าว จึงนำมายื่นฟ้องเป็นคดีนี้ต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้บรรจุแต่งตั้งผู้ฟ้องคดี
ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่าง ระดับ ๒ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอน อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และให้ได้รับเงินเดือนในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่าง ระดับ ๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗
ศาลปกครองชั้นต้นตรวจพิจารณาคำฟ้องแล้วเห็นว่า การยินยอมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ทำการสอบและขึ้นบัญชีไว้ ย่อมเป็นดุลพินิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอบขึ้นบัญชีไว้ อันเป็นอำนาจและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันในการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิเสธไม่ยินยอมให้องค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอนใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีอำนาจที่กระทำได้ และหากการปฏิเสธดังกล่าว
มีผลกระทบในการบริหารงานบุคคล ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ถูกฟ้องคดีกับองค์การบริหาร
ส่วนตำบลโคกขี้หนอนที่จะว่ากล่าวต่อกัน ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก
การปฏิเสธดังกล่าว จึงมิใช่เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายตามมาตรา ๔๒
แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ประกอบกับคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่าง ระดับ ๒ ในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโคกขี้หนอน อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และให้ได้รับเงินเดือนในตำแหน่งดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗ นั้น เป็นคำขอที่ศาลไม่อาจมีคำบังคับได้ตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจาก
สารบบความ
ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์ว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้นพร้อมทั้งแนบเอกสารของสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สำนักงาน ก.ท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) มีสาระสำคัญในแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้และขึ้นบัญชีไว้ แต่คุณวุฒิไม่สอดคล้องกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ ก.ท. กำหนดใหม่ ก่อนที่หลักเกณฑ์ ก.ท.จ. มีผลใช้บังคับ
เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีรายงานตัวเพื่อรับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่าง ระดับ ๒ ตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดี พร้อมยื่นหนังสือขององค์การบริหารส่วนตำบลแห่งอื่น ที่มีสาระสำคัญในการขอใช้บัญชี
ผู้ผ่านการสอบตามบัญชีของผู้ถูกฟ้องคดีเพื่อบรรจุแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานส่วนตำบล ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานช่าง ระดับ ๒ ในสังกัดขององค์การบริหารส่วนตำบลแห่งอื่นนั้นต่อผู้ถูกฟ้องคดี แต่กรรมการพนักงานส่วนตำบล จังหวัดสระบุรี ได้ปฏิเสธการขอใช้บัญชีดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ
ส่วนราชการอื่น แต่จะต้องได้รับความยินยอมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการอื่นนั้นด้วยตามข้อ ๙ วรรคสาม ของประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง กำหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความมาตรา ๓๓ (๑) แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อพิพาทในคดีนี้จึงเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันในการบริหารงานบุคคลที่จะต้องว่ากล่าวต่อกัน ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยตรง
อันเนื่องมาจากการปฏิเสธดังกล่าวตามมาตรา ๔๒ แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ส่วนเอกสารของสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สำนักงาน ก.ท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ที่ผู้ฟ้องคดีอ้างถึง เป็นเพียงแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้และขึ้นบัญชีไว้ ข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีจึงรับฟังไม่ได้ ที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย
จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาและการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับทุนการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรีจะต้อง - ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุนการศึกษา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -ให้พิจารณาในสัดส่วนของผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายละเท่าๆกัน และสามารถเฉลี่ยสัดส่วนกันได้ -สามารถเฉลี่ยจำนวนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ก็สามารถทำได้ แต่ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต้องไม่เกินจำนวนที่สามารถตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร ๒.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสิทธิรับทุนการศึกษา สามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดเป็นคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในทุกตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และ อบต.)กำหนด ๓.สาขาที่เข้าศึกษาควรเป็นหลักสูตรพิเศษที่ใช้เวลาการศึกษานอกเวลาราชการ ๔.ระหว่างการศึกษาโดยได้รับทุนก

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ