ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การกำหนดตำแหน่งรองปลัดเทศบาลระดับ 9

การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งรองปลัดเทศบาล (นักบริหารงาน เทศบาล 8) เป็นตำแหน่งรองปลัดเทศบาล(นักบริหารงานเทศบาล 9)

มติ ก.ท.

เห็นชอบปรับปรุงตำแหน่งรองปลัดเทศบาล (นักบริหารงานเทศบาล 8) เป็นตำแหน่งรองปลัดเทศบาลเทศบาล (นักบริหารงานเทศบาล 9)ทั้งนี้ การปรับปรุงตำแหน่งครั้งนี้ภาระค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ด้วย ดังต่อไปนี้
กณีเทศบาลนครเชียงใหม่
เห็นชอบให้ ตำแหน่งเลขที่ 00-0101-002 เป็นระดับ 9 ได้ สำหรับตำแหน่งเลขที่ 00-0101-003 เห็นชอบให้เป็นระดับ 9 ได้หากมีปริมาณงานเพิ่มขึ้นโดยรับผิดชอบส่วนราชการเพิ่มขึ้นอย่างน้อยอีก 1 ส่วนราชการ หรือเป็นตำแหน่งที่รับผิดชอบส่วนราชการระดับสำนักอย่างน้อย 2 สำนักตามที่ปลัดเทศบาลมอบหมาย
กรณีเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
เห็นชอบให้ปรับปรุงตำแหน่งรองปลัดเทศบาล ตำแหน่งเลขที่ 00-0101-003 ให้มีระดับตำแหน่งที่สูงขึ้นเป็นระดับ 9 ได้
กรณีเทศบาลตำบลสำโรงใต้ จังหวัดสมุทรปราการ
เห็นชอบให้ปรับปรุงตำแหน่งรองปลัดเทศบาล ตำแหน่งเลขที่ 00-0101-002 ให้มีระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น เป็นระดับ 9 ได้
กรณีเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ให้แจ้ง ก.ท.จ.นครศรีธรรมราช พิจารณาดำเนินการตามข้อแนะนำเกี่ยวกับการบรรยายหน้าที่ความรับผิดชอบและการประเมินค่างาน และพิจารณาลงความเห็น แล้วรายงานให้ ก.ท. พิจารณา ต่อไป

กรณีเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
เห็นชอบให้ ตำแหน่งเลขที่ 00-0101-002 เป็นระดับ 9 ได้ หากรับผิดชอบส่วนราชการเพิ่มขึ้นอย่างน้อยอีก 1 ส่วนราชการ ตามที่ปลัดเทศบาลมอบหมาย
กรณีเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
เห็นชอบให้ปรับปรุงตำแหน่งรองปลัดเทศบาล ตำแหน่งเลขที่ 00-0101-002 ให้มีระดับตำแหน่งที่สูงขึ้น เป็นระดับ 9 ได้

2. การปรับปรุงตำแหน่งให้ถือเป็นข้อผูกพันในการมอบหมายงานให้รองปลัดเทศบาลจะต้องรับผิดชอบงานของส่วนราชการตามที่เสนอขอ หรือไม่น้อยกว่าเดิม และเมื่อกำหนดตำแหน่งรองปลัดเทศบาลระดับ 9 แล้ว หากกำหนดตำแหน่งรองปลัดเทศบาลระดับ 7 หรือระดับ 8 เพิ่มเติมอีก ตามกรอบโครงสร้างตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ท. กำหนด ก็ให้คำนึงลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบปริมาณงาน คุณภาพงาน ความยากของงานและสถานะทางการคลัง ตามหลักเกณฑ์ ก.ท.จ. เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลหมวดการกำหนดจำนวนตำแหน่งและอัตราตำแหน่ง

3. เห็นชอบให้กำหนดแนวทางการนำเสนอคำบรรยายลักษณะงาน โครงสร้างตำแหน่ง
ที่ขอปรับเป็นระดับที่สูงขึ้น และข้อแนะนำในการวิเคราะห์ค่างานเพื่อกำหนดตำแหน่งบริหาร เพื่อแจ้ง ก.ท.จ.ทุกแห่ง นำไปเป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงตำแหน่งรองปลัดเทศบาลให้มีระดับสูงขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาและการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับทุนการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรีจะต้อง - ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุนการศึกษา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -ให้พิจารณาในสัดส่วนของผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายละเท่าๆกัน และสามารถเฉลี่ยสัดส่วนกันได้ -สามารถเฉลี่ยจำนวนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ก็สามารถทำได้ แต่ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต้องไม่เกินจำนวนที่สามารถตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร ๒.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสิทธิรับทุนการศึกษา สามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดเป็นคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในทุกตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และ อบต.)กำหนด ๓.สาขาที่เข้าศึกษาควรเป็นหลักสูตรพิเศษที่ใช้เวลาการศึกษานอกเวลาราชการ ๔.ระหว่างการศึกษาโดยได้รับทุนก

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ