ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หย่อนความสามารถ

คดีหมายเลขแดงที่ อ.290/2552 คดีหมายเลขดำที่ อ.251/2550


โดยที่ มาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานกลาง มาตรฐานทั่วไป หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาล ให้พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาล ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ คดีนี้ขณะเกิดเหตุพิพาท คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างของเทศบาล การดำเนินการต่าง ๆ ของลูกจ้างเทศบาลจึง อยู่ในบังคับของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ้างลูกจ้างของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2536 ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ถูกฟ้องคดี (นายกเทศมนตรีนครลำปาง) ได้มีคำสั่งลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2544 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนผู้ฟ้องคดีกรณีถูกกล่าวหาว่าหย่อนความสามารถในอัน ที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ หากรับราชการต่อไป จะเป็นการเสียหายแก่ราชการ ซึ่งข้อ 3 ของกฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2540) ออกตามความใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา กำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีในฐานะผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน มีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ฟ้องคดีทราบโดยเร็ว โดยให้ผู้ฟ้องคดีลงลายมือชื่อและวันที่รับทราบคำสั่งไว้เป็นหลักฐานด้วย ปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีมิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ ผู้ฟ้องคดีทราบโดยตรง เนื่องจากได้ให้ผู้อื่นรับคำสั่งดังกล่าวแทน จึงไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ฟ้องคดีได้รับทราบคำสั่งดังกล่าว ซึ่งทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่อาจทราบได้ว่าผู้ฟ้องคดีถูกกล่าวหาในเรื่องใด และผู้ถูกฟ้องคดีแต่งตั้งผู้ใด ตำแหน่งใดเป็นคณะกรรมการสอบสวน ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่อาจใช้สิทธิคัดค้านกรรมการสอบสวนตามข้อ 8 ของกฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 ดังกล่าว กรณีถือไม่ได้ว่า เป็นการแจ้งคำสั่งโดยชอบตามข้อ 5 (1) ของกฎ ก.พ. ฉบับเดียวกัน แต่เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 คณะกรรมการสอบสวนเรียกผู้ฟ้องคดีไปให้ถ้อยคำ คณะกรรมการสอบสวนได้แจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาให้ผู้ฟ้องคดีทราบ ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้รับทราบข้อกล่าวหาและสิทธิในการแก้ ข้อกล่าวหาแล้ว และได้ยอมรับว่าได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาทุกประการ โดยผู้ฟ้องคดีมิได้คัดค้านคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนแต่อย่างใด จึงเป็นกรณีที่ปรากฏชัดแจ้ง ผู้ถูกฟ้องคดี จึงไม่จำต้องสอบสวนตามวิธีการและขั้นตอนตามข้อ 5 (1) ของกฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 ฉบับดังกล่าว แต่อย่างใด ทั้งนี้ ตามข้อ 2 (2) ของกฎ ก.พ. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2539) ออกตามความใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชพลเรือน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยกรณีหย่อนความสามารถ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการที่ปรากฏชัดแจ้ง กรณีจึงถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมาย กำหนดเพื่อมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนการใช้ดุลพินิจของผู้ถูกฟ้องคดีในการออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออก จากราชการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ นั้น เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีมีพฤติการณ์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่อยู่เวรเตรียมพร้อม จนถูกลงโทษทางวินัยมาแล้วสี่ครั้ง เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ และแสดงถึงความเป็น ผู้บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ การให้ผู้ฟ้องคดีรับราชการต่อไปอาจเกิดความเสียหายแก่สาธารณชนและราชการได้ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน รวมทั้งพยานหลักฐานต่างๆ และเห็นว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้หย่อนความสามารถ จึงมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ เห็นว่าเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้วตามข้อ 37 วรรคหนึ่ง (3) ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ้างลูกจ้างของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2536
ข้ออ้างที่ผู้ฟ้องคดียกขึ้นอ้างในคำอุทธรณ์ว่า กระบวนการ ขั้นตอนก่อนมีคำสั่งลงโทษทางวินัยผู้ฟ้องคดีสี่ครั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ในศาลปกครองชั้นต้น จึงต้องห้ามตามข้อ 101 วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาและการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับทุนการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรีจะต้อง - ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุนการศึกษา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -ให้พิจารณาในสัดส่วนของผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายละเท่าๆกัน และสามารถเฉลี่ยสัดส่วนกันได้ -สามารถเฉลี่ยจำนวนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ก็สามารถทำได้ แต่ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต้องไม่เกินจำนวนที่สามารถตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร ๒.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสิทธิรับทุนการศึกษา สามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดเป็นคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในทุกตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และ อบต.)กำหนด ๓.สาขาที่เข้าศึกษาควรเป็นหลักสูตรพิเศษที่ใช้เวลาการศึกษานอกเวลาราชการ ๔.ระหว่างการศึกษาโดยได้รับทุนก

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ