ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หารือ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัย

หารือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยพนักงานเทศบาล ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550

คำถาม

พนักงานเทศบาลถูกลงโทษทางวินัยแล้ว เมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ต้องให้ ก.ท.จ.พิจารณาเสียก่อนจึงจะได้รับการล้างมลทิน ถูกต้องหรือไม่ หรือมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร

คำวินิจฉัย

ผู้ถูกลงโทษทางวินัยและอยู่ในเกณฑ์ได้รับการล้างมลทิน ตามมาตรา 5 หรือให้ระงับการพิจารณา ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้ได้รับผลตามกฎหมายอยู่แล้ว แม้จะไม่มีการดำเนินการใด ก็ตาม
สำหรับหนังสือสำนักงาน ก.จ., ก.ท. และ ก.อบต. ที่ มท 0809.6/ว 56 ลงวันที่ 18 เม.ย. 2551 ที่ให้ ก.ท.จ. ตรวจสอบความถูกต้องและแจ้งให้ เทศบาลต้นสังกัดบันทึกลงในทะเบียนประวัติของบุคคลดังกล่าว ถือเป็นเพียงขั้นตอนการรายงานการดำเนินการทางวินัย มิใช่ขั้นตอนการดำเนินการออกคำสั่งทางวินัยแต่อย่างใด

คำถาม

จว.หนองบัวลำภู หารือการดำเนินการทางวินัยพนักงานทต.กุดดู่ กรณีมีราษฎรร้องเรียนและ สตง. เข้าตรวจสอบและทักท้วงการขุดสระโบกธรณีของเทศบาลไม่เป็นไปตามรูปแบบและรายการ ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนวินัยเสนอความเห็นให้ยุติเรื่อง ก.ท.จ.หนองบัวลำภู มีมติให้ว่ากล่าวตักเตือนกับบุคคล 5 ราย จึงขอหารือ 4 ประเด็น ดังนี้

1. กรณีพนักงาน ทต.กุดดู่ ไม่ได้ขออุทธรณ์มติ ก.ท.จ. หาก ก.ท.จ.หนองบัวลำภู จะทบทวนมติดังกล่าวได้หรือไม่

2. กรณีการมอบหมายผู้แทน ก.ท.จ.หนองบัวลำภู ออกไปตรวจสอบในเรื่องที่ได้มีมติ ก.ท.จ. ไปแล้วสามารถทำได้หรือไม่

3. กรณีมติ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู ให้ว่ากล่าวตักเตือน ซึ่งมีผลบังคับก่อนวันที่ 5 ธ.ค. 2550 จะถือว่าเข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2550 หรือไม่

4. กรณีประธาน ก.ท.จ.หนองบัวลำภู ไม่เห็นชอบกับมติที่ประชุม ก.ท.จ.หนองบัวลำภู ซึ่งได้มีมติไปแล้ว สามารถส่งเรื่องให้ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู พิจารณาใหม่ หรือสามารถส่งเรื่องให้ ก.ท. เป็นผู้พิจารณาชี้ขาดได้หรือไม่

มติ อ.ก.ท.วินัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2552 วันที่ 5 มกราคม 2552

พิจารณาแล้ว เห็นว่าตามข้อหารือทั้ง 4 กรณี มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเพียงว่า การที่ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู ที่ให้ว่ากล่าวตักเตือนบุคคลทั้ง 5 ราย ซึ่งมีผลบังคับก่อนวันที่ 5 ธ.ค. 2550 จะถือว่าเข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ. 2550 หรือไม่

เห็นว่า เมื่อผู้ถูกลงโทษทางวินัยได้รับการล้างมลทินตามมาตรา 5 หรืออยู่ในเกณฑ์ระงับการพิจารณาตามมาตรา 6 อันเป็นผลให้ ก.ท.จ.หนองบัวลำภู ไม่อาจพิจารณาดำเนินการอย่างใดต่อไปได้อีก โดยจะพิจาณามีมติเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงโทษเป็นอย่างอื่นอีกมิได้ เทียบเคียงกับมติ ก.ท. ในการประชุมครั้งที่ 5/2551 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 และหนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0709.2/391 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2540

ดังนั้น เมื่อกรณีดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ให้ระงับการพิจารณา ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ แล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาในประเด็นที่เหลืออีก

แต่อย่างไรก็ตาม หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การสั่งยุติเรื่องหรือการให้ว่ากล่าวตักเตือนต่อพนักงานเทศบาลทั้ง 5 ราย เป็นการดำเนินการโดยมิชอบ เป็นไปโดยเจตนาทุจริตหรือส่อทุจริต ก็ให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการต่อผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายบัญญัติและพิจารณาลงโทษตามควรแก่กรณี ตามหนังสือสำนักงาน ก.ท. ที่ มท 0809.6/ว 110 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเทียบหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูง

ข้อหารือ 1.อบจ.สงขลา หารือว่ากรณีผู้สำเร็จการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) จะถือเป็นหลักสูตรนักบริหารงานระดับสูงที่ ก.จ.รับรอง หรือไม่ 2.นาย ส.รองปลัดเทศบาลนครสงขลา (นักบริหารงานเทศบาลระดับ 9) มีหนังสือขอให้พิจารณาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์คุณสมบัติของ ปลัด อบจ.ระดับ 9 โดยให้รองปลัดเทศบาลระดับ 9 ที่ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้มีคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 คำวินิจฉัย 1.รับรองหลักสูตรนักบริหารงานมืออาชีพ (ระดับ 9) เป็นหลักสูตรที่เป็นคุณสมบัติในการคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งปลัด อบจ.ระดับ 9 ได้ 2. กรณีนาย ส.นั้นไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการคัดเลือก เพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในตำแหน่ง ปลัด อบจ.ระดับ 9 ไม่ได้กำหนดให้ข้าราชการประเภทอื่น มาสมัครคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับท่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้การรับโอนพนักงานเทศบาลมาดำรงตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ระดับ 9 ผุ้นั้นต้องดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาล ระดับ 9 ซึ่งเป็...

คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งศาลปกครองระยอง คดีหมายเลขแดงที่ 40/2546 สรุปข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุง ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๔ เพียง ๐.๕ ขั้น ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากเป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้ง ประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำกว่าความเป็นจริง ผู้ฟ้องคดีจึงได้ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี แต่ อ.ก.พ. จังหวัดจันทบุรี กลับยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง คำวินิจฉัย ศาลปกครองระยองพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองตามนัยมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙และเนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ มิได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงมีเหตุโกรธเคือง และขัดแย้งกับผู้ฟ้องคดีมาก่อน จึงเห็นได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลขลุงในฐานะผู...

ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก

ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีพิเศษไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2553 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกรณีที่มรเหตุพิเศษโดยไม่จำเป็นต้องสอบแข่งขันสำหรับหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานครูเทศบาล โดยมีสาระสำคัญดังนี้ - ตำแหน่งที่จะสามารถคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นกรณีพิเศษได้ ได้แก่พนักงานครูเทศบาลในตำแหน่ง ครูผู้ช่วย ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ 1. ดำรงตำแหน่งครูผู้ดูแลเด็ก และ/หรือ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและจากเงินรายได้ของท้องถิ่นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และ 2. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับ...