ปัญหา
จังหวัดเชียงราย หารือกรณี ลูกจ้างประจำ ตำแหน่ง พนักงานขับรถดับเพลิง สังกัดทต.เวียงป่าเป้า ได้ยื่นเรื่องขอรับเงินบำเหน็จปกติ ซึ่งเทศบาลมีคำสั่งให้พ้นจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 ตค. 2550 ข้อเท็จจริงปรากฎว่า นายบุญช่วงฯ เกิดเมื่อ
จังหวัด เชียงราย มีความเห็นว่าคำสั่งให้นายบุญช่วงฯ พ้นจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 เป็นการออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายและขอหารือแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
1.1 ก.ท.จ.เชียงราย สามารถพิจารณายกเว้นให้ลูกจ้างผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามข้อ 392(2) ตามนัย ข้อ 393 ของประกาศ ก.ท.จ.เชียงรายฯ ย้อนหลังได้หรือไม่
1.2 กรณีของนายบุญช่วงฯ เทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า จะต้องเรียกคืนเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น ซึ่งได้จ่ายให้แก่บุคคลดังกล่าวไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 - 30 กันยายน 2550 ได้หรือไม่
1.3 การนับเวลาราชการปกติในการคำนวณบำเหน็จกรณีนี้ควรเป็น อย่างไร
คำวินิจฉัย
ประเด็นที่ 1.1 และ 1.3 ก.ท.จ.เชียงราย สามารถพิจารณายกเว้นให้ลูกจ้างผู้ที่ขาดคุณสมบัติตามข้อ 392(2) ตามนัยข้อ 393 ของประกาศ ก.ท.จ.เชียงรายฯ ย้อนหลังได้หรือไม่ และการนับเวลาราชการ มีแนวทางการพิจารณาอย่างไร
พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ ก.ท.จ.เชียงราย จะมีอำนาจในการพิจารณายกเว้นคุณสมบัติในเรื่องอายุให้แก่ลูกจ้าง ตามนัยข้อ 393 ก็ตาม แต่เนื่องจากคุณสมบัติเรื่องอายุของลูกจ้างเป็นเงื่อนไขที่มีกำหนดเวลาแน่ นอนที่มีผลให้ผู้นั้นพ้นจากราชการ การพิจารณายกเว้น คุณสมบัติตามที่หารือนี้ จะต้องพิจารณายกเว้นก่อนระยะเวลาตามเงื่อนไขนั้นถึงกำหนด จึงจะมีผลให้บุคคลนั้นมีคุณสมบัติที่จะเป็นลูกจ้างประจำต่อไปได้ และจะต้องกระทำโดยมีเหตุผลความจำเป็นที่แสดงให้เห็นว่า เป็นกรณีจำเป็นที่ต้องจ้างบุคคลนั้น แม้ว่าบุคคล นั้นจะเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติเรื่องอายุก็ตาม
ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า การสั่งให้พ้นจากราชการเกิดจากความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการนับวันพ้นจากราช การของทต.เวียงป่าเป้า จากวันที่ 1 ตุลาคม 2549 เป็นวัน ที่ 1 ตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการพิจารณายกเว้นคุณสมบัติเกี่ยวกับ อายุ จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการออกคำสั่งผิดพลาดมายกเว้นคุณสมบัติลูกจ้าง ประจำรายนี้ได้
สำหรับการนับเวลาราชการในการคำนวณบำเหน็จ พิจารณาแล้วเห็นว่า การคำนวณบำเหน็จหรือสิทธิอันพึงมีพึงได้อันเกิดจากการพ้นจากราชการย่อมเป็น ไปตามวันที่พ้นจากราชการที่ชอบด้วยกฎหมาย
ตั้งแต่วันที่ 1 ตค.49 – 30 กย.50 ได้หรือไม่
พิจารณาแล้วเห็นว่า การ ได้รับเงินเดือน หรือประโยชน์ตอบแทนอื่น เป็นการได้รับเพื่อการตอบแทนจากการทำงานให้แก่ทางราชการ ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ลูกจ้างประจำรายนี้ยังคงปฏิบัติงานในตำแหน่ง พนักงานขับรถดับเพลิงอยู่ ตามคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งที่ยังไม่มีคำสั่งให้พ้นจากราชการ กรณีจึงไม่กระทบกระเทือนถึงการรับเงินเดือน หรือประโยชน์ตอบแทนอื่นที่ได้รับหรือมีสิทธิได้รับจากเทศบาล ในการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่และความ รับผิดชอบตามตำแหน่งในระหว่างนั้น
ทั้งนี้ อาจนำหลักการตามที่กำหนดไว้ในข้อ 122 ของประกาศ ก.ท.จ.เชียงราย เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาล มาใช้พิจารณาโดยอนุโลม
ดังนั้น เทศบาลตำบลเวียงป่าเป้า จึงต้องจ่ายเงินเดือน หรือประโยชน์ตอบแทนอื่นใดที่เป็นสิทธิตามกฎหมายให้แก่ผู้นั้น
หมายเหตุ ในปัจจุบันได้มีการแก้ไขเรื่องการเกษียณอายุของลูกจ้างประจำขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เป็นเกษียณเมื่ออายุ 60 แล้ว ตามหนังสือสั่งการ ประกาศ ก.จ.,ก.ท. เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงนบุคคลสำหรับลูกจ้างของ อบจ. และเทศบาล (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2552 (มท 0809.5/ว91)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น