ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หารือแนวทางปฏิบัติกรณีการลาออกจากราชการของพนักงานจ้าง

ข้อหารือ

หารือแนวทางปฏิบัติกรณีการลาออกจากราชการของพนักงานจ้าง
1. ประเด็นการยื่นหนังสือขอลาออกจากการปฏิบัติงาน
2. ประเด็นการไม่มาปฏิบัติงาน
3. ประเด็นการต่อสัญญาจ้าง

คำวินิจฉัย

มีมติว่า
1. ประเด็นการยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการ
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เทศบาลตำบลกรอกสมบูรณ์ ได้รับหนังสือขอลาออกจากปฏิบัติงานของนายภูฌิมาฯ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 นายกเทศมนตรีได้พิจารณาหนังสือขอลาออกและอนุญาตให้นายภูฌิมาฯ ลาออกได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 แล้วรายงาน ก.ท.จ.ปราจีนบุรี ขอความเห็นชอบ ในระหว่างการพิจารณาของ ก.ท.จ.ปราจีนบุรี นายภูฌิมาฯ ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิขอลาออกจากการปฏิบัติงานต่อไป โดยยื่นหนังสือขอถอนหรือขอระงับการลาออกจากการปฏิบัติงานนั้นต่อ ก.ท.จ.ปราจีนบุรี
และนายกเทศมนตรีตำบลกรอกสมบูรณ์ก่อนที่นายกเทศมนตรีตำบลกรอกสมบูรณ์จะมีคำสั่งให้ลาออกจากการปฏิบัติงาน ย่อมมีสิทธิกระทำได้ และเมื่อขอถอนหรือระงับการขอลาออกจากการปฏิบัติงานแล้ว ก็ไม่มีกรณีจะต้องพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับการขอลาออกจากการปฏิบัติงานอื่นอีก
2. ประเด็นการไม่มาปฏิบัติงาน
เห็นว่า กรณีนายภูฌิมาฯ ได้รับทราบด้วยวาจาจากหัวหน้างานการเจ้าหน้าที่ว่านายกเทศมนตรีตำบลกรอกสมบูรณ์ ได้อนุญาตให้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 จึงไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการตั้งแต่วันที่ 1 – 23 มิถุนายน 2551 จะถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ราชการเกินกว่าเจ็ดวัน ตามประกาศก.ท.จ. หรือไม่ นั้น ให้นายกเทศมนตรีตำบลกรอกสมบูรณ์ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อดำเนินการสอบสวนโดยเร็ว และต้องให้โอกาสนายภูฌิมาฯ ชี้แจงและแสดงพยานหลักฐาน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ในกรณีที่ผลการสอบสวนปรากฎว่าพนักงานจ้างผู้นั้นกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้รายงาน ก.ท.จ. ปราจีนบุรี พิจารณา แต่ถ้าไม่มีกระทำผิดให้สั่งยุติเรื่อง และรายงาน ก.ท.จ.ปราจีนบุรี พิจารณา เมื่อ ก.ท.จ.ปราจีนบุรี มีมติประการใด ให้นายกเทศมนตรีตำบลกรอกสมบูรณ์ ปฏิบัติตามมตินั้น ภายในเจ็ดวันนับแต่วันรับทราบมติ แต่ถ้าไม่มีมูลกระทำความผิดให้สั่งยุติเรื่อง
3. ประเด็นการต่อสัญญาจ้าง
การต่อสัญญาจ้างให้นายภูฌิมาฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2552 และนายภูฌิมาฯ ได้มาปฏิบัติงานโดยตลอดถือเสมือนว่ายังมีสภาพเป็นพนักงานจ้าง จะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่อย่างไร
เห็นว่า หากนายภูฌิมาฯ ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ ก.ท.จ.ปราจีนบุรี มีมติเห็นชอบในการต่อสัญญาจ้างให้นายภูฌิมาฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2552 แล้ว นายภูฌิมาฯ ได้มาปฏิบัติงานตลอดย่อมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามประกาศ ก.ท.จ.ปราจีนบุรี เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง แต่หากผลการสอบสวนวินัย ตามประเด็นที่สองแล้วพบว่า นายภูฌิมาฯ ขาดหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายค่าตอบแทนสำหรับวันที่ขาดหรือหนีราชการนั้น ตามข้อ 74 ของประกาศดังกล่าว

หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

การต่อสัญญาจ้างพนักงานจ้าง(มท 0809.5/ว123)


การพิจารณาต่อสัญญาจ้างพนักงานจ้าง (มท 0809.5/ว122)


แนวทางปฏิบัติการต่อสัญญาจ้างพนักงาน จ้าง (มท 0809.5/ว277)


แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างและการ ต่อสัญญาจ้างพนักงานจ้างของอปท.



แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน จ้างตามมาตราฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง


แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับพนักงานจ้าง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อำนาจปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรี

หนังสือสำนักงาน ก.ท.ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๑๗๑ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔เรื่อง ขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของปลัดองค์กรปกครอองส่วนท้องถิ่นในการปฏิบัติหน้าที่นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีไม่มีนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ก.ท. ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๔ เมื่อวันที่  ๒๙ กันยายน ๒๕๕๔ ได้มีมติให้ถือปฏิบัติตามแนวทางของมติ ก.อบต.ในคราวการประชุมครั้งที่  ๕/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ให้ตอบข้อหารือของจังหวัดจันทบุรี กรณีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จะสามารถพิจารณากรณีโอน(ย้าย) พนักงานส่วนตำบลสายผู้ปฏิบัติได้หรือไม่ การใช้อำนาจของผู้ครองอำนาจชั่วคราวที่กฎหมายกำหนดให้ใช้เท่าที่จำเป็น เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป และไม่อาจกำหนดอำนาจที่แน่นอนได้  สำหรับขอบเขตของคำว่า เท่าที่จำเป็น   เห็นว่าเมื่อไม่ปรากฏนิยามของคำว่าเท่าที่จำเป็น ไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะจึงอาจพิจารณาเทียบเคียงความหมายของคำว่า จำเป็น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒  ที่อธิบายคุณลักษณะว่า “ต้องเป็นอย่างนั้น,ต้องทำ,ขาดไม่ได้” ดังนั้นการพิจารณ...

การเทียบหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูง

ข้อหารือ 1.อบจ.สงขลา หารือว่ากรณีผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) จะถือเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูงที่ ก.จ.รับรอง หรือไม่ 2.นาย ส.รองปลัดเทศบาลนครสงขลา (นักบริหารงานเทศบาลระดับ 9) มีหนังสือขอให้พิจารณาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ ปลัด อบจ.ระดับ 9 โดยให้รองปลัดเทศบาลระดับ 9 ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้มีคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 คำวินิจฉัย 1.รับรองหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) เป็นหลักสูตรที่เป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 ได้ 2. กรณีนาย ส.นั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการคัดเลือก เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่ง ปลัด อบจ.ระดับ 9 ไม่ได้กำหนดให้ข้าราชการประเภทอื่น มาสมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับท่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้การรับโอนพนักงานเทศบาลมาดำรงตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระดับ 9 ผุ้นั้นต้องดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 9 ซึ่งเป็...

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู...