ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การปรับลดระดับตำแหน่งบริหารของเทศบาลขนาดเล็ก

การปรับลดระดับตำแหน่งบริหารของเทศบาลขนาดเล็ก

๑.ประเด็นการปรับลดระดับตำแหน่งผู้บริหารที่ได้มีการปรับขยายระดับตำแหน่งไปแล้ว

พิจารณาแล้วมีมติว่า ประกาศ ก.ท.เรื่องหลักเกณฑ์การกำนดตำแหน่งพนักงานเทศบาลสายงานบริหารในเทศบาลขนาดเล็ก ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๘ ข้อ ๓ กำหนดว่า กรณีที่มีการปรับระดับตำแหน่งปลัดเทศบาล หรือผู้อำนวยการกองเป็นระดับ ๗ แล้ว ภายหลังตำแหน่งดังกล่าวว่าง นายกเทศมนตรีอาจสรรหาปลัดเทศบาลระดับ ๖ หรือหัวหน้ากองระดับ ๖ แทนตำแหน่งที่ว่างได้ตามความเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีการปรับระดับตำแหน่งให้สูงขึ้นแล้ว แสดงให้เห็นถึงปริมาณงาน คุณภาพงาน และความยุ่งยากซับซ้อนของงานในตำแหน่งนั้นมีมากจนถึงระดับ ๗ กอปรกับประกาศ ก.ท.เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดขนาดเทศบาลและการกำหนดระดับตำแหน่งผู้บริหารของเทศบาล ให้กระทำได้เฉพาะรองปลัดเทศบาลและตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย ดังนั้น จึงเห็นว่า กรณีดังกล่าวไม่สามารถปรับลดระดับตำแหน่งปลัดเทศบาลและผู้อำนวยการกองจากระดับ ๗ เป็นระดับ ๖ ได้ เว้นแต่ เทศบาลจะมีเหตุผลความจำเป็นในด้านปริมาณงานและคุณภาพงานก็ให้รายงาน ก.ท.พิจารณาเป็นการเฉพาะราย

๒.ประเด็นการปรับขยายระดับตำแหน่งผู้บริหารที่ได้มีการปรับลดระดับตำแหน่งไปแล้ว หากต่อมาจะปรับขยายระดับตำแหน่งปลัดเทศบาลหรือหัวหน้ากอง จากระดับ ๖ เป็นระดับ ๗ อีก จะต้องประเมินตามหลักเกณฑ์อีกหรือไม่

พิจารณาได้ว่า ในการปรับขยายระดับตำแหน่งให้สูงขึ้น จะต้องมีการวิเคราะห์ตำแหน่งโดยพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นในด้านปริมาณงาน และคุณภาพงาน ดังนั้น ตำแหน่งผู้บริหารที่ได้มีการปรับลดระดับไปแล้ว และต่อมาจะปรับขยายระดับตำแหน่งให้สูงขึ้นอีก จึงจำเป็นต้องประเมินตามประกาศ ก.ท. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดระดับตำแหน่งพนักงานเทศบาลสายงานบริหารในเทศบาลขนาดเล็ก ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๘

๓.ประเด็นเทศบาลขนาดเล็ก ได้ปรับขยายระดับปลัดเทศบาลจากระดับ ๖ เป็นระดับ ๗ แล้ว ต่อมาจะขอปรับขยายระดับตำแหน่งหัวหน้ากองระดับ ๖ เป็นผู้อำนวยการกองระดับ ๗จะต้องประเมินตามหลักเกณฑ์อีกหรือไม่อย่างไร

พิจารณาได้ว่า ในการปรับขยายระดับตำแหน่งให้สูงขึ้น เป็นการวิเคราะห์ค่างานของตำแหน่งนั้นๆเป็นการเฉพาะ ว่ามีปริมาณงานและคุณภาพของงานถึงระดับนั้นหรือไม่ ดังนั้นหากตำแหน่งปลัดเทศบาลได้ปรับขยายเป็นระดับ ๗ แล้ว ต่อมาจะดำเนินการปรับขยายระดับตำแหน่งหัวหน้ากองระดับ ๖ เป็นผู้อำนวยการกองระดับ ๗ จึงต้องดำเนินการวิเคราะห์ตำแหน่งนั้น โดยพิจารณาจากปริมาณงานและคุณภาพงานที่เปลี่ยนไปจากเดิมจนถึงขนาดปรับตำแหน่งให้มีระดับที่สูงขึ้น

๔.ประเด็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง

พิจารณาได้ว่า ประกาศ ก.ท.เรื่อง หลักเกณฑ์การยุบเลิก ตำแหน่ง และเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตำแหน่งของพนักงานเทศบาล ฉบับลงวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ข้อ ๘ กำหนดว่า การขออนุมัติยุบเลิกตำแหน่งและการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตำแหน่ง คณะกรรมการพนักงานเทศบาล ต้องทำการวิเคราะห์ตำแหน่ง และจำเป็นต้องใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณา จึงให้เทศบาลได้ให้ความสำคัญกับการนำเสนอข้อมูล โดยกรอกเอกสารตามแบบให้ถูกต้อง กล่าวคือ จะต้องเป็นข้อมูลที่ตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.ท.จ.และเอกสารต้องครบถ้วน ประกอบไปด้วยข้อมูลตามแบบ ๑-๖ ดังนั้น เทศบาลต้องเสนอข้อมูลตามแบบ ๑-๖ ต่อ ก.ท.จ.ประกอบการพิจารณาด้วยทุกครั้งที่มีการรายงานขอปรับขยายหรือปรับลดระดับตำแหน่งบริหารของเทศบาล

หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง


หนังสือสำนักงาน ก.ท. ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๒๖๕ ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๒

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาและการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับทุนการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรีจะต้อง - ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุนการศึกษา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -ให้พิจารณาในสัดส่วนของผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายละเท่าๆกัน และสามารถเฉลี่ยสัดส่วนกันได้ -สามารถเฉลี่ยจำนวนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ก็สามารถทำได้ แต่ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต้องไม่เกินจำนวนที่สามารถตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร ๒.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสิทธิรับทุนการศึกษา สามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดเป็นคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในทุกตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และ อบต.)กำหนด ๓.สาขาที่เข้าศึกษาควรเป็นหลักสูตรพิเศษที่ใช้เวลาการศึกษานอกเวลาราชการ ๔.ระหว่างการศึกษาโดยได้รับทุนก

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ