ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หารือการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีพนักงานเทศบาล

ข้อหารือ

หารือการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีพนักงานเทศบาล
- กรณี ทน.พิษณุโลก ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานเทศบาลครั้งที่ 1
(1 เม.ย.52) แล้วไม่ได้แบ่งกลุ่มพนักงานเทศบาลเพื่อพิจารณาจัดสรรโควตาสำหรับการเลื่อนขั้นเงินเดือน (กลุ่มระดับ 1-8 และ 9 ขึ้นไป) โดยได้รวมกลุ่มพนักงานเทศบาลทั้งหมดในการคำนวณโควตาร้อยละ 15 ซึ่งเป็นการดำเนินการไม่เป็นไปตามประกาศ ก.ท.จ.พิษณุโลก

คำวินิจฉัย

มีมติว่า ตามประกาศ ก.ท. เรื่อง กำหนดโควตาและวงเงิน การเลื่อนขั้นเงินเดือนสำหรับพนักงานเทศบาล ให้ถือปฏิบัติตามข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม ซึ่งกรณีข้าราชการพลเรือน การพิจารณาจัดสรรโควตาเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แบ่งกลุ่ม เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มระดับ 1-8 และกลุ่มระดับ 9-11 โดยผู้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนสองขั้นต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของแต่ละกลุ่ม โดยเป็นไปตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 เม.ย.2544 ดังนั้น เทศบาลนครพิษณุโลก จึงต้องถือปฏิบัติในการกำหนดโควตาและวงเงินให้เป็นไปตามประกาศ ก.ท.
เรื่อง การกำหนดโควตาและวงเงินการเลื่อนขั้นเงินเดือนฯ ลว. 27 มี.ค. 2546 และหนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. ที่ มท 0809.1/ว.346 ลว.12 มี.ค. 2546

หนังสือสังการที่เกี่ยวข้อง

ประกาศมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลัก เกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ และการเลื่อนขั้นเงินเดือน (มท 0809.2/ว123)


หารือการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี แก่พนักงานส่วนตำบล


ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง หลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานเทศบาลเป็นกรณีพิเศษ

การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ค่าจ้างแก่ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2547

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อำนาจปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรี

หนังสือสำนักงาน ก.ท.ที่ มท ๐๘๐๙.๒/ว ๑๗๑ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๔เรื่อง ขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของปลัดองค์กรปกครอองส่วนท้องถิ่นในการปฏิบัติหน้าที่นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีไม่มีนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ก.ท. ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๔ เมื่อวันที่  ๒๙ กันยายน ๒๕๕๔ ได้มีมติให้ถือปฏิบัติตามแนวทางของมติ ก.อบต.ในคราวการประชุมครั้งที่  ๕/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ให้ตอบข้อหารือของจังหวัดจันทบุรี กรณีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จะสามารถพิจารณากรณีโอน(ย้าย) พนักงานส่วนตำบลสายผู้ปฏิบัติได้หรือไม่ การใช้อำนาจของผู้ครองอำนาจชั่วคราวที่กฎหมายกำหนดให้ใช้เท่าที่จำเป็น เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป และไม่อาจกำหนดอำนาจที่แน่นอนได้  สำหรับขอบเขตของคำว่า เท่าที่จำเป็น   เห็นว่าเมื่อไม่ปรากฏนิยามของคำว่าเท่าที่จำเป็น ไว้ในกฎหมายเป็นการเฉพาะจึงอาจพิจารณาเทียบเคียงความหมายของคำว่า จำเป็น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒  ที่อธิบายคุณลักษณะว่า “ต้องเป็นอย่างนั้น,ต้องทำ,ขาดไม่ได้” ดังนั้นการพิจารณ...

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ...

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษา

หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาและการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับทุนการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาตรีจะต้อง - ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุนการศึกษา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตั้งงบประมาณเพื่อให้ทุนการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -ให้พิจารณาในสัดส่วนของผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฝ่ายละเท่าๆกัน และสามารถเฉลี่ยสัดส่วนกันได้ -สามารถเฉลี่ยจำนวนทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ก็สามารถทำได้ แต่ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต้องไม่เกินจำนวนที่สามารถตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหาร ๒.บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสิทธิรับทุนการศึกษา สามารถเข้าศึกษาในสาขาวิชาที่กำหนดเป็นคุณวุฒิตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในทุกตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล และ อบต.)กำหนด ๓.สาขาที่เข้าศึกษาควรเป็นหลักสูตรพิเศษที่ใช้เวลาการศึกษานอกเวลาราชการ ๔.ระหว่างการศึกษาโดยได้รับทุนก...